20 ม.ค. 2022 เวลา 16:26 • การศึกษา
เห็นคุณบอกว่าสนใจศาสนาพุทธในเชิง วิทยาศาสตร์ คุณเข้าใจถูกแล้ว เพราะศาสนาพุทธนี่แหละจะเป็นศาสนาของโลกในอนาคต ที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์ มีความเป็นอภิปรัชญาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตมิใช่ทางโลกแบบที่เราเข้าใจกันในชั้นเรียน สามารถอธิบายโลกที่ประกอบด้วยของสองสิ่งคือโลกที่เป็นรูปธรรม ( จับต้องได้ ตาเห็น จมูกได้กลิ่น สัมผัสได้ ) เป็นโลกที่นักวิทยาศาสตร์กําลังศึกษาอยู่ กับโลกแห่งนามธรรม ( จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็นด้วยตา ) ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้คําตอบได้ และในมุมของศาสนาพุทธ มีแง่มุมให้ศึกษาเยอะมาก ยกตัวอย่างเช่น
ใุมมองในแง่ปรัชญา
- ศาสนาพุทธไม่มีพระเจ้าหรือผู้สร้างใดๆ แต่โลกและจักรวาลมีสาเหตุให้เกิด นั่นคืออวิชชาหรือความไม่รู้ ทําให้จักรวาลถือกําเนิดจากความว่าง อัตตาตัวตนจึงถือกําเนิดเพื่อมารับรู้สิ่งต่างๆ ตามกฎปฏิจจสมุปบาทและอิทัปปัจยตา
- จุดมุ่งหมายสูงสุดของชาวพุทธ คือการหลุดพ้นจากวัฏสงสารหรือกงขังมนุษย์ที่ทําให้อยู่ในวงจรของความทุกข์ โดยมุ่งสู่อิสระและเสรีภาพสูงสุุดนั่นคือนิพพาน
- อธิบายถึงจิต เจตสิก รูป นาม นิพพาน ในเชิงปรัชญา อธิบายกลไกลการทํางานของจิต ที่อยู่เบื้องหลัง ความคิด นิสัยพฤติกรรม การกระทําของมนุษย์ เ้กิดเป็นความชอบ ไม่ชอบ ความรัก ความสุข ความทุกข์ ความโกรธ ความเกลียด
- อธิบาย เรื่องของกฏแห่งกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด ว่ามีอยู่จริง
มุมมองในแง่จิตวิทยา
- ศาสนาพุทธ พูดถึงเรื่องความทุกข์เป็นหลัก และเน้นในการดับไปซึ่งความทุกข์ และเราจะไม่พูดถึงวิธีเพิ่มความสุขเพราะมิใช่วิธีที่ถูกต้อง การดับซึ่งความทุกข์เป็นเหตุให้ความสุขก่อเกิด อริยะสัจ4 จึงถือกําเนิดและเป็นหัวใจของศาสนา ว่าด้วยการอธิบายว่า ทุกข์คืออะไร อะไรคือสาเหตุ หนทางและวิธีดับทุกข์เป็นอย่างไร เปรียบเสมือนคุณหมอรักษาอาการทางจิตของคนไข้ ซึ่งอาการป่วยแบบนี้การแพทย์ปัจจุบันจะใช้งิธีการรักษาทางจิต ซึ่งจะไม่ค่อยช่วยอะไรมาก เพราะความทุกข์แบบนี้เกิดกันทั้งโลก เกิดได้ทุกที่ทุกเวลา
- ศาสนาพุทธเรามีหลักของ ศีล สมาธิและปัญญา เป็นหลักในการดําเนินชีวิตที่ดีงาม การแก้ปัญหาต่างในชีวิตประจำวัน ศีลเป็นเหมือนวินัย สมาธิเป็นฐานตั้งมั่นของจิต และปัญญาจะก่อเกิด ในทางโลกทั่วๆไปหลักการนี้จะคล้ายๆกับคิดดี ทําดี ใช้ปัญญาแก้ปัญหา แต่จะมีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นมากนั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทางแห่งมรรค เป็นหนทางแห่งความหลุดพ้นถ้าทําอย่างถูกวิธี
- หลักสมาธิของชาวพุทธ ใช้วิธิเจริญสติ หรือเพิ่มความตั้งมั่นของจิตที่เป็นสมาธิ จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ( สมถะ) เพื่อความสงบและเพิ่มกําลังของสมาธิ หลังจากนั้นจิตจะเดินต่อสู่สมาธิแบบ วิปัสสนา เห็นการเกิด ดับของรูป นาม และความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตนของสรรพสิ่ง ( การเจริญสติมีหลากหลายรูปแบบ เช่น เจริญสติแบบเคลื่อนไหว สติปัฏฐานสูตร อานาปานสติ เป็นต้น )
มุมมองในแง่วิทยาศาสตร์
- จักรวาลถือกําเนิดมาจากความว่าง หรือ bigbang เกิดจากความว่าง ทฤษฎีควอนตัมค้นพบว่า อนุภาคเกิดมาจากที่ว่างได้ ( ในทางควอนตัม พบว่าไม่มีที่ว่างที่แท้จริง ที่ว่างที่เราเห็นว่าว่างจริงๆมีสสารและพลังงานเปลี่ยนกลับไปมาแต่ตาเรามองไม่เห็น ) อนุภาคก่อเกิด รวมตัวทําปฏิกิริยาทําให้เกิดสสาร พลังงาน ก่อให้เกิด ดวงดาว กาแลกซี่ และสมช.
- กฎไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ) พิสูจน์มาแล้วตามทฤษฎีควอนตัมว่าเป็นจริง อนุภาคสสารและพลังงานไม่มีตัวตนที่แท้แน่นอน แปรเปลี่ยนสภาพตลอดเวลาและไม่สามารถควบคุมได้ สิ่งที่เราเห็นว่ามีตัวมีตน ไม่มีอยู่จริงในระดับควอนตัม เป็นเพียงกลุ่มก้อนของพลังงานที่อัดแน่น รวมตัวเป็นสสารและเปลี่ยนกลับไปมาเป็นพลังงาน
- กฏอิทัปปัจยตา กฎของเหตุและผล ในทางวิทยาศาสตร์ ผลเกิดจากเหตุ ถ้าไม่มีเหตุก็ไม่มีผล
กฏอิทัปปัจยตา อธิบายเรื่องกรรมและผลของกรรม นั่นคือ เหตุที่เราทําอะไรไว้ ย่อมได้รับผลของการกระทําเสมอ ไม่มีข้อยกเว้น
- ทฤษฎีสตริง ค้นพบว่า มีมิติซ้อนเร้นที่ตาเรามองไม่เห็นอยู่ถึง 11 มิติ พหุจักรวาลหรือ multi universe มีอยู่จริง มีเอกภพที่ตาเรามองไม่เห็นเป็นอนันต์ ทบ. สตริงสนับสนุนความเชื่อเรื่อง ภพภูมิในศาสนาพุทธ ที่มีทั้งภพภูมิของเทวดา พรหม เปรต อสุรกาย มนุษย์
- วิทยาศาสตร์ อธิบายว่าร่างกายของเราประกอบด้วยสสารและพลังงาน โดยมีหน่วยเล็กที่สุดคือ อิเล็กตรอน ควากซ์ โบซอน แต่ศาสนาพุทธ อธิบายว่าร่างกายของเราประกอบด้วย รูป และนาม หรือ ร่างกายและจิตใจ หรือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ( วิทยาศาสตร์ยังไม่มีการพิสูจน์เรื่องจิต )
- จิตเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ที่ไหลวนเวียนทั่วทั้งจักรวาล จิตมีการเปลี่ยนรูปก่อให้เกิดสสารได้ โดยอาศัยวิบากแห่งกรรม และตัณหา ทําให้จิตมีตัวตน สร้างรูปนาม ที่ เรียกว่า ขันธ์ ขึ้นมา โดยในบางภพภูมิหรือบางเอกภพ รูปนามเป็นไปอย่างละเอียด คือมีจิตวิญญาณเคลื่อนไหวอย่างเดียว แต่ในโลกมนุษย์จะเป็นแบบหยาบ คือมีทั้งรูปนาม ทั้งร่างกายจิตใจ หรือขันธ์ 5 ทํางานอย่างเต็มตัว
ส่วนในแง่อื่นๆ เช่น ศีลธรรม คุณธรรม และความดีงามจะไม่ขออธิบาย เพราะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายและพบในทุกศาสนา
โฆษณา