7 ม.ค. 2022 เวลา 03:43 • สุขภาพ
โรคไตวายเรื้อรัง(CHRONIC ​RENAL​ FAILURE)​ กับแพทย์แผนจีน
ไตวายเรื้อรัง
โรคไตวายเรื้อรัง​ เป็นโรคที่เกิดจากการพัฒนาของโรคไตจนถึงระยะสุดท้าย ซึ่งจะเกิดได้จาก โรคของไต หรือโรคที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงจากโรคอื่นและส่งผลต่อไต
โดยในระยะเริ่มต้นของภาวะไตวาย มักจะไม่มีอาการใดๆเตือนผู้ป่วยว่า​ ไตทำงานผิดปกติ (จึงเป็นเหตุสมควรอย่างยิ่งที่ควรหมั่นตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสังเกต ความผิดปกติที่เกี่ยวกับโรคของไต)​ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อการทำงานของไตเกิดความบกพร่องและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแล้ว จะส่งผลถึงร่างกายของผู้ป่วยเองได้อย่างชัดเจน
อาการของผู้ป่วยไตวายแต่ละรายจะแตกต่างกันออกไป
1. เนี่ยวตู๋​ เป็นภาวะที่ร่างกายมีสารพิษสะสมอยู่มาก และไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว คลื่นไส้ อาเจียน นอนหลับไม่สนิท​ ปวดหัว เวียนหัว ตาพร่า อาจถึงขั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว
2. สุยจ่ง​ อาการบวมน้ำ ผู้ป่วยบางรายมีอาการบวมน้ำ บวมตามมือ เท้า และข้อเท้า หรืออาจจะบวมรอบดวงตา
3. หลงปี้​ อาการปัสสาวะน้อย ปัสสาวะขัด เป็นหยดหยด จนกระทั่งปัสสาวะไม่ออก
4.​ ชวีเหลา​ อาการที่เกิดจากร่างกายถูกใช้อย่างหักโหมมากเกินไป จนผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หน้าซีด มือเท้าเย็น เป็นต้น
5.​ กวานเก๋อ เป็นอาการที่มีความรุนแรง โดยผู้ป่วยจะปัสสาวะไม่ออก ร่วมกับอาเจียนด้วย
อาการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ล้วนเป็นอาการร่วมของโรคไตวายเรื้อรังในขั้นต่างๆ
สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง ในทางแผนจีนมองว่าเกิดจาก
1. สาเหตุหลัก ส่วนใหญ่เกิดจากความพร่องของไตเอง หรือเป็นโรคที่มาจากอวัยวะอื่นๆทำให้ม้ามและไตพร่อง ประกอบกับมีความชื้นสะสม(ร้อนชื้น)​ ร่วมกับ ปัจจัยก่อโรคภายนอกเข้ามาจู่โจมร่างกายสะสมต่อเนื่อง ทำให้ม้ามและไตยิ่งพร่องมากขึ้น
2. สาเหตุรอง เกิดจากไตพร่องเป็นเวลานาน ทำให้หน้าที่ในการแยกสารจำเป็น และขับสารพิษและของเสียออกจากร่างกายมีประสิทธิภาพ​ลดลง ทำให้เกิดตะกอนของเสีย(เนี่ยวตู๋)​ ตกค้างในร่างกายตามอวัยวะต่างๆ และตะกอนของเสีย(เนี่ยวตู๋)​นี้ ก็เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เลือดเป็นพิษ เข้าสู่สมองได้
ปัจจัยตัวกระตุ้นให้โรคไตพร่องรุนแรงขึ้น
1. การได้รับเชื้อจากภายนอกอย่างกะทันหัน ทำให้ลมปราณปอดหมุนเวียนได้ไม่สะดวก การลำเลียงน้ำที่ซานเจียว(บริเวณลำตัว)​ไม่คล่อง ทำให้มีของเสียคั่งค้างสะสม ประกอบจากสาเหตุหลักที่ม้ามและไตพร่องอยู่แล้ว จึงทำให้ม้ามและไตพร่องมากยิ่งขึ้น
2. การหักโหมทำงานหนัก มีเพศสัมพันธ์มากเกินไป ทำให้ลมปราณถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ม้ามและไตพร่อง
3. การไม่ควบคุมเรื่องการบริโภคอาหาร จะส่งผลเสียต่อม้ามและกระเพาะอาหาร
ทำให้ม้ามและไตพร่อง
4. การใช้สมองมากเกินไป ความเครียด รายการคุณคิดมากเกินไป หรือแม้กระทั่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
การรักษาโรคไตวายเรื้อรังด้วยการฝังเข็ม
หลักการรักษาเน้น เสริมม้าม บำรุงไต​ เป็นหลัก ร่วมกับการขับความชื้น สลายเสมหะ ขับปัจจัยก่อโรค เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ด้วยวิธีการฝังเข็มนี้ จะช่วยลดค่า creatinine, ช่วยปรับความดันเลือด ทั้งยังช่วยขับปัสสาวะให้ได้มากขึ้นอีกด้วย โดยการรักษาอยู่ในหลักสำคัญคือการปรับให้ร่างกายกลับมาอยู่ในภาวะสมดุลนั่นเอง
อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจ และส่งต่อเคล็ดลับและวิธีการรักษาตัวเองโดยการฝังเข็มและจัดกระดูก โดยแพทย์จีนโอฬาร กันด้วยนะครับ​👍
#DrOlan #แพทย์จีนโอฬาร #หมอตั้ม​ #แพทย์จีน​ #ฝังเข็ม​ #ทุยหนา #นวดจัดกระดูก​ ​#ไตวาย #ไตวายเรื้อรัง​ #เปลี่ยนไต #ฟอกไต​ #ฝังเข็มรักษา​ #chronicrenalfailure #โรคไตวายเรื้อรัง
โฆษณา