18 ม.ค. 2022 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วันนี้แล้ว! แต่มองตาเปล่าไม่เห็นหรอกนะ แต่หากใครมีกล้องโทรทรรศน์ก็ลองดู
ดาวเคราะห์น้อยขนาดมหึมา ซึ่งมีมวลมากกว่าตึกเอ็มไพร์สเตทสองตึกกำลังมุ่งหน้ามาทางโลกเรา แต่นั่นไม่เหมือนกับดาวหางนักฆ่าดาวเคราะห์เหมือนในเรื่อง Don’t Look Up หรอกนะ หินอวกาศก้อนนี้จะผ่านโลกไปโดยไม่เป็นอันตราย แต่ก็เฉียดใกล้พอสมควร
ดาวเคราะห์น้อยก้อนนี้ หรือเรียกว่า (7482) 1994 PC1 จะเคลื่อนผ่านจุดที่ใกล้ที่สุดในวันที่ 18 ม.ค. เวลา 16.51 น. EST (2151 GMT) มันเดินทางด้วยความเร็ว 43,754 ไมล์ต่อชั่วโมง (70,415 กม./ชม.) และจะพุ่งผ่านโลกในระยะ 0.01324 หน่วยดาราศาสตร์ เท่ากับ เกือบ 2 ล้านกิโลเมตร ตามรายงานของ Solar System Dynamics (SSD) ของ NASA JPL-Caltech
ฟังดูเหมือนจะเป็นระยะห่างที่ปลอดภัยพอสมควร ซึ่งก็ปลอดภัยจริงๆนั่นแหละ แต่ตามมาตรฐานจักรวาล ถือเป็นวัตถุขนาดใหญ่พอสมควรที่เข้าใกล้เรา ซึ่งนานๆทีจะเกิดขึ้น ดาวเคราะห์นี้มีขนาดยาวประมาณ 3,609 ฟุต (1,100 เมตร) และแม้ว่าจะไม่มีอันตรายจากการชนกับโลก แต่ NASA ก็จำแนกมันไว้ในหมู่วัตถุที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งดาวเคราะห์ที่จะอยู่ในกลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ความยาวมากกว่า 460 ฟุต (140 ม.) และมีวงโคจรที่พาพวกเขาไปได้ภายใน 7.5 ล้านกม. จากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ตามรายงานของ Asteroid Watch ของ NASA
นอกจากนี้ดาวเคราะห์น้อยที่กำลังใกล้เข้ามายังเป็นส่วนหนึ่งของหินอวกาศประเภทใหญ่ที่เรียกว่าวัตถุใกล้โลก (NEOs) ซึ่งแล่นผ่านภายในโคจรประมาณ 50 ล้านกิโลเมตร จากเส้นทางการโคจรของโลก โครงการสังเกตการณ์ NEO ของ NASA จะค้นหา ระบุ และกำหนดลักษณะของวัตถุเหล่านี้ โดยกล้องโทรทรรศน์ได้สำรวจพบ NEO ประมาณ 28,000 ก้อนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 460 ฟุต และมีการเพิ่มการพบเห็นใหม่ๆประมาณ 3,000 ครั้งในแต่ละปี ตามรายงานของ Center for Near Earth Object Studies (CNEOS)
“แต่ในขณะที่กล้องโทรทรรศน์สำรวจขนาดใหญ่และก้าวหน้าขึ้นนั้น ได้เร่งความเร็วของการค้นหาในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า และจะทำให้การค้นพบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว”
เมื่อผู้สังเกตการณ์ตรวจพบดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางใกล้โลก นักวิทยาศาสตร์จะวิเคราะห์วงโคจรของวัตถุเพื่อประเมินว่ามันจะเข้าใกล้โลกมากแค่ไหน (เหมือนในเรื่อง Don't look up เลย ที่นักวิทยาศาสตร์จะหาค่าความเร็ว ขนาด และทิศทางในการพุ่งของดาวเคราะห์ว่ามันไปไหน ความเร็วเท่าไหร่) แม้ว่าดาวเคราะห์น้อยและดาวหางหลายพันดวงกำลังเคลื่อนตัวรอบๆระบบสุริยะ แต่วัตถุในฐานข้อมูลของ CNEOS นั้นจะไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามร้ายแรงในอีก 100 ปีข้างหน้าหรือมากกว่านั้น NASA กล่าว
นักดาราศาสตร์ Robert H. McNaught เป็นคนแรกที่พบดาวเคราะห์น้อย (7482) 1994 PC1 เมื่อวันที่ 9 ส.ค. ค.ศ. 1944 จากนั้นนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆก็ติดตามการเดินทางครั้งก่อนของมัน ผ่านย่านจักรวาลของเราโดยการใช้การสังเกตของ McNaught เพื่อคำนวณเส้นทางการโคจร ความเร็ว และวิถีของดาวเคราะห์น้อย พวกเขาพบว่าดาวเคราะห์น้อยโคจรรอบดวงอาทิตย์ทุกๆ 572 วัน และตรวจพบและปกป้องจากผู้มาเยือน (ที่เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น) จากกล้องโทรทรรศน์ย้อนหลังไปถึงปีค.ศ. 1974 ตามรายงานของ EarthSky และในวันที่ 18 มกราคมนี้ หากวิสัยทัศน์ดี ดาวเคราะห์น้อยจะสว่างพอที่จะมองเห็นได้ในพื้นที่ท้องฟ้ามืดในเวลากลางคืนด้วยกล้องโทรทรรศน์ รายงานจาก EarthSky
มีการรายงานเพิ่มเติมว่า มันจะเข้าใกล้ที่สุดคือวันที่ 18 ม.ค. นี้และวันที่ 17 อาจเริ่มเห็นมันได้บ้าง โดยมันจะแล่นผ่านโลกเป็นระยะทางประมาณ 699,000 ไมล์ (1.1 ล้านกม.) และจะไม่มาใกล้ชิดกับเราอีกจนถึงปีค.ศ. 2105 ตามรายงานของ SSD
ครั้งหนึ่งเคยมีดาวเคราะห์ที่เกือบพุ่งชนโลกเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2017 ชื่อดาวเคราะห์ว่า 3122 ฟลอเรนซ์ (1981 ET3) ซึ่งมีขนาดความกว้างประมาณ 2.5 - 5.5 ไมล์ และมันจะผ่านมาอีกครั้งในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2057
สามารถติดตามการเดินทางของดาวเคราะห์ได้ที่ Earthsky และในเดือนกันยายนปีนี้ทาง Nasa จะเริ่มทดลองใช้มาตรการนำยานอวกาศพุ่งชนดาวเคราะห์เพื่อเปลี่ยนการเคลื่อนที่ในอวกาศ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทดสอบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเบี่ยงเบนการชนของดาวเคราะห์น้อย
ยานอวกาศที่รู้จักกันในชื่อภารกิจ DART หรือ Double Asteroid Redirection Test ยานอวกาศจะมุ่งเป้าไปที่ Dimorphos ซึ่งเป็นดวงจันทร์ขนาดเล็กที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อย Didymos ที่อยู่ในรัศมี 30 ล้านไมล์ (48 ล้านกิโลเมตร) จากโลก
การตรวจจับภัยคุกคามของวัตถุใกล้โลกหรือ NEO ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงเป็นจุดสนใจหลักของ NASA และองค์กรอวกาศอื่นๆ ทั่วโลก ณ ขณะนี้ ในอนาคตอาจจะได้เห็นวิธีการปกป้องโลกจากดาวเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อปกป้องอารยธรรมของมนุษย์
โฆษณา