9 ม.ค. 2022 เวลา 12:36 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การวางแผนการเงิน
สังคมเรามีหลากหลายอาชีพ ระดับเงินเดือนก็แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง บางคนเป็นฟรีแลนซ์ ซึ่งรายได้ก็จะไม่แน่นอน และนั่นไม่ใช่ปัญหาหลัก รายได้เท่าไรนั้นไม่สำคัญ เหลือเก็บเท่าไรต่างหากที่สำคัญกว่า
ในยุคนี้ คนจะทำอะไร จะไปไหน เป็นต้องประกาศบน Social media ต่างๆ เช่น ดื่มกาแฟแพง ๆ ช้อปปิ้งของแบรนด์เนม ไปเที่ยวบ่อยๆ บลาๆๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องผิด มันเป็นสิทธิส่วนบุคคล เงินก็ของเขา เขาจะทำอะไรก็ได้ เขาอาจจะวางแผนการเงินมาแล้วก็เป็นได้ หากเราอยากมีชีวิตที่ดีแบบเขาเหล่านั้น เราต้องรู้จักการวางแผนการเงินให้ดี
พูดถึงการวางแผนการเงิน มันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกคนควรรู้ ควรเข้าใจ และควรปฏิบัติตามแผนที่วางเอาไว้ แต่ที่แปลกคือ มันเป็นเรื่องที่ไม่มีใครมาบังคับให้ทำ รวมถึงในโรงเรียนก็ไม่ได้สอน ( อาจมีสอนให้ประหยัด อดออม และนำเงินไปฝากธนาคาร ) ซึ่งกว่าจะเข้าใจเรื่องการเงินก็อายุมากแล้ว หรือ ไม่ก็ต้องเกิดปัญหาทางการเงินบางอย่างเสียก่อนถึงจะคิดได้
จากเรื่องการโพสต์ Social media ข้างต้น คือมันเป็นสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งโยงมาถึงการเงินที่ควรศึกษา คือการเงินส่วนบุคคล เช่นกัน
การเงินส่วนบุคคล คือการจัดการเงินของตัวเราเองและครอบครัว ครอบครัวมี 2 แบบ คือ 1.ครอบครัวที่เราเกิด ( พ่อแม่/พี่น้อง )
2.ครอบคัวที่เราตาย (ลูกและสามี/ภรรยา )
เมื่อเราโตขึ้น แล้วมีครอบครัว การเงินส่วนบุคคลที่เราควรวางแผน คือ ครอบครัวในแบบที่ 2 และควรเลี่ยงการพัวพันธ์ทางการเงินกับครอบครัวในแบบที่ 1 เช่น ให้พี่น้องยืมเงิน , การทำตามคำขอของพ่อแม่ที่มากเกินกำลังของเรา หรือแม้แต่การค้ำประกันซื้อรถยนต์ให้เพื่อนที่สนิทมาก เป็นต้น
การเงินส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 3 เรื่อง
1.การจัดการสภาพคล่อง
2.การจัดการความเสี่ยง
3.การจัดการความมั่งคั่ง
การจัดการสภาพคล่อง คือ การทำให้มีเงินพอใช้ได้แบบคล่องมือ หรือ เรียกว่า การมีรายได้มากกว่ารายจ่ายนั่นเอง คำถามคือ แล้วถ้าคนมีรายได้น้อยล่ะ ยิ่งค่าครองชีพก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ อีก แบบนี้จะให้ทำยังไง ? คำตอบที่มีให้ก็คือ ต้องหารายได้เสริมค่ะ และพยายามไม่ก่อหนี้เพิ่ม (กรณีที่มีหนี้สินด้วย) เชื่อว่าทุกคนต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนในชีวิต เมื่อรู้ว่าตัวเองชอบอะไร ถนัดเรื่องอะไร หรือทำอะไรได้ดี ขอให้ศึกษาข้อมูลสักนิด แล้วลงมือเลย ลุย!!!
* สมัยนี้ไม่ควรมีรายได้ทางเดียวแล้วค่ะ
ตัวอย่างอาชีพเสริม ขายเสื้อผ้ามือสอง , รับแต่งหน้าทำผม , เปิดช่อง Youtube , เปิดเพจ Facebook , ทำเบเกอรี่ขาย , ขับรถส่งอาหาร Delivery , รับจ้างงาน Part time ในห้าง เป็นต้น
* เงินจากรายได้เสริม ควรจ่ายค่าแรงในเรา โดยแยกออกมาให้ชัดเจน ส่วนที่เหลือให้นำไปเป็นทุนในการดำเนินกิจการต่อไป
เมื่อใดที่เรามีรายรับที่มากกว่ารายจ่าย เท่ากับว่าเรามีสภาพคล่องแล้วในระดับต้นค่ะ เย้
จากนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือ การเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน ให้ได้จำนวนเงินเท่ากับ 6 เดือน ของค่าใช้จ่าย เช่น มีค่าใช้จ่าย 10,000 บาท/เดือน ฉะนั้นต้องเก็บเงินก้อนนี้ให้ได้ 60,000 บาทเป็นอย่างน้อย (ไม่ควรเกิน 12 เดือน ) แล้วควรแยกบัญชีนี้ไว้เลย เอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินตามชื่อเลยค่ะ
การจัดการความเสี่ยง ความเสี่ยงคือสิ่งที่เราไม่คาดฝัน เป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ แต่จะดีกว่าไหม หากเราเตรียมรับมือกับความเสี่ยง หรือโอนความเสี่ยงไปให้คนอื่นรับผิดชอบ ในขณะที่ยังไม่เกิดเหตุ ดีกว่าเกิดเหตุแล้ว แต่ไม่สามารถรับมือได้ ซึ่งสิ่งที่ควรมีในข้อนี้คือ กรมธรรม์ หรือความคุ้มครองจากประกันชีวิต หลายคนพอได้ยินคำว่า “ ประกันชีวิต “ ถึงกับต้องเบือนหน้าหนีกันเลยทีเดียว บ้างก็คิดว่าเป็นการจ่ายเงินทิ้ง บ้างก็คิดว่า จ่ายไปก็ไม่ได้ใช้
อยากชวนให้คิดแบบนี้ค่ะ การซื้อประกันชีวิต คือการโอนย้ายวามเสี่ยงไปให้บริษัทประกันชีวิตรับผิดชอบ แน่นอนว่าไม่มีใครอยากป่วย ไม่มีใครอยากประสบอุบัติเหตุ และไม่มีใครอยากเสียชีวิตก่อนวัยอันควรหรอก จริงไหมคะ อย่างที่บอกไปข้างต้นค่ะ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ประกันชีวิตมีหลายแบบ หลายประเภท จริงอยู่ ที่บางประเภทอาจจะเหมือนจ่ายทิ้ง หากในปีนั้นไม่มีการเคลม
แต่…มีใครที่ซื้อประกันเพราะอยากเคลมไหมคะ ?
เรามีประกันไว้เพื่อคุ้มครอง เมื่อวันใดวันหนึ่งโชคร้ายเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา แล้ววันนั้น คุณจะอุ่นใจมากกว่าการไม่มีประกันอย่างแน่นอน
การเลือกซื้อประกัน ต้องเลือกแบบที่เหมาะสมกับตัวเอง ในปริมาณที่พอดี สามารถจ่ายเบี้ยได้แบบไม่เดือดร้อน
* ยิ่งผู้เอาประกันอายุน้อย การชำระเบี้ยยิ่งถูกค่ะ
* ควรทำความเข้าใจแบบประกัน ก่อนตัดสินใจซื้อ
การจัดการความมั่งคั่ง ความมั่งคั่งเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ปรารถนาที่จะมี แต่การจะมีความมั่งคั่งได้ การเงินควรมีสภาพคล่อง และ การโอนความเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากความมั่งคั่งเป็นเรื่องของการลงทุน ฉะนั้นเพื่อรักษาเงินลงทุนให้ปลอดภัย ควรทำตามข้างต้นค่ะ
ตัวอย่างที่ 1. นาย A ลงทุนในหุ้น หลังจากที่มีเงินสำรองฉุกเฉิน รวมถึงมีประกันสุขภาพแล้ว วันหนึ่งนาย A เกิดป่วยหนักจนต้องพักงาน แต่นาย A ไม่ได้กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เนื่องจากมีประกันสุขภาพดูแลค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลอยู่แล้ว และหากการพักงานนั้นไม่จ่ายเงินเดือน นาย A ก็มีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้ก่อนแน่นอน
ตัวอย่างที่ 2. นาย B ลงทุนในหุ้น โดยที่ยังไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน และยังไม่มีประกันใด ๆ เลย วันหนึ่งนาย B ป่วย ต้องเข้าโรงพยาบาลเหมือนนาย A แต่มีความกังวลที่มากกว่า เนื่องจากไม่มีเงินเก็บที่เป็นเงินสดเลย ดังนั้น สิ่งเดียวที่นาย B ทำได้ก็คือ ต้องขายหุ้นที่มี แล้วถอนเงินมาจ่ายค่ารักษา และค่าครองชีพที่ต้องใช้จ่ายขณะที่พักรักษาตัวอยู่บ้าน
ถึงแม้ว่าการลงทุนนั้นจะติดดอยอยู่ก็ตาม
การลงทุนเป็นเรื่องที่ต้องมีเป้าหมาย ต้องวางแผน เพื่อจะได้หาเครื่องมือทางการเงิน หรือผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการมากที่สุด
เช่น - เป้าหมายเพื่อจ่ายค่าเทอมลูกในอีก 6 เดือนข้างหน้า ควรเก็บไว้ในผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงต่ำ เนื่องจากต้องรักษาเงินต้นให้อยู่ครบ
- เก็บเงินแต่งงานในอีก 1 ปีข้างหน้า ควรเก็บไว้ในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงได้ในระดับกลาง เพื่อผลตอบแทนเล็กน้อย หรืออาจขาดทุนเล็กน้อยเช่นกัน
- เก็บเงินเพื่อการเกษียณในอีก 30 ปีข้างหน้า ควรเก็บไว้ในผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงสูง เนื่องจากมีระยะเวลาที่ยาวนาน จึงสามารถมีโอกาสในการออมและสามารถทำกำไรได้มาก
ทั้งนี้เราต้องประเมิความเสี่ยงก่อนการลงทุนทุกประเภท เนื่องจากแต่ละคนมีความสามารถรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน ซึ่งผลตอบแทนจะแปรผันตรงต่อความเสี่ยง หรือเรียกว่า
High risk high return.
* ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงขาดทุนต่ำ ผลตอบแทนมักต่ำด้วย
ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงขาดทุนสูง ผลตอบแทนมักสูงเช่นกัน
กรณีที่รับความเสี่ยงไม่ได้สูง แต่ไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง หากผลการดำเนินงานไม่เป็นไปดั่งใจหวัง ก็จะนำมาสู่ความเครียดที่สูงเช่นกัน ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำก่อนการลงทุนคือ การทำความเข้าใจ รู้ว่าเรากำลังจะลงทุนในอะไร หากมั่นใจแล้ว ก็ลุยเลยค่ะ!!
หวังว่าคุณผู้อ่านทุกท่านจะได้ความรู้กัน ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เริ่มวางแผนการเงินให้กับตัวเองได้แล้วค่ะ ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งได้เปรียบทางเวลา
*** ข่าวดี 🎊
สำหรับใครที่อยากให้สองวางแผนการเงินให้
เดือนนี้สองวางแผนให้ฟรี 20 คนค่ะ ตั้งแต่เรื่องการจัดการสภาพคล่อง จนถึงการวางแผนความมั่งคั่งค่ะ โดยสามารถกดลิ้งค์ด้านล่าง กรอกรายละเอียดเอาไว้ แล้วสองจะติดต่อกลับไปค่ะ
แล้วเจอกันค่ะ
ติดตาม พูดคุยได้ที่ช่องทางๆต่างค่ะ
โฆษณา