12 ม.ค. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“Survivorship Bias” อคติการลงทุน ที่สนใจแต่คนสำเร็จ
ในแต่ละวันชีวิตคนเราพัวพันอยู่กับการเลือก และการตัดสินใจ ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างการเลือกเสื้อผ้า, การตัดสินใจเลือกเส้นทางเดินทาง ไปจนถึงการตัดสินใจลงทุน
3
มีปัจจัยหลายอย่าง ที่มีผลต่อการตัดสินใจของเรา เช่น เหตุผล, อารมณ์, ประสบการณ์ รวมถึง Bias หรือ อคติ
แม้กระทั่งเหตุการณ์สำคัญอย่างสงครามโลก กองทัพฝ่ายพันธมิตรก็เกือบตัดสินใจผิดพลาด จากอคติที่เรียกว่า “Survivorship Bias”
Survivorship Bias คืออะไร ?
แล้วมันมีความเกี่ยวข้องกับการลงทุนอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งว่าในสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินรบของฝ่ายพันธมิตรหลายลำ ถูกโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม ซึ่งก็มีทหารหลายนายเอาตัวรอดกลับมาได้ แต่ก็มีอีกหลายนายเช่นกันที่ไม่รอด
ทำให้หลังจากนั้น กองทัพอากาศฝ่ายพันธมิตร ต้องการจะเสริมเกราะให้กับเครื่องบินรบ
แต่ด้วยทรัพยากรที่มีจำกัด รวมถึงน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหากเสริมเกราะมากเกินไป
จึงสรุปได้ว่า กองทัพจะเสริมเกราะเครื่องบินรบ เฉพาะในบางตำแหน่งเท่านั้น
1
โดยหลังจากกองทัพนำเครื่องบินรบที่รอดกลับมาวิเคราะห์ ก็พบว่า
1
เครื่องบินส่วนใหญ่ มีร่องรอยกระสุนกระจายไปทั่ว
โดยเฉพาะ บริเวณลำตัวและปีกของเครื่อง
แต่แทบจะไม่มีลำไหนเลย ที่มีร่องรอยกระสุนในบริเวณเครื่องยนต์ และห้องนักบิน
1
จากข้อมูลดังกล่าว ลองจินตนาการว่า ถ้าเราอยู่ในทีมพัฒนาเกราะเครื่องบิน
เราจะเสริมเกราะที่ส่วนไหนของเครื่อง ​?
1
จากการสำรวจส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า “ควรจะเสริมเกราะที่ลำตัว และปีกของเครื่อง”
เนื่องจากเป็นจุดที่โดนยิงมากที่สุด
แต่ อับราฮัม วัลด์ นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี ที่อยู่ในกองทัพขณะนั้น ได้เสนอความเห็นที่ต่างออกไป
เขามีความเห็นว่า แม้ลำตัวและปีกของเครื่องจะถูกยิงจำนวนมาก
แต่เป็นเพราะว่า “เครื่องยนต์ และห้องนักบินไม่ถูกยิง” ต่างหาก ที่ทำให้เครื่องบินเหล่านี้ยังกลับมาได้
หากจุดสำคัญทั้งสองนี้ถูกยิง ก็เป็นไปได้สูงที่เครื่องบินจะตก และไม่รอดกลับมาให้เราเห็น
5
จากความเห็นนี้ ทำให้สุดท้ายกองทัพอากาศ เลือกที่จะเสริมเกราะที่เครื่องยนต์ และห้องนักบินมากกว่าส่วนอื่น ๆ ซึ่งผลลัพธ์ในเวลาต่อมา ก็ทำให้สามารถรักษาชีวิตนักบินเอาไว้ได้อีกหลายชีวิต
2
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เกิดอคติทางความคิด เรียกว่า Survivorship Bias
หมายถึง อคติที่เราตัดสินใจอะไรบางอย่าง โดยดูจากข้อมูลที่เหลือรอดเป็นหลัก
แล้วเรื่องนี้เกี่ยวกับการลงทุนอย่างไร ?
2
ในโลกของการลงทุนนั้น
หากเราโฟกัสเฉพาะผู้ที่รอดชีวิต หรือเฉพาะคนที่ประสบความสำเร็จ
ก็อาจจะทำให้เราตัดสินใจ เลือกในสิ่งที่ดูดีเกินจริงได้ ยกตัวอย่างเช่น
- ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนเฮดจ์ฟันด์บางประเภท มักจะดูดีเกินจริง
เนื่องจากหลาย ๆ กอง ที่ขาดทุนจนต้องปิดตัวลง ไม่ถูกนำมาคิดในค่าเฉลี่ยนี้
2
- นักลงทุนมือใหม่อาจจะคิดว่าการลงทุนนั้นง่าย เพราะ YouTuber หรือนักเขียนหนังสือส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นแล้วว่าทำสำเร็จ แต่เราอาจจะลืมไปว่า คนที่ขาดทุน มักไม่ค่อยออกมาทำคลิป หรือเขียนหนังสือกัน
9
- ตัวอย่างคลาสสิก ที่หลายคนมักจะพูดว่า สตีฟ จอบส์, บิลล์ เกตส์ รวมถึง มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
แม้พวกเขาจะเรียนไม่จบมหาวิทยาลัย แต่ก็สามารถเป็นมหาเศรษฐีได้
เพราะฉะนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องเรียนให้จบก็ได้
แต่ความจริงแล้ว ก็ยังมีอีกหลายคนที่เรียนไม่จบ และไม่ประสบความสำเร็จด้วย
13
จากตัวอย่างเหล่านี้ ทำให้เห็นว่า แม้ว่าเราจะพยายามตัดสินใจ บนพื้นฐานของข้อมูลอย่างดี
แต่หลายครั้ง อคติบางอย่างก็อาจจะหลอกสมอง ให้เราตัดสินใจพลาดไปได้
2
ซึ่งนอกเหนือจาก Survivorship Bias แล้ว
ก็ยังมีอคติอีกหลายประเภท ที่มีผลต่อการตัดสินใจ และการลงทุน
ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ศึกษาอคติเหล่านั้น แล้วกลับมาสำรวจตัวเอง
เพื่อที่เราจะได้ระวัง และตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้นนั่นเอง..
1
Reference
โฆษณา