7 ม.ค. 2022 เวลา 14:25 • ปรัชญา
ความทุกข์ไงครับ ลดทุกข์สุขก็มา แต่คนเรามักจะมองข้ามความจริงในข้อนี้ โดยจะแสวงหาปัจจัยภายนอก มาตอบสนองความต้องการของตนเองเป็นส่วนใหญ่ ลองคิดดูว่าถ้าเราไม่มีความทุกข์เลย เราจะสุขแค่ไหน จะยากจนแค่ไหนก็สุข จะรวยก็สุข จะโศกเศร้าเสียใจก็เป็นเพียงชั่วคราว เดี๋ยวมันก็จะหายไป ใครมาด่าว่าก็ไม่โกรธ ใครจะโกงก็ไม่โกรธ จะตกตํ่าแค่ไหนก็เพียงแต่ยอมรับมัน อยากได้อะไรไม่ได้ ไม่สมหวังก็เฉยๆ เป็นต้น ความทุกข์ส่วนใหญ่เกิดจากความอยากที่ไม่สมหวัง ( ตัณหา) และกิเลสหรือตัวการที่ทําให้จิตใจเศร้าหมอง สองตัวนี้เป็นตัวหลักที่ก่อทุกข์ การลดทุกข์อย่างง่ายๆที่พึงทําได้ทันที โดยการฝึกสิ่งต่อไปนี้บ่อยๆ
ลดความอยากได้อยากมี ด้วยการเป็นผู้ให้บ่อยๆ
ลดการเอาเปรียบผู้อื่น ด้วยการเป็นผู้เสียสละ
ลดความโกรธ อาฆาต พยาบาท ด้วยเมตตาและการให้อภัย
ลดการดูถูก เหยียดหยัน ดูหมิ่น เป็นการยอมรับ
ลดความงุดหงิดฟุ้งซ่าน ด้วยสมาธิ
ลดความท้อแท้ ขาดแคลนด้วยปัญญา
สิ่งที่ผมเขียนมา โดยหลักการเป็นเช่นนั้น ในศาสนาพุทธส่วนใหญ่ก็จะพูดถึงเรื่องทุกข์ทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าท่านก็พูดถึงการดับทุกข์ในอริยสัจ4 ท่านทรงเข้าใจดีว่าทุกข์กับสุขก็เป็นเหตุเป็นผลกัน ดังที่กล่าวมาแล้ว ทุกข์น้อยสุขมาก ทุกข์มากสุขน้อย
ซึ่งอริยะสัจ4 มีความสําคัญมากและเป็นหัวใจของศาสนาพุทธ แต่มีคนที่ไม่เข้าใจและขาดสติปัญญาโจมตีศาสนาพุทธบ่อยๆว่า เอะอะอะไรก็ทุกข์ จะไม่มีสุขเลยหรืออย่างไร
พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยพูดถึงเรื่องสุขหรือวิธีสร้างความสุขเลย จะมีก็ในเรื่องของสมาธิ ในระดับฌาน (วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกกคักตา ) ซึ่งเป็นความสุขจากความสงบในฌานเท่านั้น แต่ท่านไม่ให้ยึดติดในอารมณ์นั้นเหล่านั้น เพราะไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ใดๆ เป็นขั้นตอนของการทําสมาธิแบบสมถะ ซึ่งไม่ได้มีแต่ในศาสนาพุทธเท่านั้น ศาสนาอื่นก็มี แต่ศาสนาพุทธเราไปไกลกว่านั้นคือเราเดินสมาธิทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน เพื่อความหลุดพ้นทั้งทุกข์และสุขไปพร้อมกันอย่างสิ้นเชิง
โฆษณา