7 ม.ค. 2022 เวลา 12:19 • การศึกษา
4 Kings ระบบการศึกษาอาชีวะของไทย กับตลาดแรงงาน
3
ภาพจำของอาชีวศึกษา ในสายตาหลายๆ คนที่โตมาในยุค 90 ส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพความรุนแรง การตีกันระหว่างสถาบัน ค่านิยมการรักเพื่อน รักศักดิ์ศรีของสถาบัน จนทำให้ในช่วงหลังๆ พ่อแม่ไม่ค่อยนิยมส่งลูกเรียนอาชีวะเนื่องจากกลัวเรื่องความรุนแรง
6
อันที่จริงแล้วผู้ที่จบการศึกษาระดับอาชีวะนั้นมีความสามารถและทักษะการทำงานที่เป็นที่ต้องการของนายจ้างเป็นอย่างมาก เนื่องจากในบางสายงานต้องการคนที่เข้าไปทำงานได้ทันทีเลย ผู้ที่เรียนอาชีวะมาจึงมักจะได้เปรียบกว่าเพราะได้เรียนภาคปฏิบัติงานจริงมามากกว่า
3
อย่างไรก็ตามการเรียนอาชีวะนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมในสายตาคนไทย ซึ่งหนังเรื่อง 4 Kings ก็ได้ถ่ายทอดมุมมองเหล่านี้ได้อย่างดี ในวันนี้ Bnomics จึงอยากจะมาเล่าเรื่องการศึกษาระดับอาชีวะของไทย กับความต้องการในตลาดแรงงาน ผ่านหนังไทยที่มาแรงเรื่องนี้
2
📌 จำนวนคนเรียนสายอาชีวะลดลงเรื่อยๆ ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา
ในประเทศไทย สถาบันการศึกษาระดับอาชีวะอยู่ในความดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ จากข้อมูลพบว่าหลังจากจบมัธยมต้น มีนักเรียนเพียง 35% ที่เลือกเรียนต่อในสายอาชีวะ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลายๆ ประเทศในภูมิภาคอย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย หรือจีน
4
แม้ว่าอัตราการเรียนต่อหลังจากจบมัธยมต้นมากขึ้น แต่เมื่อดูจำนวนที่แท้จริงแล้วพบว่าจำนวนผู้ที่เรียนต่อนั้นลดลงทั้งสายสามัญและสายอาชีวะ ตั้งแต่ปี 2010 - 2019 จำนวนการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับอาชีวะลดลง 13% ส่วนจำนวนคนเรียนต่อมัธยมปลายสายสามัญก็ลดลงไป 7% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสังคมสูงวัย และปัจจัยสำคัญที่เด็กเลือกเรียนอาชีวะลดลงเนื่องจากสายการเรียนอาชีวะไม่เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักเรียน
2
ส่วนใหญ่แล้วหลักสูตรที่นักเรียนสายอาชีวะเรียน ก็จะหนีไม่พ้น 2 กลุ่มหลักๆ คือ หลักสูตรที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม และหลักสูตรธุรกิจและพาณิชยกรรม ในปี 2019 พบว่ามีเด็กนักเรียนสายอาชีวะในระดับปวช. 660,000 คน กว่าครึ่งหนึ่งเรียนหลักสูตรที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ส่วนอีก 35% เรียนหลักสูตรบริหารธุรกิจและพาณิชยกรรม ส่วนหลักสูตรอื่นๆ มีคนเรียนน้อยมาก แม้ว่าจะเป็นสายที่ตลาดต้องการอย่างเช่นสายเทคโนโลยี แต่หลักสูตรนี้มีคนเรียนแค่เพียง 1% เท่านั้น ส่วนในระดับปวส. ก็ให้ภาพที่คล้ายกัน
4
📌 สายอาชีวะกับเพศ…มีแต่เด็กผู้ชายที่เลือกเรียนอาชีวะ?
ในหนังเรื่อง 4 Kings เราก็คงจะเป็นภาพนี้ชัดว่าตัวละครหลักๆ ส่วนใหญ่มักจะมีแต่ผู้ชาย ซึ่งก็เป็นภาพจริงๆ ของโรงเรียนอาชีวะที่กว่า 60% ของนักเรียนมักจะเป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงไม่เพียงแต่เรียนสายอาชีวะน้อยเท่านั้น แต่หลักสูตรที่เลือกเรียนก็มักจะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า
2
ในระดับปวช. จะพบว่าผู้หญิง 66% เลือกเรียนหลักสูตรบริหารธุรกิจ และมีแต่ 1 ใน 8 เท่านั้นที่เลือกเรียนสายการค้าอุตสาหกรรม หรือเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในขณะที่ผู้ชายกว่า 75% เลือกเรียนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม จะมีเพียง 15% เท่านั้นที่เรียนหลักสูตรบริหารธุรกิจและพาณิชยกรรม
1
จากข้อเท็จจริงเหล่านี้ทำให้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ในสายอาชีวะมักเป็นผู้ชาย หลักสูตรที่โรงเรียนอาชีวะเปิดสอนจึงเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประเด็นนี้ก็จะเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของอาชีพในอนาคตอีกด้วย
2
📌 ตลาดแรงงานต้องการเด็กอาชีวะ แต่เด็กไม่นิยมเรียนอาชีวะ
ในปี 2018 การส่งออกสินค้าและบริการคิดเป็นมูลค่ากว่า 60% ของ GDP ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ค้าปลีก และภาคการบริการ และในขณะเดียวกัน แรงงานที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมก็สามารถสร้างผลิตภาพให้กับประเทศได้สูง โดยเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในระหว่างปี 2008 - 2018 ซึ่งก็ถือเป็นส่วนสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
1
เมื่อลองมาดูข้อมูลความต้องการแรงงาน ก็จะพบว่าลูกจ้างที่นายจ้างส่วนใหญ่มองหาคือคนที่มีคุณสมบัติระดับล่างถึงกลางๆ หรือพูดง่ายๆ คือคนจบระดับมัธยมปลายหรือต่ำกว่านั้น (รวมถึงคนที่จบอาชีวะ) ซึ่งคิดเป็นกว่า 51% ของความต้องการแรงงานทั้งหมด ในขณะที่ความต้องการแรงงานที่จบระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นไป และคนที่จบสายอาชีวะในระดับสูงกว่าปวช. คิดเป็นเพียง 15% และ 9% เท่านั้น
3
แต่เมื่อเราดูสัดส่วนของคนที่เรียนจบก็จะพบว่า แรงงานที่เรียนจบปริญญาตรีขึ้นไปนั้นมีถึง 63% ของแรงงานทั้งหมด ส่วนแรงงานในระดับล่างถึงกลางๆ ที่นายจ้างต้องการนั้นมีเพียง 22% เท่านั้น
2
นั่นจึงทำให้เห็นภาพของอุปสงค์และอุปทานแรงงานที่ไม่ตรงกันระหว่างนายจ้างกับแรงงาน เมื่อมีคนเรียนจบระดับชั้นอุดมศึกษาเกินกว่าที่นายจ้างต้องการ อีกข้อมูลเพิ่มเติมยังเน้นย้ำให้เห็นว่าคนที่เรียนจบทางด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, และคณิตศาสตร์ ก็ยังน้อยกว่าที่ตลาดต้องการ จึงเป็นเหมือนสัญญาณว่าสาขาวิชาที่เปิดสอนกันอยู่ในทุกวันนี้อาจไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ยังทำให้เห็นว่าหลักสูตรอาชีวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็อาจจะไม่ได้ปรับตามตลาดแรงงานที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วได้
3
ถึงแม้ว่าหลายๆ คนจะรู้ว่าตลาดแรงงานขาดแคลนแรงงานทักษะเฉพาะ แต่ทั้งนักเรียนและผู้ปกครองก็ยังคงเลือกที่จะเรียนมหาวิทยาลัย มากกว่าสถาบันอาชีวศึกษาอยู่ดี ซึ่งหนึ่งในเหตุผลหลักๆ ก็มาจากภาพจำของเด็กอาชีวะในสายตาคนส่วนใหญ่ที่มองว่ามีแต่ความรุนแรง รวมถึงสังคมที่เชิดชูคนจบปริญญาตรีมากกว่า ปัญหาความไม่พอดีกันระหว่างทักษะแรงงานกับตำแหน่งงานจึงเกิดขึ้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่มีคุณสมบัติเกินไป หรือแรงงานที่ด้อยคุณสมบัติ ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดผลกระทบ ทางลบต่อตัวบุคคล บริษัท และเศรษฐกิจในระยะยาวได้
1
ดังนั้น เพื่อที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ รัฐบาลจึงควรขยายการศึกษาอาชีวะให้มีความครอบคลุมในกลุ่มทักษะงานที่ขาดแคลน ส่วนสถาบันอาชีวะเองก็ต้องพัฒนาตัวเองให้คนรู้สึกอยากเรียนสายนี้มากขึ้น ซึ่งก็ต้องใช้หลายวิธีประกอบกัน อาทิ
3
  • ต้องทำให้นักเรียนอาชีวะสามารถเข้าถึงโอกาสในการเรียนต่อได้ ไม่ว่าต่อสายอาชีวะหรือสายสามัญ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเพิ่มสถานะให้กับการศึกษาสายอาชีวะมากขึ้น และเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน จริงอยู่ว่าในปัจจุบันคนที่จบอาชีวะสามารถเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ แต่กลับพบว่ามีนักศึกษาเพียง 10% เท่านั้นที่เรียนจบอาชีวะมา
  • ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบอาชีวศึกษาต้องทำงานร่วมมือกัน เพื่อขับเคลื่อนทุกอย่างไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่สร้างความสับสนให้แก่นักเรียน
3
  • ส่งเสริมคุณภาพให้กับหลักสูตรอาชีวะ เพื่อให้ผลิตนักเรียนออกมาได้ตรงความต้องการของตลาด พัฒนาคุณภาพของอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ทันสมัย รวมถึงพัฒนาบุคลากรผู้สอนให้มีคุณภาพ
  • ขยายระบบอาชีวศึกษาให้มีความครอบคลุมในทุกๆ ด้าน สร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันแก่ทุกคน เพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มผู้หญิง หรือคนวัยผู้ใหญ่ ผ่านทางการแนะนำอาชีพที่เน้นให้ข้อมูลทางเลือก และแนะนำภาพกว้างๆ ของสายอาชีวะ โดยไม่เหมารวมว่าการเรียนหลักสูตรนี้ การทำอาชีพนี้ ถูกสงวนไว้ให้เพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น และส่งเสริมการเพิ่มพูน/รื้อฟื้น ทักษะ ให้กับคนวัยผู้ใหญ่ผ่านการฝึกอบรม
3
สิ่งเหล่านี้เองที่จะช่วยแก้ปัญหามุมมองต่ออาชีวศึกษา และพัฒนาคุณภาพของอาชีวศึกษา เพื่อให้สามารถผลิตแรงงานที่มีทักษะตรงตามความต้องการของตลาด เข้าไปช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
4
#4Kings #อาชีวะไทย #ตลาดแรงงาน #เศรษฐกิจไทย
#Bnomics #Economic_Edutainment #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา