16 ม.ค. 2022 เวลา 16:44 • อาหาร
"ขนมปังแพง ก็กินเค้กแทนสิ" ประโยคเสียดสีที่ไม่อาจหลีกหนีความจริงพ้น
สำนวนที่ว่า "ขนมปังแพง ก็กินเค้กแทนสิ" // "Qu'ils mangent de la brioche" // "Let them eat cake"
หลายๆคน จะทราบกันว่า "พระนางมารี อังตัวแน็ต" (Marie Antoinette) พระชายาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 หรือ พระราชินีของฝรั่งเศสในยุคนั้น โดยจะได้ทราบมาจากบทเรียนในตำรา นวนิยายต่างๆ เป็นประโยคที่พระเจ้าได้กล่าวเมื่อในยุคเศรษฐกิจของประเทศกำลังย่ำแย่ แต่เหล่าขุนนางยังกินดีอยู่ดี เหลือทิ้งเหลือขว้าง ไม่แย่ประชาชนถึงกับมีประโยคเช่นนนั้น พฤติกรรมเช่นนี้นำไปสู่การปฎิวัติฝรั่งเศสในปีค.ศ.1789 (พ.ศ. 2332)
แต่มีหลักฐานจากแหล่งอื่นกล่าวไว้ว่า คำพูดนี่ถูกบิดเบือนบ้าง พระนางไม่ได้ทรงตรัสเองบ้าง หรือการตีความผิดจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ ว่าจริงๆ แล้ว เค้กต่างหากที่แพงกว่าขนมปังฝรั่งเศส(ในยุคนั้น) หรืออาจจะเป็นเค้กชนิดอื่นหรือขนมปังแบบอื่น แต่สุดท้ายเหตุการณ์การปฎิวัติฝรั่งเศส แล้วพระนางถูกประชาชนจับไปประหารชีวิตด้วยเครื่อตัดหัวกิโยติน ก็เกิดขึ้นจริงอยู่ดี
ทำไมผมถึงกล่าวว่า เราไม่อาจหนีความจริงจากประโยคโบราณขนาดนี้ไปได้ เพราะในประเทศไทยถือว่ามีสังคมที่ไม่ได้มีฐานะดีมีมากกว่าชนชั้นฐานดี ถ้าไม่ถึงกับขั้นเศรษฐี แค่มีรายได้เฉียดแสนถึงหลักแสนต่อเดือน น่าจะมีประมาณ 10% ของจำนวนครอบครัวไทย หรืออาจจะน้อยกว่า (แค่ระดับนักการเมือง หรือคนมียศมีตำแหน่ง เงินเดือนอาจจะไม่เยอะ แต่พอค่าโน้นนี่นั้นเป็นรายรับเพิ่มก็ได้รวมหลายหมื่นบาทแล้ว) หมายความว่า เมื่อใดที่สิ่งอุปโภคบริโภคแพงขึ้น แม้แต่ระดับชนชั้นกลางยังรู้สึกเดือดร้อนเลย แต่ชนชั้นสูงล่ะ จะรู้สึกเหมือนกับผู้คนเหล่านี้ไหม
ผมว่าทุกคนน่าจะเห็นข่าวล่าสุด ราคาเนื้อหมูนั้น สูงขึ้นเป็นที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งปัจจัยมาจากหมูขาดตลาดเพราะเกิดโนคระบาดที่ทำให้หมูตาย แค่นั้นไม่พอ ยังมีของปัจจัยเรื่องต้นทุนอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นตาม สุดท้ายเนื้อหมูจึงมีราคาที่สูงขึ้นอย่างฉับพลัน และทุกคนน่าจะทราบคำพูดจากนักการเมืองท่านหนึ่งหรือคนอื่นๆที่น่าจะคิดเหมือนกัน ขอไม่เอ่ยนามแต่น่าจะทราบประโยคที่เขาพูดประมาณว่า “เนื้อหมูแพงให้ไปกินเนื้อไก่”
คำถามต่อมา คือ แล้วเนื้อไก่ถูกกว่าเนื้อหมูจริงหรือ? คำตอบคือไม่ได้ต่างกัน เพราะปัจจัยต้นทุนมาคล้ายๆกัน สุดท้ายสิ่งของเหล่านี้จำเป็นต้องขึ้นราคาตาม เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าอยู่รอด ยิ่งอาหารทะเลนะ ยิ่งแพงเข้าไปอีก แต่ถามกลับว่า มันไม่ใช่ทางเลือกเหรอ ใช่ครับ อย่างน้อยก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ถ้าเงินเราไม่พอ จะพยายามซื้อของที่แพงกว่ากำลังทรัพย์ของเราไปทำไม ถ้าไม่ใช่อาหาร ร้านเครื่องดื่มที่ราคาถูกกว่าก็มีในประเภทเดียวกัน ถ้าไม่ใช่ของกิน ของใช้อย่างอื่นก็เช่นเดียวกัน มีของแพงก็ย่อมมีของถูกเป็นตัวเลือกอยู่ดี
หลายคนก็ตามกระแสไปว่า ที่เขาพูดมาก็ถูกแล้ว ของอย่างอื่นแพงก็ต้องเลือกสิ่งที่ถูกกว่า แต่ประเด็นคือ ร้านอาหารที่เน้นแต่หมูอย่างเดียวล่ะ จะทำอย่างไร เช่น ร้านขายข้าวขาหมู ร้านข้าวเหนียวหมูปิ้ง ร้านหมูทอด เป็นต้น จะให้พวกเขาไปขายอย่างอื่นแทนก่อนเหรอ หรือให้หยุดพักกิจการจนกว่าราคาหมูจะลดลง ทำไม่ได้หรอกครับ คนเราต้องทำมาหากิน ถ้าร้านปิด ลูกค้าต้องเสียเวลาหาร้านใหม่ ถ้าเปลี่ยนรูปแบบอาหารไปเลย คิดว่าจะทำดีเหมือนกว่าที่เคยทำมาก่อนไหม สุดท้ายก็ต้องขึ้นราคาตาม มีแต่เสียกับเสียทุกๆฝ่าย
“ขนมปังแพงก็กินเค้กแทน”, “เนื้อหมูแพงก็กินเนื้อไก่แทน” ประโยคดังกล่าวหรืออะไรคล้ายๆกัน สุดท้ายเราก็หนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ ถ้าคุณยังพอมีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะจ่ายต่อไป มันก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร แต่ปัญหาคือ การออกมาพูดในเชิงลักษณะที่ว่า นั้นไม่ใช่ปัญหาของเรา(รัฐบาล)นะ เรื่องแค่นี้คิดแก้ปัญหากันเองไม่ได้เหรอ การพูดแบบนี้แหล่ะ ทำให้เกิดการปฏวัติฝรั่งเศส ยังดีที่ยุคนี้ไม่เหมือนกับยุคโน้น ไม่งั้นแค่คำพูดแค่นี้ก็อาจจะก่อจลาจลขึ้นมาได้
ดังนั้น เมื่อมีวิกฤติสินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้นอย่างผิดปกติ หรือแค่ชนชั้นรากหญ้ามีรายรับที่ลดลงจนไม่สามารถซื้ออาหารเพื่อดำรงชีวิตอย่างถูกสุขอนามัยได้ รัฐบาลควรมองเห็นหรือออกมาตรการที่ทำให้ระดับชนชั้นกลางเอง ยังพออุ่นใจได้ว่า รัฐบาลยังไม่ได้ทอดทิ้งพวกเขา อธิบายว่าทางรัฐกำลังทำอะไร ไม่ใช่พูดแบบ ไล่ให้กินอย่างอื่น ทำอย่างอื่นแทน เหมือนคนพูดไม่คิด หรืออาจะไม่ได้คิดเลยก็เป็นได้ เพราะพวกเขาไม่ได้เดือดร้อนนี่ สุดท้ายคำพูดพวกนี้ไม่ว่ายุคไหน หรือใครพูดก็ยังย้อนกลับมาที่คำพูดของพระนางมารี อังตัวแน็ต อยู่ดีว่า ถ้าคนมีตังค์ ของแพงมันจะทำไมล่ะ เราก็ไม่อยากเห็นการก่อจลาจลหรือปฏิวัติเพราะของกินแพงหรอกนะ
อย่างที่ผมบอกไป อย่างน้อย รัฐควรมองเห็นแล้วแก้ปัญหาทันที อย่างน้อยก็ตอบสื่อให้ชัดเจน ปัญหาพวกนี้มันเกิดขึ้นได้ทุกชาติ ทุกเวลา แต่ไม่ควรอ้างโน้นอ้างนี้ พูดตัดจบ เหมือนที่ผมว่า เหมือนคนพูดไม่คิดหรืออาจจะไม่ได้คิดอะไรเลย แก้ปัญหาให้ตรงจุด หรือยังแก้ไม่ได้ อย่างน้อยก็พูดอะไรที่บอกว่าเรากำลังแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ให้กลุ่มคนรากหญ้าเข้าใจได้ง่าย แค่นี้ก็ถือว่าแสดงศักยภาพของการเป็นผู้นำได้แล้ว (แต่ที่มีรถทหารเอาเนื้อหมูมาขายเอง แถมราคาถูกกว่ามาก กำลังสงสัยว่า เอามาจากไหน บอกว่า ทหารเลี้ยงเอง จริงเหรอ ในค่ายทหารมีพื้นที่ให้เลี้ยงหมูได้ด้วยเหรอ ได้รับการอนุญาตแล้วเหรอ แล้วจริงๆ หมูนั้นเป็นของทหารระดับชั้นไหน ถ้าของระดับชั้นสูง แล้วให้ทหารระดับชั้นผู้น้อยออกไปเล่ขาย พวกเขาจะได้อะไรไหม หรือมองว่าเป็นการบริการชุมชน ไม่หวังผลกำไร เป็นหทารต้องเสียสละ แบบนั้นเหรอ อันนี้สงสัยจริงๆ)
สุดท้ายสิ่งที่เราหนีมันไม่ได้อีกอย่าง คือ สภาพเงินเฟ้อ เงินเฟ้อคือการที่รายจ่ายมันเพิ่มขึ้นทั้งๆที่รายรับเท่าเดิม มีทุกประเทศแถมจะขึ้นประมาณ 15% ต่อปีด้วยซ้ำ แล้วหลายประเทศแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยการอัดฉีดเงินเข้าไป ทำให้คนมีรายรับไปสู้กับรายจ่าย แบบนั้นเงินเฟ้อก็จะขึ้นเป็นเงาตามตัวอยู่ดี ยังไงก็หนีมันไม่พ้น ถ้าสภาพเงินเฟ้อยิ่งมาไวเท่าไหร่ คนจะจนเพิ่มขึ้นไปอีก ดีไม่ดี คนชนชั้นสูง อาจจะลงมาเป็นคนชนชั้นกลางเลยก็เป็นได้
อย่างน้อยรัฐบาลก็ไม่ควรปล่อยปะละเลยทุกปัญหาที่เกี่ยวกับปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภค จนเปิดปัญหาบานปลาย ถ้ารัฐบาลสามารถทำให้ต้นทุนหลักมีมูลค่าที่ต่ำลงได้ อย่างน้อยคือ เรื่องค่าน้ำมัน นี่ชัดเจนมาก ราคาสิ่งของที่ต้องพึ่งพาต้องทุนมันจะลงของมันเอง อย่างน้อยก็สู้กับด้วยราคาที่ถูกลงโดยที่ไม่เจ็บตัวกันมาก ไม่ใช่แข่งกันแต่ลดราคา จนสุดท้ายลดจนไม่มีกำไร เราก็ไม่อยากให้เรื่องเงินเฟ้อจะมาถึงตัวเร็วกว่าเดิม จนเงินเก็บของพวกท่านร่อยหรอลงไป บางคนอาจจะยังไม่รู้ตัว แต่เมื่อไหร่ที่คุณต้องผ่อนบ้านผ่อนรถ ส่งลูกไปเรียนระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ คุณอาจจะรู้ตัวอีกทีว่า เงินฉันหายไปไหน
ตอนนี้ คงยังไม่มีใครออกมาบอกว่า “ถ้าน้ำมันแพง ก็ไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าสิ” หรอกนะ
โฆษณา