11 ม.ค. 2022 เวลา 16:31 • ความคิดเห็น
เท่าที่เคยถามอาจารย์มานานมาก เพราะสงสัยเหมือนกัน เริ่มจากอาจารย์แขก เป็นชื่ออาจารย์ท่านหนึ่งของเราแต่เป็นคนไทยที่ชื่อแขก เรียนวิชาอะไรจำไม่ได้ แต่ยังจำได้ว่า อาจารย์สอนอะไรบ้าง ก็ยังดีนะ
วันนั้นอาจารย์บอก คนไทยชอบดูละครหลังข่าว เพราะอะไร เพราะว่า จะได้ลืมเรื่องของตัวเอง ซึ่งก็เพลิดเพลินไปตามการสมมติของละคร คือคนลืมทุกข์ของตนไปชั่วขณะที่กำลังเพลิดเพลินกับการดู
อันนี้เราวิเคราะห์ว่า เหมือนคนโดนสะกดจิต ผ่านหนัง ผ่านละคร การดราม่าก็เลยถูกจำกัดความตั้งแต่ อุปนิสัยเปรียบเทียบของคนกับละคร แต่คนพูดคำนี้คือฝรั่ง แล้วคนไทยอย่างเราๆท่านๆก็ใช้ตาม เพราะถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางภาษากัน เข้าใจง่ายโดยไม่ต้องแปล
คนอื่นอาจมีนิยามแตกต่างกันไป แต่สำหรับเราถือว่า มาจากการเลียนแบบพฤติกรรม ไปมา คือละครก็เอาเค้าโครงมาจากอุปนิสัยของคน แล้วคนก็ไป copy มาจากละครอีกที คิดว่าแบบนี้นะ บางทีเรื่องตีไข่ใส่ข่าว ก็สร้างกระแสได้เหมือนกัน
คือคนไม่ยอมอยู่กับความจริง ไม่ยอมรับความเป็นไปของชีวิต เป็นการใช้อารมณ์เป็นเครื่องมือ รวมถึงการปั้นแต่ง พูดเอง เออ เอง อาจรวมถึงการพยายามใส่ร้ายป้ายสีให้อีกฝ่ายดูแย่ หรือเรียกว่าด้อยค่าคนอื่น อันนี้ก็ด้วย รวมแล้วมีวัตถุประสงค์ ก็เกิดการอาการ Drama ขึ้นมา
อารมณ์ของละคร ชิง รัก หัก สวาท หรือ ศึก ชิง นาง หรือ การ เลื่อย ขา เก้า อี้ ในที่ทำงาน เพื่อความอยู่รอด และอื่นๆตามวัตถุประสงค์ของตนเอง อะไรบ้างก็ว่าไป บางคนถึงขั้นลงทุนโกหก ใส่ร้ายคนอื่นต่างๆนานา คือ การ Drama แบบคนอื่นไม่รู้ ก็นึกไปตามคนเล่าคิดว่าเรื่องจริง คราวนี้ ใครโดน ลมเพลมพัด ของอารมณ์ ก็ว่ากันไป น่าสงสารทุกคนนะ มันโยงใยไปหมด
คนฟังก็คล้อยตาม นึกว่าจริง บางทีถึงกับตั้งวงวิพากษ์วิจารณ์คนในที่ทำงาน เพื่อหาข้อสรุปต่างๆ คือมันกลายเป็นกลับตาลปัตร เพราะคนไม่มีหลักคิด วิธีคิด เป็นบทพิสูจน์ของคน ความเป็นเหตุเป็นผล ของสังคมหายไป
ตั้งแต่เรามีอินเตอร์เน็ตใช้กัน คนก็ใจร้อน รอไม่เป็น มากขึ้น การดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป คนมุ่งหวังอยากได้ยอดวิว คลิกไลค์ ก็พยายามสร้างกระแส ให้คนเข้ามาดู เพราะปกติมนุษย์ก็อยากรู้อยากเห็นกันอยู่แล้ว ยิ่งเรื่องดารา เรื่องผัวเมีย เรื่องลูกของคนข้างบ้านหรือคนรู้จัก ก็ไม่พ้น ก็มาจากพฤติกรรมของสังคม
บางคนสร้างสรรค์ น่าชื่นชม บางคนก็หวังตามคิดไป แต่ที่แน่นอน คือ คนโดนป้อนข้อมูลผ่านทางสื่อ ให้นำตนเองไปสู่พฤติกรรมของการตัดสินใจเลือก จะใช้สินค้าอะไร ซื้ออะไร แพงแสนแพง ก็จ่ายได้ เพราะ รวย รวย เพื่อค่านิยมที่โดนปั่นขึ้น เช่นรสนิยม
การแบ่งคลาสของคน นี่ก็ Drama คือ มันไม่ได้มีจริง แต่คนก็กำหนดขึ้นมาเอง แบบโน้น แบบนี้ ท้ายสุด ทุกคนก็ตกเป็นผู้ต้องบริโภคสินค้า นึกออกมั้ย ใครรับทรัพย์ คือคนจับจุดคนถูก แล้วสร้างกระแสการบริโภคนิยม แต่บางเรื่องเราเองก็ยอมนะ เพราะชอบ เช่นกัน นะ แต่ยังไม่ถึงกับเห่อเหิม เกินทะยานอะไร เราเองก็ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสของความเปลี่ยนไปเช่น การกิน สินค้าบางตัว มีอะไรใหม่ๆให้ลอง ก็ลองไปค่ะ ชอบไม่ชอบอีกเรื่อง
โดยรวมแล้ว ไม่แน่ใจคนที่มีพฤติกรรม Drama กับคนที่ชอบเรื่อง Drama ส่วนใหญ่ก็คล้ายๆกัน ตรงที่สภาวะทางอารมณ์และวิธีคิด ของคนๆนั้นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองลอกเลียนมาจากอะไร
คนจึงโดนกำหนดด้วยสิ่งที่ตามองเห็นแล้วรับรู้ทางอารมณ์ เท่านั้น หากใครหลุดจากวงจรของอารมณ์พวก Drama เหล่านี้ได้ จะมีจิตที่มีความสุขแท้ และไม่ให้ความ Drama มาจูงตนเองได้
เราจะหลุดพ้นสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยการ ต้องมีข้อมูลให้มากพอ ในแต่ละเรื่อง และต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องด้วยนะคะ ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกใจ แล้วจะสามารถวิเคราะห์อะไรได้ถูกทิศถูกทาง และวางตัวถูก วางตัวเป็น
ความ Drama นี้มีมานานมาก แต่เรียกใช้คำอื่น เวลาผ่านไป คนก็ลืมสิ่งที่ผ่านมาแล้ว และต่อไป มนุษย์ก็เข้าสู่โลกเสมือนจริงกัน โดยหาทางออกมาได้ยากขึ้น และมนุษย์ก็จะลืมเรื่องราวของตนเอง ว่า ตนเป็นใคร และต้องทำอะไร และเกิดมาเพื่ออะไร และลืมไปเลยว่าต้องค้นหาตนเองให้เจอก่อน
โฆษณา