12 ม.ค. 2022 เวลา 01:53 • หุ้น & เศรษฐกิจ
5 เรื่องที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด
เมื่อถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลประจำปี
1. รายได้ไม่ถึง 150,000 บาท ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี
ความจริง คือ เงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี แต่อาจจะต้องยื่นภาษี
ดูความแตกต่างได้ที่นี่ครับ
2. ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว แปลว่าเสียภาษีเรียบร้อย ไม่ต้องยื่นภาษีอีกต่อไป
ความจริง คือ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว แปลว่าเสียภาษีล่วงหน้า ยังมีหน้าทีต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง
ถ้ากฎหมายไม่ได้ให้สิทธิ Final TAX หรือเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วจบไว้ อย่างเช่น ดอกเบี้ย หรือ เงินปันผล
3. ฟรีแลนซ์แปลว่าวิชาชีพอิสระ เป็นเงินได้ประเภทที่ 6 ตามกฎหมาย
ความจริง คือ ฟรีแลนซ์เป็นอาชีพอิสระ เป็นเงินได้ประเภทที่ 2 ตามกฎหมาย
1
วิชาชีพอิสระ คือ อาชีพที่มีใบประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง โดยกฎหมายกำหนดไว้ทั้งหมด 6 วิชาชีพ แพทย์ ทนายความ นักบัญชี วิศวกรรม สถาปนิก และประณีตศิลป์
ถ้าเป็นอาชีพที่ใช้แรงงานหรือทักษะเป็นหลัก เพื่อสร้างรายได้โดยไม่มีต้นทุนอื่น ๆ มากนัก เราเรียกว่าอาชีพอิสระ ไม่ใช่ วิชาชีพ
ข้อเสียของเรื่องนี้ คือ หักค่าใช้จ่ายได้น้อยเป็นจำนวนเท่ากับมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น นั่นคือ 50% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
4. ไม่มีเอกสาร ไม่สามารถยื่นภาษีได้ ความจริง คือ เราสามารถยื่นภาษีได้เลย แม้ว่าจะไม่มีเอกสารใดๆ ก็ตาม
เพราะว่า ตอนยืนภาษีใช้แค่การกรอกตัวเลข ยังไม่ต้องนำส่งเอกสารใดๆให้สรรพากร เมื่อสรรพากรสงสัยความถูกต้อง หรือในกรณีที่ขอคืนภาษีเงินได้ ถึงจะมีการตรวจสอบหลักฐานเพิ่มเติม
ดังนั้นยังต้องมีเอกสาร แต่สามารถยื่นก่อนได้ ถ้าหากเรามีข้อมูลเงินได้และอื่น ๆ ครบถ้วน
1
5. เราสามารถเลือกยื่นภาษี เฉพาะรายได้ที่ถูกหัก ณ ทีจ่าย หรือ เฉพาะรายได้บางประเภทได้
ความจริง คือ ถ้ารายได้นั้นไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี หรือได้รับสิทธิเลือกเสียหัก ณ ที่จ่าย แบบจ่ายครั้งเดียวจบ (Final TAX) เราต้องยื่นรายได้ทั้งหมดให้ถูกต้อง
คนหนึ่งคนสามารถมีรายได้หลายทาง แต่ต้องเอาทุกทางมายื่นภาษีให้ถูกต้องครับ
หวังว่าข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะมีประโยชน์ครับ
#TAXBugnoms #ภาษี #สรรพากร
5 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลประจำปี
โฆษณา