20 ม.ค. 2022 เวลา 01:31 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
𝗪𝗵𝗮𝘁 𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗴 𝗶𝘀 𝗿𝗲𝗾𝘂𝗶𝗿𝗲𝗱 𝗶𝗻 𝘁𝗵𝗲 𝗖𝗹𝗲𝗮𝗻𝗿𝗼𝗼𝗺 𝗩𝗮𝗹𝗶𝗱𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 ?
การตรวจสอบที่จำเป็นสำหรับห้องสะอาด (Cleanroom)
𝗖𝗹𝗲𝗮𝗻𝗿𝗼𝗼𝗺 𝗩𝗮𝗹𝗶𝗱𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻
จากบทความ Cleanroom Validation and Testing หรือขั้นตอนการตรวจสอบห้องสะอาด (Cleanroom) เบื้องต้น
วันนี้เราจะมาเจาะลึกไปถึงแต่ละประเภทการทดสอบ หรือตรวจสอบห้องสะอาดที่จำเป็นและถูกต้องตามมาตรฐาน มีดังต่อไปนี้ครับ
𝟭. 𝗔𝗶𝗿𝗳𝗹𝗼𝘄 𝗼𝗿 𝘀𝗺𝗼𝗸𝗲 𝘁𝗲𝘀𝘁
การตรวจสอบห้องสะอาดแบบใช้ควัน หรือการไหลของอากาศ
สำหรับการประเมินค่าพารามิเตอร์นี้ จะใช้อุปกรณ์เพื่อสร้างควันที่เราสามารถมองเห็นทิศทางการไหลของควันได้บริเวณด้านหน้าตัวกรอง HEPA
หรือในบริเวณที่ต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ วัตถุ ในห้องสะอาด ในขั้นตอนนี้จะมีผู้สังเกตุ เก็บข้อมูล และบันทึกการกระจายของควัน ซึ่งรูปแบบการไหลของควันจะต้องสม่ำเสมอตามรูปแบบการไหลแบบ laminar flow pattern สู่ทางออกเพื่อกลับสู่ท่อ (Ducts)
𝟮. 𝗔𝗶𝗿𝗳𝗹𝗼𝘄 𝘃𝗲𝗹𝗼𝗰𝗶𝘁𝘆 𝗮𝗻𝗱 𝗰𝗵𝗮𝗻𝗴𝗲𝘀 𝗽𝗲𝗿 𝗵𝗼𝘂𝗿
ตรวจสอบความเร็วลมและจำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศต่อชั่วโมง
สำหรับการทดสอบนี้ พื้นที่ของ HVAC จะถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็น grids ตามสมมุติฐาน และวัดความเร็วลมในแต่ละ grids
จากนั้นจึงคำนวณความเร็วลมเฉลี่ย (V) พื้นที่ของทางเข้าตัวกรอง HEPA (A) เป็นหน่วยฟุต และปริมาตรอากาศทั้งหมด (T) จะคำนวณโดยการคูณความเร็วเฉลี่ยของอากาศและพื้นที่ทางเข้า (T=A×V)
จากนั้น ปริมาตรของห้องจะถูกทำการคำนวณและหาการไหลเวียนของอากาศต่อชั่วโมงได้ จากการหารการไหลเวียนของอากาศทั้งหมดด้วยปริมาตรของห้อง
𝟯. 𝗙𝗶𝗹𝘁𝗲𝗿 𝗹𝗲𝗮𝗸 𝘁𝗲𝘀𝘁
การทดสองการรั่วไหลของตัวกรอง
สำหรับการทดสอบการรั่วของตัวกรอง HEPA เครื่องวัดความเร็วลมจะวางไว้ที่ด้านหน้าของระบบ AHU และทำการตรวจสอบความเร็วลม ค่าความเร็วลมควรต้องอยู่ภายในขีดจำกัดสูงสุด (higher limit) ของตัวกรอง HEPA
𝟰. 𝗣𝗮𝗿𝘁𝗶𝗰𝗹𝗲 𝗰𝗼𝘂𝗻𝘁–𝗻𝗼𝗻𝘃𝗶𝗮𝗯𝗹𝗲 𝗽𝗮𝗿𝘁𝗶𝗰𝗹𝗲 𝘁𝗲𝘀𝘁
จำนวนอนุภาค การทดสอบอนุภาคที่ไม่มีชีวิต
ใช้ Particle counter เพื่อทำการทดสอบ การนับอนุภาคจะถูกวัดในหลายช่วง เช่นสภาวะคงที่ก่อนการทำงานตลอดจนถึงสภาวะในการปฏิบัติงานจริง จำนวนอนุภาคควรอยู่ภายในช่วงตามมาตรฐานการจำแนกประเภทอนุภาค หรือตาม Clean Room Classifications & ISO Standards นั่นเอง
𝟱. 𝗩𝗶𝗮𝗯𝗹𝗲 𝗽𝗮𝗿𝘁𝗶𝗰𝗹𝗲 𝗺𝗼𝗻𝗶𝘁𝗼𝗿𝗶𝗻𝗴
การตรวจสอบอนุภาคที่มีชีวิต
ควรทำการทดสอบทุกวันโดยใช้การ Swab Test และการใช้อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อดูการฟักตัวของจุลินทรีย์ จำนวนจุลินทรีย์ และอนุภาคควรอยู่ภายในขอบเขตที่กำหนด เพื่อช่วยประเมินสาเหตุที่แท้จริง การดำเนินการแก้ไขและป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ
𝟲. 𝗙𝗶𝗹𝘁𝗲𝗿 𝗶𝗻𝘁𝗲𝗴𝗿𝗶𝘁𝘆 𝘁𝗲𝘀𝘁
การทดสอบความสมบูรณ์ของตัวกรอง
ความสมบูรณ์ของตัวกรอง HEPA ได้รับการทดสอบโดยการฉีดอนุภาคที่มีขนาดที่กำหนดไว้ (0.2 um ขึ้นไป) โดยใช้ Aerosol Generator หรือ PAO Generator เพื่อตรวจสอบว่าอนุภาคเหล่านั้นกักเก็บอนุภาคละอองลอย (aerosol particles) ไว้หรือไม่
ตัวกรอง HEPA จะต้องได้รับการทดสอบและตรวจสอบเป็นระยะ (ทุกปีหรือทุกๆ สองปี) ปริมาณของละอองลอยที่ตรวจพบ จะถูกตรวจสอบและบันทึกข้อมูล ตัวกรองที่สมบูรณ์ และผ่านเกณฑ์ต้องตรวจไม่พบร่องรอยของละอองลอยที่ตกค้าง
𝟳. 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗱𝗶𝗳𝗳𝗲𝗿𝗲𝗻𝗰𝗲
ค่าแตกต่างของความดัน
คำนวณโดยใช้ Manometer ติดกับผนังห้องสะอาดในบริเวณใกล้เคียง โดยปกติแล้วความแตกต่างของแรงดันจะเป็นค่าบวกจากพื้นที่ที่สะอาดที่สุดไปยังพื้นที่สะอาดน้อยกว่าในช่วงแรงดันตั้งแต่ 1-20 mmHg
𝟴. 𝗥𝗲𝗰𝗼𝘃𝗲𝗿𝘆 𝘁𝗲𝘀𝘁
ทดสอบการคืนค่า หรือการฟื้นตัวของพารามิเตอร์
การคืนค่าของอุณหภูมิและความชื้นจะได้รับการตรวจสอบหลังจากสูญเสียสภาวะการทำงานปกติ หรือมีค่าอุณหภูมิ ความดัน ที่เปลี่ยนไป เช่นการเปิดประตู
ตัวอย่างเช่น ความชื้นและอุณหภูมิจะถูกตรวจสอบจากการปิดระบบ HVAC จากนั้นทำการเปิดระบบ HVAC เพื่อตรวจสอบว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการกู้คืนสภาวะที่ตั้งค่าไว้ หรือเวลาที่ต้องใช้ในการรักษาเสถียรภาพของอุณหภูมิและความชื้น
หรือโดยเปิดประตูในช่วงเวลาที่กำหนด แล้วบันทึกระยะเวลาที่ใช้ในการคืนค่าสภาวะที่ถูกต้อง
𝟵. 𝗧𝗲𝗺𝗽𝗲𝗿𝗮𝘁𝘂𝗿𝗲 𝗮𝗻𝗱 𝗵𝘂𝗺𝗶𝗱𝗶𝘁𝘆 𝘂𝗻𝗶𝗳𝗼𝗿𝗺𝗶𝘁𝘆 𝘁𝗲𝘀𝘁
การทดสอบความสม่ำเสมอของอุณหภูมิและความชื้น
ความสม่ำเสมอของอุณหภูมิและความชื้นได้รับการตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือที่ทำการปรับแต่งให้ได้ค่าที่ต้องการ เช่น Data Logger thermocouples, thermometer, RTD, manometer เป็นต้น พารามิเตอร์ทั้งสองจะได้รับการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง หากออกแบบระบบการทดสอบให้มีการจัดการ Data ที่ดี
จะสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานห้องสะอาดมีความมั่นใจได้ถึงความเสถียร หรือความสม่ำเสมอที่กำหนดไว้
𝟭𝟬. 𝗙𝗿𝗲𝘀𝗵 𝗮𝗶𝗿 𝗱𝗲𝘁𝗲𝗿𝗺𝗶𝗻𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻
การวัดและกำหนดอากาศสะอาด
เราสามารถสังเกตปริมาณอากาศบริสุทธิ์ที่ทางเข้าของ Fresh air damper ในการคำนวณอัตราการหมุนเวียนของอากาศทั้งหมด โดยนำปริมาณอากาศบริสุทธิ์ หรืออากาศสะอาดขาเข้า
หารด้วยอัตราการหมุนเวียนของอากาศ (Air Changes) ทั้งหมดในห้อง แล้วคูณด้วย 100 เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์การรับอากาศสะอาดในแต่ละรอบด้วยระบบ HVAC ในแต่ละห้อง
อย่างไรก็ตาม Cleanroom validation PQ protocol สำหรับการตรวจสอบห้องสะอาดหรือ Cleanroom อาจทำการตรวจสอบทั้งหมด หรือเฉพาะส่วนตามความเหมาะสม
โดยควรดูที่ วัตถุประสงค์,ขอบเขต,ความปลอดภัย มาตรฐานเ และเงื่อนไขต่างๆ ของห้องสะอาด หรือพื้นที่ตั้งของโรงงานนั้นๆ โดยยึดมาตราฐาน ISO 14644 ซึ่งเป็นข้อกำหนด และมาตรฐานสากล
(ทำความรู้จัก Classifications & ISO Standards : http://www.cainnovation.com/blog/12/Clean-Room-Classifications---ISO-Standards)
นอกจากการออกแบบ และก่อสร้าง ขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของการใช้งานห้อง Cleanroom ก่อนส่งมอบถึงมือลูกค้า รวมถึงการให้ข้อมูล และอบรมผู้ใช้งาน กับการทดสอบ Parameter ต่างๆ ในระหว่างปฏิบัติงานจริง
เพื่อให้ลูกค้าและผู้ใช้งานมั่นใจว่า ห้องสะอาดได้รับการติดตั้งและออกแบบอย่างเหมาะสมตามมาตรฐาน และสามารถใช้งานได้จริงตามสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังไว้ครับ
วนา อนุตรอำไพ l CAI Engineering
เพื่อตอบสนองทั้งด้านความต้องการของอุตสาหกรรม และเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานสำหรับห้องสะอาด 𝗖𝗔𝗜 𝗘𝗻𝗴𝗶𝗻𝗲𝗲𝗿𝗶𝗻𝗴 เรามีประสบการณ์มากกว่า 15 ปีในด้านการออกแบบ ก่อสร้าง ทั้งในและนอกประเทศ ด้วยทีมวิศวกรเฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญ
เราพร้อมดูแลและให้คำปรึกษาทุกอุตสาหกรรมให้ตรงไปตามความต้องการของลูกค้า และได้รับมาตรฐานจากอุตสาหกรรมระดับสากล
ร่วมเดินหน้าสู่นวัตกรรมการปรับอากาศให้เท่าทันกับโลกอนาคตไปกับเรา
▶ ทำความรู้จักเราให้มากขึ้น
Line OA : @caihvac หรือ Click https://lin.ee/O6ZPRuT
.
#cleanroom #HVAC #ventilation #CleanroomValidation #CleanroomTesting #การทดสอบห้องสะอาด #ตรวจสอบห้องสะอาด #หลักการระบายอากาศ #โรงงานยา #คลีนรูม #อุตสาหกรรม #โรงพยาบาล #ห้องผ่าตัด #ออกแบบคลีนรูม #ออกแบบCleanroom #สร้างห้องสะอาด
โฆษณา