8 ม.ค. 2022 เวลา 07:09 • การ์ตูน
“ทำไมอนิเมะถึงต้องเป็นตัวละครเด็ก”
จริงหรือเปล่าที่ Anime มีแต่ตัวละครเด็กทั้งๆที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ใหญ่? มีคนพูดถึงประเด็นนี้ขึ้นมา เด็กในที่นี้ก็อาจจะเป็นเด็กประถม ม.ต้น ม.ปลายก็ได้ แต่บางทีก็สงสัยว่าทำไมแนวนี้เยอะ และไม่ทำเป็นตัวละครผู้ใหญ่ไปเลยบ้าง
วันก่อนได้พูดคุยกับเพื่อนๆ weeb ด้วยกันในช่อง Gudu A ได้น่าสนใจเลยอยากจะลองมาแบ่งปันมุมมองกับทุกคน (ที่พูดคุยกันดูใน comment)
[มันก็จริง... แต่ส่วนใหญ่ Shounen นะ]
- แม้แว๊บแรกผมจะเห็นด้วยว่าอนิเมะมีแต่เรื่องราววัยเด็กจริงๆ
- แต่คิดไปคิดมา โดยเฉพาะเรื่องที่ผมดูต่อให้ส่วนใหญ่เป็นตัวละครอายุน้อย ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง Make sense ที่จะเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตรั้วโรงเรียน Slice of life เรื่องกิจกรรมชมรมต่างๆ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับการเติบโต
- เรื่องที่มักจะดูแปลกน่าจะเป็นแนว Action Shounen ที่มักจะใช้ตัวละครเด็กออกไปต่อสู้ กอบกู้โลก มันก็ถึงมีคำถามว่า ทำไมต้องเป็นเด็กพวกนี้ตลอด ในโลกนั้นมันมีใครคนที่เก่งมีประสบการณ์เยอะและเหมาะสมจะกอบกู้โลกกว่านี้หรือ?
- ก็ต้องเข้าใจว่าแนว Shounen เขียนให้เด็กๆดู ก็ควรจะเป็นตัวละครเด็กๆ และเห็นเรื่องราวที่พวกเขาทำอะไรที่น่าสนใจ Fantasy ทำให้เด็กมีความสำคัญ
- ผมก็ไม่มีประสบการณ์ดูแนว Shounen มากก็อาจจะพูดยาก ก็คงแล้วแต่เรื่องจะหาเหตุผลที่ต้องเป็นตัวละครเด็ก และทำให้เราอินและเชื่อได้ว่าในโลกนั้นเป็นแบบนั้นจริงๆ ขึ้นอยู่กับศักยภาพการเขียนเรื่อง
- เรื่องบางเรื่องเราก็ไม่ค่อยเก็ตว่าจะเป็นวัยรุ่นม.ปลายทำไม ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าไหร่เลยเช่น The God of High School
[นอกจากแนว Shounen เรามี]
- แน่นอนว่าแนว Slice of life ชีวิตรั้วโรงเรียน ความรัก มันก็โอเคที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กๆในโรงเรียน โรงเรียนมันเป็นที่พบปะกันของตัวละครได้หลากหลาย เป็นที่ที่คนเริ่มมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นนอกจากในครอบครัว และเมื่อเราโตขึ้นเราก็จะเจอกับคนที่ทำงานซึ่งก็อาจจะเป็นเดิมๆตลอด ทำให้เรื่องราวแนวชีวิตโรงเรียนดูมีอิสระมากกว่า
- หรือเรื่องแนว Action ๆ หน่อย เช่น Kill la kill ก็เป็นเรื่องราวของเด็กทั้งนั้น โรงเรียนที่มีพลังอำนาจเหนือทั้งเมืองหรือทั้งโลก แต่เรื่องราวมันก็พาดพิงถึงระบบการศึกษา และการหล่อหลอมคนเข้าสู่สังคม ก็ไม่แปลกถ้าเรื่องจากต้องเป็นรั้วโรงเรียน (แน่นอนว่าไม่ใช่โรงเรียนธรรมดา)
[ทำไมทำอนิเมะเกี่ยวกับชมรม ไม่ทำแนวกีฬาหรือกิจกรรมนั้นๆเลย]
- นอกจากแนว action แล้ว อีกอย่างที่เจอเยอะมากใน Anime คืออนิเมะแนวชมรม เช่นฟุตบอล แทนที่จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับนักฟุตบอลมืออาชีพ กลับต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับชมรมฟุตบอลของโรงเรียนแทน
- ถ้าเราอยากเห็นคนเล่นฟุตบอลเก่งๆ ไปดูของจริงไม่ดีกว่าหรือ? แต่อนิเมะเราไม่ได้ดูการแข่งบอลที่สมจริง แต่เรามาติดตามชีวิตเรื่องราว การการเติบโตของเหล่านักกีฬา เรื่องราวเริ่มต้นจากโรงเรียนก็เป็นทางเลือกที่โอเค
- หรือยกตัวอย่าง Love live สมัยก่อนเค้าจะวิจารณ์กันว่า Love live เป็นไอดอลไม่จริงจัง ต่างจาก Idolm@ster หรือ Wake Up Girl เป็นไอดอลอาชีพ ต่อให้ตัวละครจะเด็กๆเหมือนกันแต่ไอดอลญี่ปุ่นก็จะอายุน้อยจริงๆแหล่ะ ไอดอลจริงๆเค้าต้องมีเรื่องการสร้างชื่อเสียง ต้องออกรายการ มีเบื้องหลังของวงการบันเทิง เช่นเดียวกับกับกีฬาจริงๆ มันเป็นเรื่องการหาเลี้ยงชีพและธุรกิจด้วย
- แต่การที่ Love Live เป็นไอดอลโรงเรียนนั่นล่ะทำให้มันประสบความสำเร็จที่สุด เพราะมันไม่ต้องจริงจัง ไม่ต้องกังวลว่าตัวละครจะต้องทำให้หาเลี้ยงชีพได้ แต่เป็นเรื่องราวของการตามความฝันเต็มๆ คิดว่าคงเช่นเดียวกับแนวชมรมหลายๆเรื่องที่เปิดโอกาสให้พูดถึงกิจกรรมต่างๆด้วยความรักความฝันหรือการแข่งขันมากกว่าชีวิตแบบมืออาชีพ
[Selection Project เมื่อเด็กไปก็เป็นปัญหา?]
- Selection Project เป็นอนิเมะที่เพิ่งจบไปในปี 2021 เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับรายการ Reality show ที่ให้ผู้ชมทางบ้านโหวต ซึ่งก็ดูไม่มีพิษมีภัยอะไร จนกระทั้งรายการก็เริ่มจะเหมือน reality show บ้าน AF ที่ตัวละครเริ่มทะเลาะ ดราม่า PTSD เจ็บป่วย บังคับให้ออกรายการ และใส่ชุดว่ายน้ำวาบหวิวพูดอ่อยออกรายการเพื่อเรียกคะแนนโหวตโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่หรือแม้แต่ผู้แข่งเอง
- โดยการกระทำเองมันได้ไหม? จริงๆก็จะน่าสนใจมากถ้านำเสนอด้านมืดของวงการ แต่เรื่องนี้ทำเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดาแบบไอดอลผู้ใหญ่ ไม่มีใครรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องผิดปกติ Reaction ทางสังคมก็ไม่เกิดขึ้น
- สุดท้ายมันก็มาลงอยู่ที่ว่า ถ้าเราใช้ตัวละครเด็กในเรื่องแล้ว เรื่องรู้ตัวอยู่หรือเปล่าว่ากำลังทำอะไร ให้มุมมองที่น่าสนใจหรือแค่ตัวละครเด็กก็คือเด็กเฉยๆ มันก็มาลงอยู่ที่การเขียนเรื่องเป็นรายเรื่องอยู่ดี
[Steins;Gate ตัวละครเด็ก?]
- อันนี้เป็นตัวอย่างที่แปลกดีที่มีคนยกตัวอย่างว่า Steins;Gate ก็เด็กไปสำหรับอายุ 18-20 ที่จะเป็นแนว Sci-fi ย้อนเวลาและชะตากรรมของโลก มันดูเว่อร์เกินไปไหมที่เด็กพวกนี้จะต้องสู้กับองค์กรระดับชาติ
- เราไม่คุยเรื่องความ Make sense ของตัวละครอายุเท่านี้จะเก่งฉลาดแค่ไหน ก็เป็นเรื่องราวที่จะเอามาดูกันตัวละครจะธรรมดาไปทำไมต้องพิเศษสิ!
- แต่เอาในแง่ว่าคนตัวน้อยๆทำไมต้องสู้องค์กรระดับชาติ นั่นล่ะเป็นจุดเด่นของ Steins;Gate เลย คือเรื่องราวของคนที่ไม่รู้อิโหน่งอิเหน่ จู่ๆก็เข้ามาผัวพัน และสุดท้ายแล้วสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อปกป้องไม่ใช่โลกทั้งใบ แต่คือวัยเยาวน์ของพวกเขาต่างหาก
......
[อนิเมะที่ตัวละครเป็นผู้ใหญ่]
- สำหรับคนดูอนิเมะมาเยอะก็คงจะไม่ยาก แต่สำหรับหลายคนที่รู้สึกว่าอนิเมะก็เป็นตัวละครเด็กหมดจริงๆก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ใหญ่บ้าง
- ในปีที่ผ่านมาเรามี Heike Monogatari , Odd Taxi หรือ Aquatope ที่เป็นเรื่องราวผู้ใหญ่ขึ้น
- หรืออนิเมะแนวทำงานต่างๆเช่น Shirobako เกี่ยวกับการสร้างอนิเมะ หรือสืบสวนสอบสวนแบบ Psycho-pass ก็มี
- ทั้งนี้เราก็ต้องเข้าใจมากๆเลยว่าอนิเมะที่ตัวละครอายุน้อยไม่ได้หมายถึงว่าคนดูต้องอายุน้อยตาม เรื่องราวที่ลุ่มลึก ดูยาก เช่น Sonny boy หรือ Revue Starlight ก็ยังเป็นตัวละครเด็ก หรือยิ่งไปกว่านั้นอนิเมะสาวน้อยเวทย์มนต์อย่าง Madoka Magica ก็เล่าเรื่องที่เกินกว่าเด็ก ม.ต้นควรจะดูไปมาก
[สุดท้ายแล้ว ทำไมแนวตัวละครเด็กเยอะจัง?]
- ต่อให้ยกตัวอย่างอนิเมะตัวละครผู้ใหญ่มาบ้าง แต่สุดท้ายภาพรวมมันก็เป็นตัวละครเด็กเยอะอยู่ดี เราได้คุยกันไปแล้วว่ามันก็สามารถทำให้ make sense ที่ตัวละครยังต้องเป็นเด็กทำนู่นนี่ แต่ความเยอะกว่าเทียบกับหนังและซีรี่ย์ล่ะ?
- ถ้าเป็นแนว Shounen เค้าก็เล็งกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้ชายอยู่แล้ว การทำให้ตัวละครเป็นวัยเดียวกับเขาก็เข้าใจได้ แล้วค่อยหาเหตุผลที่จะทำให้มัน make sense อีกทีได้
- แต่แนวอื่นๆ ที่เริ่มสำหรับคนวัยรุ่นตอนปลายถึงผู้ใหญ่ก็ยังมีแต่เรื่องแนวชีวิตโรงเรียนอยู่ดี เท่าทีเคยอ่านมา ชีวิตการทำงานของญุี่ปุ่นมันเข้มข้นมากๆ ช่วงเวลาที่คุณเป็นอิสระที่สุดก็คงเป็นช่วงวัยเรียนเนี่ยล่ะ ที่คุณจะทำอะไรก็ได้ มันง่ายที่จะเขียนเรื่องราวช่วงนี้โดยไม่ติดกรอบก็สถานที่ทำงานหรืออะไร ไม่ต้องมีรายละเอียดว่าที่ทำงานเป็นอย่างไร และเป็นเรื่องราวอะไรก็ได้ที่เริ่มต้นจากพื้นฐานที่คนส่วนใหญ่มีเหมือนกันคือชีวิตโรงเรียน แล้วจะฝันต่อไปถึงไหนก็ได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดถ้าะสร้างสรรค์เรื่องราวใดๆขึ้นมา
- ด้วย 2 ปัจจัยคืออนิเมะส่วนหนึ่งเน้นให้เด็กดูจริงๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องราวที่อยากหลุดออกจากโลกแห่งความจริง การเริ่มต้นที่วัยเด็กมันง่ายกว่า เป็นปัจจัยทำให้อนิเมะส่วนใหญ่เต็มไปด้วยตัวละครเด็กและวัยรุนนั่นเอง
บทความนี้เขียนในมุมมองของคนไทย ดูอนิเมะไปวันๆ การจะเข้าใจวัฒนธรรมอนิเมะจริงๆคงต้องเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วย ก็เป็นแค่ weeb คนนึงมาเล่าอะไรให้ฟัง ลองมาแบ่งปันประสบการณ์กันครับ
โฆษณา