5 ม.ค. 2022 เวลา 10:38 • ประวัติศาสตร์
เหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง
1.สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ หรือสงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัย
..ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิอยุธยาโจมตีชายแดนพม่าบริเวณชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนของอยุธยา ขณะนั้นพม่าในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ได้ให้แม่ทัพเจ้าลครอินไปชิงเมืองคืนสามารถยึดฝั่งตะนาวศรีตอนบนลงไปถึงทวายคืนได้พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้เห็นว่าอยุธยามีความกระด่างกระเดื่องและขยายอาณาจักรออกไปเรื่อย ๆ ภายภาคหน้าจะเป็นภัยจึงต้องการให้อยุธยามาอยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมา ขณะนั้นอยุธยาผลัดเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เห็นว่าเป็นช่วงที่เหมาะแก่การยกทัพมาตีอยุธยา
ในดือนตุลาคม 2091 กองทัพพม่าสามกองโดยมีพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้และอุปราชบุเรงนองเป็นผู้นำบุกอยุธยาทางด่านเจดีย์สามองค์ กองทัพพม่าถึงพระนครกรุงศรีอยุธยา พระมหาจักรพรรดิทรงทราบจึงทรงนำทัพออกต้านศึก และในขณะที่พระมหาจักรพรรดิทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปรอยู่ ช้างพระที่นั่งของพระมหาจักรพรรดิก็เสียที ทำให้พระเจ้าแปรไล่ชน แต่สมเด็จพระสุริโยทัยได้นำช้างมาขวาง ทำให้พระศรีสุริโยทัยเสด็จสวรรคต
ช้างพระที่นั่งของพระมหาจักรพรรดิก็เสียที ทำให้พระเจ้าแปรไล่ชน แต่สมเด็จพระสุริโยทัยได้นำช้างมาขวาง ทำให้พระศรีสุริโยทัยเสด็จสวรรคต
การสู้รบดำเนินต่อไป...
เวลาผ่านไปพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ไม่อาจหักเอานครเนื่องจากอยุธยามีชัยภูมิที่ดีพอถึงฤดูฝนรอบกรุงศรีอยุธยามักมีน้ำท่วมถึงเพราะเป็นที่ราบลุ่มยากต่อการโจมตีของพม่าประกอบกับ พระมหาธรรมราชาที่เจ้าเมืองพิษณุโลกยกทัพลงใต้มาช่วย และมีข่าวว่าพวกมอญก่อกบฏขึ้นที่กรุงหงสาวดีเวลาผ่านไปยิ่งเสียเวลาและไพร่พลจำนวนมากพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้จึงตัดสินพระทัยยอมยกทัพกลับไปตีหัวเมืองทางเหนือของอยุธยา
พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ทรงปักหลักใกล้กำแพงเพชร โดยแบ่งทัพออกถนนสองข้าง ฝ่ายอยุธยาที่กำลังระเริงตกหลุมพราง พม่าจับทั้งพระราเมศวรและพระมหาธรรมราชาที่เป็นผู้นำทัพติดตามมาเป็นเชลยศึกได้ทั้งสองพระองค์ การได้ตัวทั้งสองพระองค์เป็นการบีบบังคับให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องเจรจากับพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ พระองค์ทรงมอบช้างศึกสองเชือก ได้แก่ ช้างพลายศรีมงคลและช้างพลายมงคลทวีปเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนจากนั้น กองทัพพม่าจึงได้ถอยทัพกลับโดยสันติ นอกเหนือจากนั้น พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ยังได้ปล่อยตัวเชลยศึกอีกจำนวนมากที่ได้ถูกจับตัวไว้ระหว่างการทัพดังกล่าวเริ่มต้นและสิ้นสุดลงในเวลาห้าเดือน
2.สงครามช้างเผือก
ในปี พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง(ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้) ทรงยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา โดยเข้ามาทางด่านแม่ละเมา กำลังประมาณ 500,000 คนพร้อมด้วยช้าง ม้า และอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก โดยยกเข้ามาทางเมืองตาก ด้วยกำลังมากกว่าสามารถยึดหัวเมืองเหนือได้เกือบทั้งหมดโดยสะดวกจนมาถึงเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองเกรงว่าหากขืนสู้รบต่อไปด้วยกำลังคนที่น้อยกว่าอาจทำให้เมืองเมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงเหมือนกับหัวเมืองเหนืออื่น ๆ ก็เป็นได้ พระมหาธรรมราชาจึงยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าบุเรงนองทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีในปี พ.ศ. 2107 พร้อมทั้งสั่งให้ยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีฯด้วย
การรบเรื่อยมาจนถึงกรุงศรีอยุธยาพระองค์ตั้งค่ายล้อมพระนครทั้ง 4 ทิศ กองทัพพม่ายกมาประชิดเขตเมืองใกล้ทุ่งลุมพลี พระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก และกองทัพเรือระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู้ไม่ได้จึงถอย พระเจ้าบุเรงนองจึงมีพระราชสาส์นให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกจะรบให้รู้แพ้รู้ชนะหรือเลือกยอมสงบศึก โดยที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกสงบศึกอยุธยาจึงต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพม่า โดยมอบช้างเผือก 4 ช้างให้แก่พม่า มอบตัวบุคคลที่คัดค้านไม่ให้ส่งช้างเผือกแก่พม่าเมื่อครั้งก่อนสงครามช้างเผือก ได้แก่ พระราเมศวร เจ้าพระยาจักรีมหาเสนา และพระสมุทรสงคราม ไปเป็นตัวประกัน
พระมหาธรรมราชาหันไปเข้าพระเจ้าบุเรงนอง พระมหาจักรพรรดิกับพระมหินทร์จึงเสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ในขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปหงสาวดีแล้วนำพระวิสุทธิกษัตรี พร้อมด้วยพระเอกาทศรถมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นตัวประกัน
พระเจ้าบุเรงนองทรงนำทัพเข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2111 ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก รวมทั้งหมด 7 ทัพ ประกอบด้วย พระมหาอุปราชา เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู เจ้าเมืองอังวะ เจ้าเมืองเชียงใหม่ และเชียงตุง เข้ามาทางเมืองกำแพงเพชร โดยได้เกณฑ์หัวเมืองทางเหนือรวมทั้งเมืองพิษณุโลกมาร่วมสงครามด้วย รวมจำนวนได้กว่า 500,000 นายพระมหาธรรมราชาได้ทรงส่งกองทัพมาร่วมล้อมกรุงศรีอยุธยาร่วมกับทัพใหญ่ของพระเจ้าบุเรงนองด้วย
พระเจ้าบุเรงนองล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ถึง ๗ เดือน ก็ยังหักเอามิได้ ฤดูฝนก็ใกล้เข้ามาทุกทีทำให้ทรงวิตก พระมหาธรรมราชาซึ่งยอมไปเข้ากับพระเจ้าบุเรงนองจึงทูลว่า ที่กรุงศรีอยุธยาต่อสู้รักษาเมืองอยู่ได้ ก็เพราะมีพระยารามเป็นหัวแรงสำคัญ ถ้ากำจัดพระยารามเสีย ก็จะชนะได้โดยง่าย และรับอาสามีหนังสือลับไปถึงพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระอัครชายาที่ถูกยึดตัวอยู่ในเมืองว่า ถ้าพระมหินทร์ดื้อดึงรบไปก็มีแต่จะทำให้ผู้คนล้มตาย พระเจ้าหงสาวดีรับสั่งว่าเรื่องทั้งปวงที่เกิดขึ้นก็เพราะพระยารามคนเดียวที่ยุแยกให้พี่น้องแตกกัน ถ้าส่งตัวพระยารามออกมาถวายก็จะทำให้เรื่องยุติ กลับเป็นไมตรีต่อกัน พระวิสุทธิกษัตรีย์นำหนังสือไปถวายสมเด็จพระมหินทร์ ปรึกษาข้าราชการทั้งปวง ทุกคนต่างเหนื่อยหน่ายต่อการสู้รบ ส่วนพระยารามก็กราบทูลว่า ถ้าบ้านเมืองจะสงบสุขได้ด้วยวิธีนี้ ตัวเองก็จะยอมเสียสละ
สมเด็จพระมหินทร์จึงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชให้ออกไปเจรจาขอเป็นไมตรี พร้อมทั้งให้ข้าราชการผู้ใหญ่นำตัวพระยารามออกไปถวายพระเจ้ากรุงหงสาวดี
เมื่อพระเจ้าบุเรงนองรับตัวพระยารามไปแล้วก็ปรึกษาบรรดาแม่ทัพ ต่างลงความเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเหมือนลูกไก่อยู่ในกำมือ ถ้าจะขอสงบศึกก็ต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ให้พระเจ้าแผ่นดินออกมาถวายบังคมด้วย ซึ่งคำตอบของพระเจ้าหงสาวดีทำให้บรรดาขุนนางข้าราชการของกรุงศรีอยุธยาพากันเป็นเดือดเป็นแค้นที่พระเจ้าบุเรงนองพลิกลิ้น จึงทูลอาสาสมเด็จพระมหินทร์จะต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพราะอีกไม่ช้าน้ำเหนือก็จะบ่ามาท่วมกองทัพหงสาวดีแล้ว พระเจ้าบุเรงนองจึงยังไม่สามารถบุกเข้ากรุงศรีอยุธยาได้
พระมหาธรรมราชารับอาสาเข้าไปเกลี้ยกล่อม แต่ก็ถูกฝ่ายกรุงศรีอยุธยาระดมยิงกระเจิง เพราะไม่เชื่อถือกันอีกแล้ว ถึงตอนนี้พระเจ้าบุเรงนองจึงคิดหาเล่ห์กลทุกอย่างที่จะไม่ต้องถอยทัพกลับไปให้เสียหน้า ตัดสินพระทัยที่จะใช้กลอุบายเอาพระยาจักรีที่ได้ตัวไปในครั้งก่อนให้เป็นไส้ศึก ส่วนพระยาจักรีเห็นแก่ผลประโยชน์ที่กษัตริย์พม่าล่อใจ จึงยอมที่จะขายชาติ
พระเจ้าบุเรงนองแกล้งจองจำพระยาจักรีด้วยโซ่ตรวนไว้ประมาณ ๔-๕ วัน แล้วให้คนแอบไปปล่อยตัวกลางดึก รุ่งเช้าก็ส่งทหารออกควานหาจนทั่วเพื่อให้เรื่องหนีของพระยาจักรีอื้อฉาว เมื่อไม่ได้ตัวก็ให้นำทหารพม่ามอญ ๓๐ คนที่มีหน้าที่ควบคุมตัวพระยาจักรีไปประหาร ตัดหัวเสียบประจานไว้หน้าค่าย เป็นการยืนยันให้เรื่องนี้สมจริงยิ่งขึ้นพระยาจักรีหนีไปถึงหน้าประตูเมืองกรุงศรีอยุธยาทั้งโซ่ตรวน สมเด็จพระมหินทร์ก็สำคัญว่าพระยาจักรีหนีพม่ามาจริง จึงพระราชทานรางวัลให้ในฐานมีความดีความชอบ และทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้ป้องกันพระนครแทนพระยารามพอได้รับตำแหน่ง พระยาจักรีก็จัดการสับเปลี่ยนโยกย้ายหน่วยป้องกันพระนคร จนอ่อนแอไปทุกด้าน พอมีโอกาสจึงเปิดประตูเมืองให้กองทัพพระเจ้าบุเรงนองเข้าเมืองได้โดยง่าย กรุงศรีอยุธยาจึงเสียแก่พม่าหลังจากที่ถูกล้อมมาถึง ๙ เดือน และก่อนน้ำเหนือจะไหลบ่ามาถึงเพียงไม่กี่วัน
การเสียกรุงครั้งนี้ จึงปรากฏเหตุที่เด่นชัดว่า เป็นเพราะบ้านเมืองอ่อนกำลังลงเนื่องจากการเมืองแตกเป็น ๒ ขั้ว พี่น้องที่ควรสมัครสมานกลับทำลายล้างกันเอง แม้กระนั้นความรักชาติและความสามัคคีของคนไทย ก็ยังสามารถรักษาบ้านเมืองไว้ได้ แม้ศัตรูจะเข้มแข็งยิ่งใหญ่ระดับ “ผู้ชนะสิบทิศ” ก็ไม่อาจพิชิตทิศนี้ได้
โฆษณา