13 ม.ค. 2022 เวลา 03:27 • การเมือง
สหรัฐ-รัสเซีย-นาโต
4
โดย
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
10 มกราคม 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สหรัฐกับรัสเซียเจรจากันนานถึง 7 ชั่วโมง รัสเซียยืนยันว่าไม่มีแผนบุกอูเครนและเรียกร้องให้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโตหยุดขยายอิทธิพลไปทางตะวันออก
1
https://www.nytimes.com/2022/01/10/world/europe/russia-us-ukraine-talks.html
สหรัฐซึ่งเป็นหัวขบวนของนาโตตอบว่า “ไม่สามารถรับได้”  หมายความว่านาโตยืนยันที่จะขยายอิทธิพลไปทางตะวันออก สร้างความกังวลใจให้กับรัสเซียและจีนต่อไป
องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือจัดทำขึ้นโดยสอดคล้องกับมาตรา 51 และ 52 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การในระดับภูมิภาคเพื่อการป้องกันตนเองและการประสานงานกับสหประชาชาติในกรณีต่างๆ
สนธิสัญญาฉบับนี้มีเพียง 14 มาตรา กำหนดมาตรการในด้านการป้องกันร่วมซึ่งเป็นหัวใจของสนธิสัญญาไว้ในมาตรา 5
1
มาตรา 5 มีความว่า “ภาคีของสนธิสัญญาเห็นพ้องต้องกันว่า การโจมตีด้วยอาวุธต่อประเทศใดประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศในยุโรปหรืออเมริกาเหนือ จะถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทุกประเทศ
1
...ด้วยเหตุนั้น หากมีการโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้น ประเทศภาคีทุกประเทศโดยอาศัยสิทธิในการป้องกันตนเอง ทั้งโดยลำพัง และโดยร่วมกัน
...ตามความในมาตรา 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะช่วยเหลือประเทศภาคีที่ถูกโจมตี ทั้งโดยลำพังและโดยร่วมกับประเทศภาคีอื่นๆ ด้วยมาตรการที่เห็นว่าจำเป็น รวมถึงการใช้กำลังทหารเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพและความมั่นคงของเขตแอตแลนติกเหนือ”
ปัจจุบันนาโตมีสมาชิก 30 ประเทศ และมี MNNA หรือ major non-NATO ally  (พันธมิตรหลักนอกนาโต) อีก 18 ประเทศ หนึ่งในพันธมิตรหลักนอกนาโตมีชื่อราชอาณาจักรไทย อยู่ด้วย (ประกาศโดยจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐ เมื่อ ค.ศ.2003 (พ.ศ.2546))
1
รัสเซียไม่สบายใจกับนาโตเพราะหากตนมีปัญหากับสมาชิกประเทศหนึ่งประเทศใด นั่นหมายความว่า ทั้ง 30 ประเทศสามารถจะตั้งกองกำลังผสมชุมนุมสุมหัวเพื่อลุยกับรัสเซีย
2
นาโตพยายามนำประเทศที่เคยเป็นดินแดนของโซเวียตเข้าไปเป็นสมาชิก และประสบความสำเร็จแล้วหลายประเทศ อย่างลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย
1
หรือบางประเทศที่ในอดีตเคยใกล้ชิดกับโซเวียต ปัจจุบันก็กลายเป็นสมาชิกนาโตแล้ว เช่น เช็ก โครเอเชีย มาซิโดเนีย บัลแกเรีย โปแลนด์ มอนเตเนโกร โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย อัลแบเนีย และฮังการี
ผู้อ่านท่านนึกดูเถิดว่า ถ้าอนาคต ประเทศที่มีพรมแดนติดกับรัสเซียอย่างฟินแลนด์ อูเครน และจอร์เจีย เป็นสมาชิกนาโต หากสหรัฐและพวกแกล้งสร้างความขัดแย้งตามพรมแดนของประเทศพวกนี้ ก็มีความชอบธรรม ที่จะชุมนุมสุมศีรษะพากองทัพเข้าไปลุยรัสเซียได้แล้ว
โซเวียตเคยตั้งองค์กรเพื่อป้องกันการรุกรานของนาโต องค์กรที่ว่าคือสนธิสัญญาแห่งมิตรภาพ ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่เราเรียกกันอย่างง่ายๆ ว่า องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ หรือกติกาสัญญาวอร์ซอ หรือ Warsaw Pact ตั้งเมื่อ ค.ศ.1955
Warsaw Pact เคยเข้มแข็งมาก แต่มาอ่อนปวกเปียกเพราะนายกอร์บาชอฟสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (ให้เป็นประชาธิปไตย) ในประเทศสมาชิก โซเวียตไม่ใช้กองกำลังเข้าไปปราบปรามตอนที่มีความวุ่นวาย (เช่นความวุ่นวายในยุคของนิโคไล เชาเชสกู ผู้นำโรมาเนีย) ทำให้พวกประเทศสมาชิกรู้สึกว่าองค์การสนธิสัญญาวอร์ซออ่อนแอและไม่มีความสำคัญ
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) ที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมและต่างประเทศของชาติสมาชิก Warsaw Pact มาประชุมกัน และประกาศยุติการใช้กติกาสัญญาวอร์ซอเมื่อ 1 กรกฎาคม 1991 สิริอายุรวมขององค์การสนธิสัญญาวอร์ซอคือ 36 ปี ขณะที่นาโตซึ่งตั้งเมื่อ  4 เมษายน 1949 อยู่ยาวมาจนถึงปัจจุบัน 73 ปี
1
นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้นาโตพยายามเข้าไปแทรกแซงและช่วยเหลือประเทศที่มีพรมแดนประชิดติดกับรัสเซีย เพื่อที่ตนจะสามารถควบคุมรัสเซีย หรือทำให้รัสเซียแตกเป็นประเทศเล็กชาติน้อยได้ในอนาคต อย่างที่สหภาพโซเวียตเคยแตกมาแล้ว
รัสเซียก็พยายามขู่ประเทศที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย (อย่างเช่นอูเครน) ไม่ไห้เป็นสมาชิกนาโต
ผู้อ่านท่านที่เคารพครับ ทุกคน ทุกครอบครัว ทุกประเทศ ทุกองค์กรต่างก็ต้องดิ้นรนเพื่อความมั่นคงและความอยู่รอดปลอดภัยของตนเองทั้งนั้น.
1
โฆษณา