18 ม.ค. 2022 เวลา 09:18 • สุขภาพ
🦠🦠🦠🦠ผู้ป่วยโครวิด พบภาวะแทรกซ้อนของร่างกายในหลายๆระบบค่ะ
รศ. นพ. ธีระ วรธนารัตน์ ท่านได้เผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญไว้ดังต่อไปนี้ค่ะ
ผู้ติดเชื้อโครวิด จะมีอาการของโรคนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่งหลังจากหายแล้ว โดยที่จะเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือไม่ก็ตาม อาการเหล่านี้ได้แก่
🦠 1 ใน 3 จะมีอาการเหนื่อยล้า ร่างกายจะอ่อนเพลีย
🦠 1 ใน 5 จะมีปัญหาด้านความจำ
🦠 จะพบในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย 1.5 เท่า
🦠 เป็นในผู้ใหญ่ มากกว่าเด็ก 3 เท่า
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นว่า อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เป็นอาการทางด้านร่างกายเรา ซึ่งอาจทำให้ผู้ติดเชื้อไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติที่เคยทำได้ และเมื่อดูจำนวน พบว่าสูงถึง 1ใน 3 นั่นคือ ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะไม่สามารถปฏิบัติงานต่างๆในชีวิตประจำวัน และ การงานที่เป็นอาชีพได้เหมือนปกติ
 
นอกจากประสิทธิภาพของร่างกายลดลงแล้ว ยังมีผลทางสมองอีกด้วย นั่นคือ ความจำที่ลดลง ซึ่งสัดส่วนที่พบก็ไม่น้อย พบถึง 1 ใน 5
เมื่อเทียบสัดส่วนกับผลกระทบทางด้านร่างกายแม้จะน้อยกว่าก็ตาม แต่ยังเป็นสัดส่วนที่สูงอยู่ดี และย่อมส่งผลในการประกอบอาชีพอย่างแน่นอน เพราะทั้งร่างกายและสมองมีประสิทธิภาพลดลง
เป็นที่น่าสังเกตว่า เกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และเกิดในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นเพราะสาเหตุใด
🦠🦠🦠นอกจากนี้อาจารย์ยังได้ให้ข้อมูลในเรื่องของผลต่อระบบประสาทไว้ดังนี้ค่ะ
จากข้อมูลของอาจารย์ พบว่าผู้ป่วยโครวิด หลังจากรักษาหายแล้ว ในกลุ่มอายุ 30-59 ปี จำนวน 30% พบปัญหาทางระบบประสาทยาวนานต่อไปอีกประมาณ 3-9 เดือนทีเดียว อาการเหล่านี้ได้แก่
🦠เวียนศีรษะ บ้านหมุน
🦠 ซึมเศร้า
🦠 ความจำไม่เหมือนเดิม
อาการเหล่านี้ อาจเป็นๆหายๆค่ะ
จากข้อมูลอาการทางระบบประสาทนี้ มีผลต่อการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก เช่น อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ที่อาจเป็นๆหายๆนทน 3-9 เดือน อาจส่งผลให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ในหลายๆอาชีพ ย่อมสร้างปัญหาชีวิตมากขึ้นไปอีก
อาการซึมเศร้า ที่เป็นผลของโครวิด ก็อาจมีอาการเพิ่มขึ้นจากการที่ร่างกายและสมองด้อยประสิทธิภาพลงก็ได้อีก และถ้าซึมเศร้ามากๆอาจนำไปสู่การทำร้ายตนเอง ซึ่งมีข่าวให้ได้เห็นบ้างแล้ว
ในส่วนของความจำที่ไม่เหมือนเดิมนั้น ย่อมมีผลในชีวิตประจำวันและการงาน เช่นงานที่ต้องใช้ความจำ ความรวดเร็วของการตัดสินใจ เป็นต้น
🦠🦠🦠ดังนั้น การป้องกันเพื่อไม่ให้ติดโครวิด จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ เราควรปฏิบัติตามหลักการที่ถูกต้องนะคะ 🦠🦠🦠
อ้างอิงจาก : ข้อมูลของท่านอาจารย์ รศ. นพ. ธีระ วรธนารัตน์ จาก Thai PBS news และ
จากคม ชัด ลึก
โฆษณา