19 ม.ค. 2022 เวลา 11:00 • ปรัชญา
ปกติแล้วเวลาที่เกิดวิกฤติ น้อยคนนักที่จะมองเห็นโอกาสที่จะพลิกทั้งชีวิตของตัวเอง ซึ่งไม่แปลก เพราะตัวเองกำลังเจอปัญหา จะมีอารมณ์ไหนไปคิดเรื่องอื่นอย่างทำธุรกิจ จริงไหม?
แต่นั่นไม่ใช่กับ จอช ออปเปอร์แมน (Josh Opperman) ผู้พลิกวิกฤติชีวิตอย่างการถูกแฟนทิ้ง ให้กลายมาเป็นธุรกิจค้าแหวนร้อยล้านในชื่อ "I DO NOW I DON'T"
จอชผู้นี้เป็นใครและเขาสร้างธุรกิจเงินล้านได้ยังไง WDYMean จะเล่าให้ฟังครับ
เรื่องของเรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 2007 ที่เมืองนิวยอร์ก เมื่อจอช ออปเปอร์แมน หนุ่มอเมริกันบ้านๆ คนหนึ่งกลับมาถึงบ้านและพบว่า แฟนสาวสุดที่รักที่หมั้นกันมาได้ 3 เดือน ทิ้งเขาไปเสียแล้ว
โมเมนต์นั้นถามว่าเหนื่อยงานไหมก็คงเหนื่อย แต่คงจะเหนื่อยใจมากกว่าที่แฟนเก็บข้าวของออกจากบ้านโดยไม่บอกลา(หรือบอกเลิก)กันสักคำ
1
แต่ถึงกระนั้นอดีตแฟนสาวของเขาก็ยังใจดี ทิ้งแหวนหมั้นที่เขาเป็นคนสวมมันให้วางไว้อยู่บนโต๊ะ ซึ่งถ้าเป็นคนอื่นก็คงเลือกที่จะเก็บ เอาไว้ระลึกถึงความทรงจำดีๆ แต่กับจอชผู้นี้ ไม่ เขาเลือกจะตรงดิ่งไปร้านรับซื้อแหวนและขายมันทิ้งในทันที
1
เมื่อมาถึงร้านรับซื้อ เขาพบว่าเจ้าของร้านกดราคาแหวนเขาซะต่ำเตี้ยเรี่ยดิน คือโดนกดจนเหลือแค่ หนึ่งในสาม ของราคาที่เขาซื้อมา ซึ่งไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย แต่ไม่ว่าจะไปร้านไหนก็ยังโดนกดราคาแทบจะติดดินอยู่ดี
4
จอชเองรู้สึกท้อเหมือนกันที่เขาต้องเจอเรื่องหดหู่ซ้ำซ้อน แต่จะทำยังไงได้ ก็ชีวิตมันต้องเดินต่อไป
ระหว่างที่กำลังนั่งเศร้า จอชเริ่มจะคิดอะไรได้จากการถูกกดราคา
เขามองไปรอบตัวและเริ่มเข้าใจสถานการณ์ว่า ไม่ใช่เขาคนเดียวแน่ๆ ที่โดนแบบนี้ ทุกคนที่มีแหวนอยากจะขายย่อมต้องโดนกันหมด ส่วนฝั่งคนจะซื้อแหวน ร้านขายแหวนที่เพิ่งรับซื้อไปก็ย่อมต้องขายราคาแพงเพื่อเค้นเอากำไร พาให้ทั้งฝั่งคนซื้อและคนขายหนักใจไปตามๆ กัน
1
เขาปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่า ถ้าเป็นเขาที่เข้าไปอยู่ตรงกลางล่ะจะเกิดอะไรขึ้น? ถ้าเขาทำให้ฝั่งซื้อได้ซื้อในราคาที่คิดว่าใช่ และฝั่งคนขายได้ในราคาที่เป็นธรรม มันจะเป็นยังไง?
1
จอชรีบเอาไอเดียนี้ไปบอกน้องสาวเขา มารา ออปเปอร์แมน (Mara Opperman) ซึ่งมาราเองก็เห็นด้วย ทั้งคู่จึงไม่รอช้าตั้งบริษัทรับซื้อขายแหวนขึ้นมาในชื่อของ I DO NOW I DON'T หรือ "IDNID"
2
คอนเซ็ปต์ของ IDNID คือ เป็นตัวกลางให้คนที่อยากขายและซื้อแหวนได้โดยตรง โดยมีรายได้จากค่าคอมมิชชั่น ที่จะแพงที่สุดถ้าสินค้าราคาต่ำ และต่ำที่สุดถ้าสินค้าราคาสูง จากนั้นก็ให้คนอยากซื้อมาเลือก
3
เมื่อคนอยากซื้อ matched กับคนอยากขาย ฝั่งคนขายก็มีเวลา 7 วันที่จะส่งของมาให้ทาง IDNID และทาง IDNID ก็จะตรวจสอบอัญมณีว่าเป็นของแท้หรือไม่โดยผู้เชี่ยวชาญ ก่อนจะส่งของไปให้ฝั่งคนซื้ออีกทอดหนึ่ง
ความเจ๋งของเรื่องนี้คือ จอช ออปเปอร์แมน สามารถสร้างรายได้จากค่าคอมมิชชั่นกว่าปีละ 3 ล้านดอลล่าร์ หรือราวๆ 100 ล้านบาท และยิ่งช่วงปี 2008 เกิดวิกฤติซับไพร์ม คนจำนวนไม่น้อยก็เอาของมีค่ามาลงขาย ยิ่งทำให้ธุรกิจ IDNID กำไรยิ่งๆ ขึ้นไปอีก
2
ภาพจาก idonowidont.com
ทุกวันนี้ I DO NOW I DON'T คือตัวอย่างของธุรกิจ sharing economy ที่เน้นการเติบโตแบบแบ่งปัน คือเจ้าของแพลตฟอร์มได้ประโยชน์ คนซื้อได้เพิ่มตัวเลือก และคนขายได้ราคาที่ถูกใจ ซึ่งนี่คือคีย์ที่จะทำให้ธุรกิจนั้นๆ ไปต่อได้ยาวๆ
ส่วนชายที่ชื่อ จอช ออปเปอร์แมน เขาคือหนึ่งในตัวอย่างที่ดีมากๆ สำหรับเรื่องวิกฤติและโอกาสอย่างแท้จริง คงไม่มีใครคาดคิดว่าโดนแฟนทิ้งจะทำให้รวยร้อยล้านได้ แต่เขาทำได้
2
จากการที่เริ่มต้นง่ายๆ ที่เห็นปัญหาตัวเองและแก้ปัญหาตัวเอง ต่อยอดไปเห็นคนอื่นที่เจอปัญหาแบบเดียวกัน และนั่น นั่นคือโอกาส เมื่อเขาใช้โอกาสนั้นแก้ปัญหาให้คนจำนวนมากๆ พร้อมกันได้ ทรัพย์ก็จะพากันหลั่งไหลมาเทมาในที่สุด
2
"ใจร่มๆ และใจเย็นๆ แล้วจะมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ในวิกฤติได้ไม่ยาก" น่าจะเป็นข้อคิดที่ผมสรุปได้จากชายขายแหวนผู้นี้ครับ อ้อ และที่สำคัญ "อย่ามัวโทษแต่โชคชะตาซะล่ะ!"
4
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของจอช ออปเปอร์แมน ชายผู้สร้างธุรกิจแหวนร้อยล้าน จากแหวนหมั้นที่แฟนเก่าทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า
หวังว่าบทความนี้จะมีไอเดียที่พอจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ
1
ขอบคุณที่อ่านบทความนี้จนจบครับ
#WDYMean
#อ้างอิงจาก
โฆษณา