8 ม.ค. 2022 เวลา 10:28 • ความคิดเห็น
นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เราต้องรู้อะไรบ้าง ?
1
ภาพจาก canva
เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบของน้องใหม่ในแผนกที่ถูกวางตัวมาให้เป็นมือขวาของเราเขาว่าอย่างนั้น
หากจะให้เหลา เอ้ย.. เล่าว่าการดูแลงานด้านการนำเข้าเราต้องรู้อะไรบ้างนั้น ถ้าจะให้นั่งจับเข่าคุยกันข้ามวันถึงหลักการก็น่าจะจบแต่ก็อาจจะปวดเมื่อยเข่ากันไปสักพักเลยค่ะ
3
เพราะรายละเอียดยิบย่อยยังมีอีกเยอะแยะเลย และก่อนที่จะขี้เกียจอ่านกัน
เราจะทยอยมาเล่าสู่กันฟังทีละนิดทีละน้อย ค่อย ๆ เล่าน้องจะได้ไม่ งง และเราจะได้เจอกันบ่อย ๆ ให้หายคิดถึงกันเนาะ
1
หลัก ๆ ที่ควรจะต้องรู้เลยเมื่อมีการนำเข้าสินค้า รวบรวมข้อมูลจากการที่ได้ทำงานด้านนี้มาจนอายุปูนฉะนี้ เฮ่อ! ไม่อยากนับตัวเลขอายุ
3
1. INCOTERMS ในการซื้อขายมีอะไรบ้าง แต่ละ INCOTERMS มีความแตกต่าง ข้อดี ข้อด้อย กว่ากันอย่างไร เพราะผู้ขายอยู่หลากหลายประเทศทั่วโลก แต่ละคนก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน อ่านเรื่อง incoterms เพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ 👇
1
2. สินค้าที่นำเข้ามาเป็นสินค้าประเภทไหน รายละเอียดเป็นอย่างไร เพราะมันจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการตีความพิกัดของภาษีนำเข้าสินค้า ที่จะต้องเอาเข้าพิกัดให้ถูก เพื่อเสียภาษีนำเข้าให้ถูกต้อง
1
3. พิกัดภาษี ที่ใช้ระบุสินค้าชนิดนั้น ๆ ที่นำเข้ามา เพื่อระบุในใบขนสินค้าขาเข้า และคำนวณอัตราภาษี เมื่อก่อนต้องเปิดหนังสือพิกัดเล่มหนามากกก เปิดทีเมื่อยมือ แต่ตอนนี้มี website ของกรมศุลกากรให้เข้าไปตรวจสอบได้ง่าย ๆ เลย แต่ก็ต้องรู้ประเภทสินค้าก่อนอยู่ดี
1
4. นำเข้ามาจากประเทศไหน เพราะบางประเทศมีสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้ใช้ลดค่าภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าบางชนิดได้
1
5. ขนาด น้ำหนัก น้ำหนักรวมของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพราะมันจะไปเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้บริการการขนส่งระหว่างประเทศ ว่าจะเลือกเป็น รถ เรือ หรือเครื่องบิน
1
6. กำหนดการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า เพราะจะเป็นตัวกำหนดให้ต้องเลือกใช้บริการการขนส่งระหว่างประเทศให้เหมาะสม จะมาทาง รถ เรือ หรือเครื่องบิน เพื่อให้สินค้ามาทันเวลา
1
7. เป็นงานที่เซ็นต์สัญญากับส่วนราชการหรือไม่ เพราะหากเป็นงานที่จะต้องส่งมอบให้กับส่วนราชการในการนำเข้าทางเรือจะต้องใช้เรือธงไทยในการขนส่งสินค้า หากไม่มีเรือธงไทยในช่วงเวลานั้น ต้องยื่นเอกสารขออนุญาตใช้เรืออื่นที่ไม่ใช่เรือไทยกับกรมเจ้าท่า
8. ตารางเวลาการเดินเรือของแต่ละ Port ว่ามีเรือออกวันไหนบ้าง ต้องรู้ไว้เพราะจะทำให้ประเมินวันที่สินค้าถึงมือได้ ตั้งแต่เรารู้วันที่ของจะผลิตเสร็จ
9. รู้จัก Freight Forwarder ผู้ที่จะทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ขาย และสายเรือ/สายการบิน เพื่อให้บริการขนส่งสินค้ามาให้เรา
1
10. Shipping ผู้ที่จะทำหน้าที่เคลียร์สินค้าให้กับเราเมื่อสินค้านั้น ๆ เข้ามาถึงราชอาณาจักรไทย
1
ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลหลักที่คนทำนำเข้าสินค้าต้องรู้ และในแต่ละข้อยังมีรายละเอียดแยกย่อยอีกมากมาย ไว้จะทยอยมาเล่าให้ฟังใหม่นะคะ วันนี้ลาไปก่อนไปกินขนมวันเด็กก่อน
2
พบกันใหม่ในบทความถัดไปค่ะ
พักเรื่องงานไปอ่านเรื่องเที่ยวได้ที่นี่
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
และกำลังฝึกการเขียนนิยาย
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา