18 ม.ค. 2022 เวลา 07:09 • ความคิดเห็น
อันดับแรก ชาวนามีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย รัฐบาลไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างตลอดหัวตลอดหาง หมายถึง การขาดการจัดการในการช่วยเหลือให้เกิดประสิทธิผล และช่วยเหลือเศรษฐกิจของชาวนา
คุณภาพของกรมเกษตรนั้น ไม่ได้เป็นตัววัดความสำเร็จของชาวนา ในเรื่องรายได้
การปลูกข้าว ในเชิงวิชาการและการวิจัย ของประเทศไทย ได้รับว่ามีประสิทธิภาพมาก ที่สามารถ มีพันธุ์ข้าว ปลูกง่าย โตไว และอร่อย หลายสายพันธุ์ ถือว่าเก่งมาก ต้องชื่นชมค่ะ แต่ชาวนาก็ยังต้องพึ่งพากลไก การตลาด และการผลิตข้าวในระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประกันราคา หรือจำนำข้าว ล้วนเป็นเรื่องปลายเหตุ แต่มีบทบาทเป็นความหวังของชาวนาโดยแท้ ขณะเดียวกันก็นำมาใช้เล่นเกมส์ทางการเมืองได้ เพราะเงินมันมหาศาล
ปัจจัยในการผลิต หากปรับเปลี่ยนมาใช้ การปลูกแบบอินทรีย์ จะเกิดความยั่งยืนในคุณภาพของดิน และคุณภาพของข้าว แต่ชาวนาส่วนใหญ่ยังคงได้รับอิทธิพลของร้านขายปุ๋ย ร้านผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตรหรือการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆของการตลาดอยู่มาก
ควรช่วยดูแลเรื่องปุ๋ยอินทรีย์โดยจัดระบบให้ทั่วถึง เช่นชาวนาทำใช้เองจากเศษพืชและอาหาร และภาครัฐเพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการ
ในลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบไทย จึงทำให้ชาวนาต้องพยายามดิ้นรน ทำให้เกิดรายได้ด้วยตนเอง ถามว่าจะให้เกิดมากขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อมีแต่การทำนาเพียงอย่างเดียวตลอดทั้งปี แล้วชาวนาต้องพึ่งราคาจากหน้าไซโลต่างๆที่กำหนดราคาการรับซื้อ แล้ว โรงสีก็นำไปขายให้รัฐบาลหรือเอกชนอีกต่อหนึ่งด้วยราคาตลาด ก็ไม่ทราบว่า รัฐบาลเองปล่อยให้เกิดกลไก การเอารัดเอาเปรียบของคนกลางขึ้นมาเอง ก็ต้องมองไปแบบตรงๆคือรัฐบาล
การทำงานแบบเชิงรุก คือการแก้ไขปัญหาระบบ การซื้อข้าวจากชาวนา โดยตรงโดยรัฐบาล แล้วค่อยปล่อยสู่ตลาด ควรมีมานานแล้ว ข้าวเป็นพืชที่เป็นอาหารหลักของประเทศ หากมีการตั้งกระทรวงข้าวและพืชทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมา อาจยกระดับ กรมการค้าข้าว ขึ้นมาก็ได้ แต่ต้องปรับแผนกลยุทธ์ขึ้นมา เป็นเชิงรุก โดย ให้ใส่นโยบายการซื้อข้าว จากผลผลิตชาวนาโดยตรง ตามราคาของตลาด และเน้นการปลูกข้าวปุ๋ยอินทรีย์ มากขึ้น ในปีต่อๆไป ชาวนาจะได้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากที่นาเท่าเดิม อันนี้ทำได้แน่นอน แล้วรายได้ชาวนาจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนเป็นที่น่าพอใจเลยทีเดียว
ขณะเดียวกันในภาครัฐ ต้องเตรียมเงินอุดหนุนชาวนา ในช่วงต้น ในการปรับยุทธวิธีการปลูกด้วย โดยไม่ให้ชาวนาเผชิญหน้าภัยแล้ง แมลง หรือปัญหาน้ำและอื่นๆตามลำพังหรือตัวใครตัวมัน การทำปุ๋ยอินทรีย์เอง ขั้นตอนการหมัก และการนำสิ่งที่เป็นวัตถุดิบทางธรรมชาติ เข้ามาใช้ในการปลูก จะทำให้เกิดการประหยัดรายจ่ายในขั้นตอนของการผลิตข้าวอย่างมหาศาล ซึ่งอันนี้ ทางภาครัฐต้องเข้มแข็งพอที่จะยืนหยัดให้ใช้วิธีการดังกล่าว เป็นมาตราการป้องกัน ไม่ให้เข้าไปสู่กับดักทางการตลาด ที่ต้องซื้อปุ๋ย หรือยาฆ่าแมลงต่อไป อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆนะ เงินมหาศาลมากเช่นกัน
การมีสวัสดิการให้ชาวนาและครอบครัวที่ปลูกข้าว ควรมีเพื่อ ไม่ให้ชาวนาต้องเข้าไปในระบบการกู้หนี้ยืมสิน ระหว่างรอผลผลิต อันนี้จะสามารถช่วยครอบครัวชาวนาได้โดยตรง จริงอยู่ว่าต้องเตรียมงบประมาณไว้มาก แต่ในระยะยาวถือว่าคุ้มค่า ที่จะสามารถยกระดับรายได้และพัฒนารายรับให้ชาวนาอย่างยั่งยืนได้ และเป็นการยกระดับฐานะของชาวนาให้มั่งคั่งขึ้นได้ แน่นอน
อยู่ที่ว่าใครจะนำเรื่องนี้ขึ้นมาทำ
จะขอกราบงามๆ
โฆษณา