21 ม.ค. 2022 เวลา 01:59 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ของแพง & ค่าแรงเท่าเดิม
16
ของแพง ค่าแรงเท่าเดิม
ราคาเนื้อหมูหน้าแผงในไทยสูงสุดในรอบ 10 ปี ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ตอกย้ำสภาพเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งในบทความนี้จะมาเผยสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร ผลกระทบเกิดขึ้นแค่ในไทยหรือไม่ และวิธีการแก้จะเป็นไปในรูปแบบไหน
1
จากการที่ราคาเนื้อหมูในท้องตลาดสูงจนน่าตกใจ ส่งผลคนหันไปบริโภคให้โปรตีนทางเลือกอื่น อย่างเนื้อจระเข้ เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ไข่ไก่ ทำให้สินค้าเหล่านี้ ปรับราคาขึ้นเป็นไปตามกลไกตลาด นอกจากนี้ ค่าวัตถุดิบที่ใช้เลี้ยงหมู อาหารที่ใช้เลี้ยงหมู รวมถึงค่าน้ำมันที่ใช้ในการขนส่ง ล้วนราคาสูงขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
1
📌 ย้อนกลับไปในช่วงเวลาก่อนหน้าการเกิดโรคระบาดโควิด-19
1
ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผยว่า ปี 2562 ไทยส่งออกเนื้อหมูมูลค่ากว่า 3,533.9 ล้านบาท และนำเข้ามูลค่า 104 ล้านบาท และในเดือนพฤศจิกายน 2564 ยอดการส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นไป 141.6% แสดงให้เห็นว่า ไทยติดอันดับการส่งออกเนื้อหมูเป็นอันดับต้น ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน
2
เดิมทีสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กำหนดให้ผู้ประกอบการขายเนื้อหมูปลีกราคา 150-160 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้เนื้อหมูเป็นเนื้อสัตว์ที่คนนิยมบริโภคมากเป็นอันดับ 1 ด้วยความที่หาซื้อได้ง่าย นำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ที่สำคัญคือราคาย่อมเยาเข้าถึงได้
1
📌 สาเหตุที่ภาพจำของเนื้อหมูได้เปลี่ยนไป
ไทยได้รับเชื้อจากการระบาดของโรค ASF ในหมูที่มาจากประเทศใกล้เคียงอย่างในอาเซียน ส่งผลให้หมูจำนวนมากป่วยและตายไป ทำให้ปลายปี 2564 ปริมาณการผลิตหมูลดลงไปถึง 1 ล้านตัว คิดเป็น 5% ของการผลิตหมูทั้งหมด ดึงให้ราคาเนื้อหมูในท้องตลาดพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่ไทยส่งออกเนื้อหมูไปในกลุ่มอาเซียนเป็นหลัก กลับส่งไปได้น้อยลง เพราะไม่มีใครอยากซื้อหมูในราคาที่สูงกว่าหมูตนทั้งนั้น
2
สภาพอากาศที่ร้อนของไทย ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของไทยสูงขึ้น รวมถึงมีสภาพอากาศที่แปรปรวน เป็นผลหมูทานอาหารได้น้อยลง น้ำหนักลดลงไม่ถึงเกณฑ์ของมาตรฐานฟาร์ม ในเมื่อหมูมีสุขภาพที่ไม่ดี เกษตรกรจึงต้องเข้ามาเพิ่มอาหาร ติดตั้งพัดลมเพื่อระบายความร้อน ส่งผลให้ต้นทุนเนื้อหมูยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
3
📌 ราคาเนื้อหมูสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดในต้นปี 2565
แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาหลังวิกฤต มักจะเป็นเรื่องของเงินเฟ้อ ซึ่งมาจากการที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างเท่าตัว
และแล้วเมื่อปลายเดือนธันวาคม ปี 64 รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ประกาศขึ้นราคาเนื้อหมู โดยราคาปรับตัวสูงขึ้นไปถึง 235 บาทต่อกิโลกรัม (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ม.ค. 65) เพิ่มขึ้นจากปี 62 ถึง 85%
หมูที่ราคาแพง ส่งผลให้อัตราการนำเข้าเนื้อหมูลดลงไป 12% เพราะไทยมองว่าหากรับหมูของประเทศอื่นเข้ามา จะไปลดขีดความสามารถในการแข่งขันกับภายนอกประเทศในอนาคต
1
ด้วยอุปทานที่ลดลง แต่อุปสงค์กลับเพิ่มขึ้น กลายเป็นสิ่งที่ชวนให้คนเริ่มตั้งคำถามว่า แค่อยากจะกินหมู ต้องใช้เงินถึง 71% ของรายได้ขั้นต่ำเชียวหรือ
1
📌 ผลกระทบของราคาหมูที่สูงขึ้นต่อประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อย SMEs
ผู้ประกอบการ: ธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารจะผลิตอาหารได้น้อยลง เนื่องด้วยต้นทุนการผลิตอื่นที่เกี่ยวข้องสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ไม่ว่าจะเป็นค่าวัตถุดิบที่ใช้เลี้ยงหมู อาหารหมู โปรตีนทางเลือกอื่น รวมถึงค่าน้ำมันที่ใช้ในการขนส่ง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายย่อยบางส่วนบางส่วนจำเป็นต้องปิดกิจการลงด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น ตัวเลขที่ขาดทุนสะสมมานาน ในขณะที่บางส่วน จำเป็นต้องลดจำนวนหมูที่เลี้ยงไว้ ส่งผลให้ปริมาณเนื้อหมูในท้องตลาดลดลงไปอีก
ต่อประชาชน: ตอกย้ำครัวเรือนที่มีหนี้สูงจากผลของการระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา เพราะคนกลุ่มนี้อาจจะมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายด้านอาหารที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนลามไปถึงค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคอื่นในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ กลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางบ้างก็ปรับตัวไปซื้อโปรตีนชนิดอื่นแทน บ้างก็ยังคงมีความต้องการบริโภคเนื้อหมูเพิ่มขึ้น เป็นแรงผลักดันให้ราคาหมูยิ่งพุ่งสูงขึ้น ลดทอนความสามารถในการบริโภคเนื้อหมูของคนกลุ่มรายได้ต่ำไปด้วย
1
ค่าแรงขั้นต่ำของไทยยังคงเท่าเดิม ไม่ได้ปรับเปลี่ยนจากปีก่อนหน้าไปมากนัก ในขณะที่ค่าครองชีพกลับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีท่าทีว่าจะกลับมาเท่าเดิมในเร็ววันนี้
📌 ค่าแรงขั้นต่ำกับค่าครองชีพของไทย
ใน ปี 2562 ค่าแรงไทยสามารถซื้อเนื้อหมูได้มากที่สุด และซื้อสามารถซื้อเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ได้ 0.2 กก.
ในขณะเดียวกัน เมื่อต้นปี 2565 ทำงาน 1 วัน จำนวนเนื้อหมูที่สามารถซื้อได้ลดลงจากปี 2562 ถึง 1.2 กก. คิดเป็น 46%
จะเห็นได้ว่า ปี 64-65 คนไทยแทบจะไม่เหลือเงินเก็บไปใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ หากต้องการจะซื้อหมู 1 กก. มารับประทานกัน
ตอนนี้ประเทศในกลุ่มอาเซียน ใครกินหมูแพงบ้าง
เราลองนำค่าแรง 1 วันในแต่ละประเทศ ไปซื้อเนื้อหมูในประเทศนั้น ๆ จะพบว่า ค่าแรง 1 วัน
  • 1.
    ฟิลิปปินส์ซื้อหมูได้มากที่สุด โดยซื้อได้ 2.8 กก.
  • 2.
    สิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ค่าแรงมากเป็นอันดับ 2 ซื้อหมูได้ 2.6 กก.
  • 3.
    ไทยซื้อหมูได้ 1.4 กก.
  • 4.
    เวียดนามซื้อหมูได้ 1 กก.
  • 5.
    ลาวซื้อหมูได้ 0.94 กก.
  • 6.
    เมียนมาร์ซื้อหมูได้ 0.87 กก.
  • 7.
    และกัมพูชาซื้อหมูได้น้อยที่สุด เพียง 0.7 กก.
4
ประเทศที่ราคาหมูสูงกว่าไทยและมีค่าแรงสวนทางกับราคาหมู มี 2 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม และกัมพูชา
1
สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ประสบปัญหาหมูราคาแพง ซึ่งเป็นผลจากการที่หมูติดเชื้ออหิวาต์แอฟริกาด้วยกันทั้งสิ้น
1
📌 หลายประเทศ มีแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่แตกต่างกัน
เวียดนามได้นำเข้าเนื้อหมูจำนวนมาก เพื่อทำให้ราคาเนื้อหมูในตลาดเริ่มทยอยปรับตัวลงไป แต่การนำเข้าหมูเข้ามาในปริมาณมากนั้น อาจเกิดความเสี่ยงที่ประเทศจะถูกลดขีดความสามารถในการแข่งขันลงได้
สหราชอาณาจักร เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ได้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนที่รายได้ต่ำแต่มีค่าใช้จ่ายที่สูงได้เป็นอย่างดี และสามารถรับมือจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นด้วย
3
จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าวิกฤตหมูแพงและเงินเฟ้อครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว ผลกระทบในแต่ละประเทศรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้ การแก้ไขสามารถทำได้ทางฝั่งอุปทาน โดยกำหนดเพดานราคาหมู เพิ่มอุปทานหมู และจำกัดการส่งออกหมูออกจากประเทศ ส่วนทางฝั่งอุปสงค์ เราได้เห็นการดำเนินงานของต่างประเทศ โดยการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับสภาพเงินเฟ้อและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาให้กับประเทศไทยต่อไป
1
#หมูแพง #ของแพง #ค่าแรง #เงินเฟ้อ #ค่าครองชีพ
#Bnomics #เศรษฐกิจ #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน : ธนัชญา ปิยวรไพบูลย์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
3
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา