16 ม.ค. 2022 เวลา 04:11 • สุขภาพ
Milad Nazarzadeh และคณะจาก University of Oxford สหราชอาณาจักรซึ่งเข้าร่วมใน Blood Pressure Lowering Treatment Trialists' Collaboration (BPLTTC) ตรวจสอบผลการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยยาลดความดันโลหิตหลัก 5 ชนิดจากการศึกษาแบบ randomized controlled trial (RCT) ที่เลือกจากชุดข้อมูล BPLTTC จำนวน 19 การศึกษา และการวิเคราะห์แบบ meta-analysis ตาม individual participant data (IPD) มากกว่า 140,000 ราย จากนั้นประกาศผลการศึกษาลงในวารสาร The Lancet (2021; 398: 1803-10) พบว่า angiotensin converting enzyme (ACE) inhibitor และ angiotensin II receptor blocker (ARB) ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในขณะที่ beta blocker และยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide เพิ่มความเสี่ยง ส่วน calcium (Ca) antagonist ไม่มีผลต่อความเสี่ยง
systolic blood pressure ที่ลดลง 5 mmHg จะลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 11%
การลดความดันโลหิตด้วยยาลดความดันโลหิตและการปรับกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม เป็นวิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่บทบาทการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานยังไม่แน่ชัด
ดังนั้น Nazarzadeh และคณะจึงแยก RCT 19 การศึกษา (145,939 คน) ที่จะเปรียบเทียบผลป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างยาลดความดันโลหิตกับยาหลอก หรือยาลดความดันโลหิตที่แตกต่างกันจากชุดข้อมูล BPLTTC โดยติดตามผล 1,000 คนต่อปีขึ้นไป รวมเข้ากับการวิเคราะห์แบบ meta-analysis ขั้นตอนเดียวอิงจาก IPD ด้วยแบบจำลอง Cox proportional hazard model แล้วตรวจสอบผลการลดความดันโลหิตกับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบ placebo-controlled trial ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับการรักษา ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบเปรียบเทียบยาลดความดันโลหิตชนิดต่าง ๆ ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม (กลุ่มที่ systolic blood pressure (SBP) ลดลงเล็กน้อย) และกลุ่มที่ได้รับการรักษา
จากผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ป่วย 9,883 คนถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการติดตามผล (ค่ามัธยฐาน) 4.5 ปี (interquartile range 2.0 ปี)
- อุบัติการณ์ (1,000 คนต่อปี) ในกลุ่มควบคุมเท่ากับ 16.44 (95% CI 16.01 - 16.87)
- อุบัติการณ์ (1,000 คนต่อปี) ในกลุ่มที่ได้รับการรักษาเท่ากับ 15.94 (15.47 - 16.42)
แสดงให้เห็นว่า SBP ที่ลดลง 5 mmHg ช่วยลดการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึง 11% (hazard ratio 0.89, 95% CI 0.84 - 0.95)
|------------------------------------------|
📌เกาะติดข่าวสาร และข้อมูล เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลด! https://bit.ly/3AdzTeY 📲
The all in 1 application for Healthcare professionals.
📰 Medical News, Journals & research summary
👨🏽‍🎓 CPE/CME/CMTE/CPD
🎥 Medical Talk VDO
📲 Download for free now!
💛ทุกดาวน์โหลดคือกำลังใจในการทำงาน ขอบคุณค่ะ💛
|------------------------------------------|
ACE inhibitor และ ARB ทำให้ความเสี่ยงลดลง 16% ส่วน beta-blocker และยาขับปัสสาวะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 48% และ 20% ตามลำดับ
การวิเคราะห์แบบ meta-analysis ที่อิงข้อมูลจาก IPD ด้วย logistic regression model มีทั้งหมด 22 การศึกษา (167,107 คน) รวม RCT 3 การศึกษาที่ขาดข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาเกิดโรคเบาหวาน จากนั้นเปรียบเทียบผลของยาลดความดันโลหิตกลุ่มต่าง ๆ
จากผลลัพธ์พบว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอกแล้ว ACE inhibitor และ ARB ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ (relative risk (RR) 0.84, 95% CI 0.76 - 0.93 และ 0.84, 0.76 - 0.92 ตามลำดับ) ในขณะที่ beta blocker และยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ (1.48, 1.27 - 1.72 และ 1.20, 1.07 - 1.35 ตามลำดับ) ส่วน Ca antagonist (1.02, 0.92 - 1.13) ไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
นอกจากกลไกของการลดความดันโลหิตแล้ว กลไกการออกฤทธิ์อื่น ๆ ก็อาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน
จากข้อมูลข้างต้น Nazarzadeh และคณะสรุปว่า “ขณะนี้มีหลักฐานแล้วว่า การให้ยาลดความดันโลหิตอาจป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยที่ไม่เคยเป็นมาก่อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ACE inhibitor และ ARB ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นยาลดความดันโลหิตที่ให้ outcome ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน” และกล่าวเสริมว่า “นอกจากกลไกของการลดความดันโลหิตแล้ว กลไกการออกฤทธิ์อื่น ๆ ที่แตกต่างกันตามชนิดของยาลดความดันโลหิตอาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานได้”
นอกจากนี้ยังกล่าวว่า “เรายังไม่ทราบกลไกที่แน่นอนว่าความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2” และชี้ให้เห็นว่า “ภาวะดื้อต่ออินซูลิน การอักเสบของหลอดเลือด และ endothelial dysfunction ซึ่งมักจะเกิดขึ้นก่อนเป็นโรคเบาหวาน ทั้งหมดนี้เกิดจากความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุทางพยาธิสรีรวิทยา เช่น ภาวะดื้อต่ออินซูลินอาจมีบทบาทสำคัญในการ crosstalk ระหว่าง reaction pathway ของ metabolic system กับ cardiovascular system นอกจากนี้ยังมีการแสดงให้เห็นว่าการกระตุ้น sympathetic nervous และการอักเสบเรื้อรังที่นำไปสู่ endothelial dysfunction ยังเชื่อมโยงระหว่างความดันโลหิตสูงกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน” เขากล่าวอีกว่า “ผลกระทบของตัวกลางเหล่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดของยาลดความดันโลหิต”
ตามที่กล่าวไว้ renin-angiotensin system inhibitor เช่น ACE inhibitor และ ARB จะไปลดระดับ inflammatory marker และเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเบาหวานโดยไม่สัมพันธ์กับความดันโลหิตที่ลดลง หรือลดภาวะดื้อต่ออินซูลินโดยยับยั้ง reactive oxygen species ในทางกลับกัน พวกเขากล่าวเสริมว่า “การผลิตอินซูลินและ carbohydrate metabolism ใน beta blocker ที่เปลี่ยนแปลงไปและการขาดโพแทสเซียมในยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide อาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน”
ดูข่าวเเละบทความทางการเเพทย์ทั้งหมดที่เรามี ฟรี! ได้ที่ >> https://bit.ly/3AdzTeY
โฆษณา