6 ม.ค. 2022 เวลา 02:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
𝗖𝗹𝗲𝗮𝗻𝗿𝗼𝗼𝗺 𝗖𝗼𝗺𝗽𝗼𝗻𝗲𝗻𝘁𝘀 (ส่วนประกอบห้องคลีนรูม)
ห้องสะอาด (Cleanroom) หรือห้องที่ต้องการควบคุมสภาพแวดล้อม (Environmental) แต่ละห้อง จะได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะ
นอกจากกลไกการระบายอากาศ และควบคุมสภาพแวดล้อม หรือ HVAC ส่วนประกอบต่างๆ ภายในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง ประตู หน้าต่าง ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งนี้ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการของคุณ
วันนี้เราจะมาพูดถึงส่วนประกอบหลักที่เป็นมาตรฐานของห้องสะอาดกันครับ
𝗖𝗹𝗲𝗮𝗻𝗿𝗼𝗼𝗺 𝗖𝗼𝗺𝗽𝗼𝗻𝗲𝗻𝘁𝘀 (ส่วนประกอบห้องคลีนรูม)
𝟭.𝗖𝗹𝗲𝗮𝗻𝗿𝗼𝗼𝗺 𝗪𝗮𝗹𝗹 𝗣𝗮𝗻𝗲𝗹𝘀
ปัจจุบันเทคโนโลยีผนังห้อง Cleanroom ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ตาม Applictions ที่หลากหลาย เช่น
• Microelectronics Applications
Aluminum honeycomb panels เป็นแผ่นผนังที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับ Cleanroom Microelectronics เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ปล่อยก๊าซ หรืออนุภาคให้หลุดไป รวมถึงการป้องกันไฟฟ้าสถิต น้ำหนักเบาและไม่ติดไฟ
• Pharmaceutical Applications
การใช้งานด้านเภสัชกรรม หรือทางการแพทย์ จำเป็นต้องมีแผงผนังที่สามารถทำความสะอาดได้อย่างต่อเนื่อง ใช้งานได้ยาวนานโดยไม่ทำลายพื้นผิว สามารถทนต่อการทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อซ้ำหลายครั้งด้วยสารเคมีต่างๆ ได้อย่างดี เพื่อต้านทานการเติบโตของจุลินทรีย์และเชื้อรา
• Custom Applications
นอกเหนือจากนี้ ยังมีพื้นผิวผนังคลีนรูมอีกมากมาย ที่จะตอบสนองความต้องการของการใช้งานของห้องคลีนรูมทุกประเภท เช่น Melamine, vinyl, painted steel, stainless steel, fiberglas reinforced plastic (FRP), PVC และ High pressure laminates หรือ HPL, porcelainized steel.
นอกเหนือจากการเลือกใช้ผนังตาม Applications ต่างๆ ของคุณ แต่ละผนังห้องสะอาด ยังมี Panel Options ที่สามารถเลือกได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
เช่นการทนไฟ หรือการกั้นเสียง หรืออย่างผนังประเภท FRP ที่เหมาะสำหรับห้องสะอาด ที่มีความชื้นจำนวนมาก หรือต้องมีการฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีบ่อยครั้ง เช่นห้องปลอดเชื้อที่มีสภาพแวดล้อมตามข้อบังคับของ FDA เป็นต้น
𝟮.𝗖𝗹𝗲𝗮𝗻𝗿𝗼𝗼𝗺 𝗖𝗲𝗶𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗦𝘆𝘀𝘁𝗲𝗺𝘀
ส่วนของเพดาน นอกจากจะเน้นเรื่องความสะอาดเป็นหลัก แต่ยังสามารถตอบสนองโซลูชั่นอื่นๆ ได้อีกมากมายตามความต้องการ เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของการใช้งานแทบทุกประเภท
เช่น ความสามารถในการรับน้ำหนักและโครงสร้าง เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ออกแบบห้องสะอาดต้องพิจารณาตัวเลือกที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนองการใช้งานห้องสะอาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เพดานห้องสะอาด นอกจากที่กล่าวไปข้างต้น ที่สามารถตอบสนองความต้องการของการใช้งานที่หลากหลาย สามารถออกแบบได้เป็น 2 ส่วน
.
2.1 Multiple Ceiling Grids (โครงสร้างกริดเพดาน)
ส่วนของ Ceiling Grids นอกจากความแข็งแรง ยังช่วย Support ผู้รับเหมาในการวางระบบสายไฟ ระบบแสงสว่าง รวมถึงระบบ HVAC ด้านบนได้อย่างง่ายดายผ่าน Grids เพดานอีกด้วย
อย่าง Structural Ceiling Grid เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานที่ต้องมีการถ่วงน้ำหนัก หรือแขวนสิ่งของที่ค่อนข้างหนักภายในห้องสะอาด หรืออาคาร เหมาะสำหรับ Data Centers, Grow Rooms, Softwall Cleanrooms และ Medical and Dental Rooms
2.2 Ceiling Tile Options (กระเบื้องเพดาน)
ส่วนของ Ceiling Tile ผู้ออกแบบห้องสะอาด จะพิจารณาให้เหมาะกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมตามความต้องการของ Applications โดยมีตัวเลือกเช่น Aluminum Composite Panels ,Aluminum Honeycomb Panels, FRP Gypsum เป็นต้น
𝟯.𝗖𝗹𝗲𝗮𝗻𝗿𝗼𝗼𝗺 𝗪𝗶𝗻𝗱𝗼𝘄𝘀
หน้าต่างห้องสะอาดตามมาตรฐาน จะรวมเข้ากับระบบผนังและฝ้าเพดานแบบแยกส่วนได้อย่างลงตัว คุณสมบัติพื้นฐานของหน้าต่างห้องสะอาด จำเป็นต้องปิดผนึกอย่างหนาแน่นเพื่อลดและป้องกันการไหลของอากาศ
การเลือกขนาดของหน้าต่าง Cleanroom ที่ใช้ได้จะขึ้นอยู่กับระบบผนังที่ใช้ และต้องง่ายกับการ integrate ให้เข้ากับ Applications ที่ต้องการได้ เช่น Flush Window เหมาะสำหรับ Cleanroom System อย่าง 3 CleanLine, Fabline และ PharmaSystem
และในส่วนของ Glazing Options หรือตัวเคลือบกระจก ก็ต้องพิจารณาตามข้อกำหนดของโครงการ เช่น Double Glazing, Tempered Glass, UV
𝟰.𝗖𝗹𝗲𝗮𝗻𝗿𝗼𝗼𝗺 𝗗𝗼𝗼𝗿𝘀
ประตูห้องสะอาดแต่ละประเภท จะถูกพิจารณาให้เหมาะสมที่สุดกับการใช้งานของคุณ ไม่ว่าจะเป็นประตูเหล็ก บานเลื่อนไฟฟ้า กระจกแบบเต็มใบ หรือแบบที่มี Options เสริมอย่าง Vision panels, Hardware, กลไกการล็อค รวมถึงระดับการทนไฟ
(สามารถอ่านบทความ ประตูห้องสะอาดแบบ High pressure laminates หรือ HPL ได้ที่นี่ครับ : http://www.cainnovation.com/blog/39/HPL--High-Pressure-Laminate-)
𝟱.𝗖𝗹𝗲𝗮𝗻𝗿𝗼𝗼𝗺 𝗙𝗹𝗼𝗼𝗿𝗶𝗻𝗴 𝗧𝘆𝗽𝗲𝘀
สำหรับผู้ออกแบบ ก่อนเลือกวัสดุปูพื้นสำหรับห้องสะอาด ต้องพิจารณาว่าห้องคลีนรูมนั้นมีคุณสมบัติอะไรบ้าง เป็นห้องปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ตลอดหรือไม่ รวมถึงห้อง Cleanroom บางประเภทที่ต้องมีการใช้สารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อในการทำความสะอาด อาจมีผลกัดกร่อนกับพื้นห้องคลีนรูมได้
และต้องพิจารณาไปถึงกระบวนการผลิต เช่นอุตสาหกรรมที่กี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีศัตรูหลักคือไฟฟ้าสถิต นักออกแบบ Cleanroom จำเป็นต้องเลือกพื้นผิวที่มีคุณสมบัติกระจายไฟฟ้าสถิตด้วย
มีวัสดุปูพื้นทั่วไปหลายประเภทสำหรับการออกแบบห้องคลีนรูม ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีและคุณสมบัติที่ต่างกันไป หรือเหมาะสมสำหรับการใช้งานบางอย่างมากกว่าวัสดุอื่นๆ และนี่เป็นประเภทพื้นห้องสะอาดที่นิยมใช้กันทั่วไปครับ
• Rubber flooring (พื้นยาง)
พื้นยางสำหรับห้องสะอาด มีคุณสมบัติทนต่อการสึกหรอได้มาก ตอบสนองความต้องการในการใช้งานที่หลากหลาย ทำให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่นิยมสำหรับพื้น Cleanroom
นอกจากนี้พื้นแผ่นยางยังสามารถป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ รวมถึงดูแลรักษาง่าย ถือว่าเป็นตัวเลือกราคาประหยัด และมีให้เลือกหลายสีที่เข้ากับการออกแบบห้องคลีนรูมได้
• Vinyl flooring (พื้นไวนิล)
พื้นไวนิลถูกออกแบบมาให้เป็นโครงสร้างแบบไร้รอยต่อ จึงสามารถทำความสะอาดได้ง่ายที่สุด ด้วยลักษณะที่ราบเรียบ รอยแยกหรือช่องว่างจึงน้อยลง สะสมสิ่งสกปรกหรืออนุภาคในห้องสะอาดได้ยาก
แต่อาจจะเหมาะกับ Cleanroom ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักสูงมาก หรือการใช้งานอย่างหนัก เพราะอาจจะทำให้พื้นไวนิลสึกหรอได้อย่างรวดเร็ว
• Epoxy (อีพ็อกซี่)
อีพ็อกซี่เป็นสารเคลือบบนพื้นผิวคอนกรีต อีพ็อกซี่จะเติมความไม่สมบูรณ์บนพื้นผิวเดิมให้เต็ม สามารถเคลือบได้หลายชั้น เพื่อลดรอยพรุนบนพื้นผิวเดิม แข็งแรงและทนทาน สามารถใช้กับห้องสะอาดที่มีการปฏิบัติการอยู่ตลอดเวลาได้
รวมทั้งทำความสะอาดและบำรุงรักษาง่าย ทนต่อสารเคมีที่กัดกร่อนระหว่างการฆ่าเชื้อและกระจายไฟฟ้าสถิตอีกด้วย
• Urethane flooring (พื้นโพลียูรีเทน)
พื้นโพลียูรีเทนมีลักษณะผิวมัน ดูแลได้ง่ายในห้องปฏิบัติการที่มีการใช้งานอย่างหนัก มีความทนทานสูงต่อสารเคมีและสารที่รุนแรง เช่น น้ำมันเบนซิน เชื้อเพลิง ไฮโดรคาร์บอน กรด และแอลกอฮอล์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับออกแบบห้องปลอดเชื้อได้
นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติสะท้อนแสงที่ช่วยในเรื่องแสงสว่างให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
นอกเหนือจากนี้ยังมี Vinyl Composition Tile (VCT) ซึ่งอาจจะมีร่องจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนมากจะใช้ในห้อง Cleanroom สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากพื้นผิวแบบ VCT มีคุณสมบัติการกระจายไฟฟ้าสถิต
𝟲.𝗖𝗼𝘃𝗶𝗻𝗴
หรือบัวโค้งผนังสำหรับห้องสะอาด ระบบมุมห้อง Cleanroom และขอบห้อง Cleanroom จะช่วยเชื่อมต่อผนังกับเพดานและผนังกับพื้นอย่างราบเรียบ และสวยงาม รอยต่อทั้งหมดจะถูกเชื่อมเข้าด้วยกัน เพื่ออุดช่องว่างและสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ง่ายต่อการทำความสะอาดได้
𝟳.𝗙𝗮𝗻 𝗙𝗶𝗹𝘁𝗲𝗿 𝗨𝗻𝗶𝘁 หรือ 𝗙𝗙𝗨
หรือพัดลมกรองอากาศติด HEPA หรือ ULPA Filter เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยกรองฝุ่นในอากาศออก ก่อนที่จะป้อนอากาศเข้าไปในพื้นที่สะอาด
การติดตั้งหรือการพิจารณา Fan Filter Unit ต้องถูกคำนวนทั้งจาก Application ขนาดของพื้นที่ และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย
การออกแบบที่ดีจะช่วยให้ติดตั้งและเคลื่อนย้ายส่วนของ Fan Filter Unit ได้ง่ายในส่วนของโครงเพดาน และเมื่อติดตั้งแล้ว FFU ต้องทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งการควบคุมความเร็วและการทำงานของตัวเครื่องอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นมาตรฐานเกณฑ์ขั้นต่ำสุดสำหรับส่วนประกอบต่างๆ ที่ห้องสะอาด หรือ Cleanroom ต้องมี นอกเหนือจากนี้บางอุตสาหกรรมยังจำเป็นต้องมี Pass Through Chambers , Air Showers ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ออกแบบตามการใช้งาน และ Classification
แม้ว่าอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น Industrial หรือ Biological ต่างจำเป็นจะต้องใช้คลีนรูม แต่ถ้าเจาะลึกไปมากกว่านั้น ลูกค้าแต่ละรายย่อมมีความต้องการ โดยเฉพาะส่วนที่ต้องปรับแต่งให้เข้ากับสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ต่างกันไป
เพื่อตอบสนองทั้งด้านความต้องการของอุตสาหกรรม และเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานสำหรับห้องสะอาด 𝗖𝗔𝗜 𝗘𝗻𝗴𝗶𝗻𝗲𝗲𝗿𝗶𝗻𝗴 เรามีประสบการณ์มากกว่า 15 ปีในด้านการออกแบบ ก่อสร้าง ทั้งในและนอกประเทศ ด้วยทีมวิศวกรเฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญ
เราพร้อมดูแลและให้คำปรึกษาทุกอุตสาหกรรมให้ตรงไปตามความต้องการของลูกค้า และได้รับมาตรฐานจากอุตสาหกรรมระดับสากล
วนา อนุตรอำไพ l CAI Engineering
ร่วมเดินหน้าสู่นวัตกรรมการปรับอากาศให้เท่าทันกับโลกอนาคตไปกับเรา
▶ ทำความรู้จักเราให้มากขึ้น
Line OA : @caihvac หรือ Click https://lin.ee/O6ZPRuT
.
#cleanroom #CleanroomComponents #HVAC #ส่วนประกอบห้องคลีนรูม #ประตูห้องสะอาด #ผนังCleanroom #FFU #ventilation #หลักการระบายอากาศ #โรงงานยา #คลีนรูม #อุตสาหกรรม #โรงพยาบาล #ห้องผ่าตัด #ออกแบบคลีนรูม #ออกแบบCleanroom
โฆษณา