28 ม.ค. 2022 เวลา 01:21 • สุขภาพ
อ่อนเพลียเรื้อรัง ระวัง! ภาวะต่อมหมวกไตล้า
ต่อมหมวกไตล้า หรือ ภาวะหมวกไตล้า เป็นภาวะที่หลาย ๆ คนอาจไม่รู้จักหรือคุ้นหูสักเท่าไหร่ เป็นอาการที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามหรือเรียกได้ว่าเป็นโรคร้ายที่ถูกลืม ทั้ง ๆ ที่เกิดขึ้นเยอะมาก และทำให้สุขภาพรวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสามารถพบได้ค่อนข้างบ่อยในบุคคลทั่วไป
ทำความรู้จักกับ ' ต่อมหมวกไต ' กันสักหน่อย
ต่อมหมวกไต คือ ต่อมไร้ท่อมีลักษณะคล้ายหมวกครอบอยู่บนไตทั้งสองข้าง ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ๆ ให้ร่างกายหลายอย่าง ดังนี้
  • 1.
    คอร์ติซอล (Cortisol) : ฮอร์โมนที่ช่วยลดความเครียด ช่วยควบคุมการทำงานของระบบเผาผลาญ ระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงระดับความดันโลหิต
  • 2.
    เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) : ฮอร์โมนเพศหญิง
  • 3.
    แอนโดรเจน (Androgen) : ฮอร์โมนเพศชาย
  • 4.
    ดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอโรน (Dehydroepiandrosterone: DHEA) : ฮอร์โมนต้านความชรา อีกทั้งยังเป็นตัวตั้งต้นของฮอร์โมนเพศด้วย
  • 5.
    อัลโดสเทอโรน (Aldosterone) : เป็นฮอร์โมนที่คอยช่วยควบคุมสมดุลของโซเดียม-โพแทสเซียมในร่างกาย
  • 6.
    อะดรีนาลีน (Adrenaline) : เป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
มาตรวจเช็คกันว่าเรามีสภาภาวะต่อมหมวกไตล้าหรือไม่ ?
สำหรับภาวะต่อมหมวกไตล้าจะทำให้เราไม่อยากตื่นนอนในช่วง 7:00 -8:00 โมงเช้าจะรู้สึกไม่สดชื่น ลืมตาไม่ขึ้น การตัดสินใจช้าลง แม้ว่าเราอาบน้ำเสร็จแล้ว แต่สมองก็ยังคงไม่ทำงาน จนกว่าจะเข้าช่วง 10:00 โมงเช้าเป็นต้นไปร่างกายถึงจะเริ่มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะกลับมาสะดุดอีกครั้งในช่วงเที่ยง หลังจากที่รับประทานอาหารเข้าไปก็จะเริ่มรู้สึกล้าและกลับมาง่วงนอนอีกครั้ง
อาการต่อมหมวกไตล้า สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
  • เครียด คิดมาก มีเรื่องกังวลใจอยู่ตลอดเวลา
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • เมื่อรู้สึกเหนื่อยแล้วยังฝืนทำกิจกรรมต่อไป ไม่พักผ่อน
  • อ่านหนังสือสอบมากเกินที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้เกิดความเครียดสะสม
  • ไม่มีเวลาเหลือให้ตัวเองใช้ผ่อนคลาย
  • เครียดจากอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
สำหรับวิธีรักษาเมื่อเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้านั้น สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มต้นที่จากตัวเรา
  • ลดความเครียดลง เปลี่ยนมาใช้ชีวิตแบบอิสระ ไม่ต้องจัดตารางเวลา ปล่อยให้แต่ละวันตัวเองเป็นคนกำหนด
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเลือกประเภทการออกกำลังกายที่รู้สึกว่าสนุกและหมั่นพยายามหาเวลามาออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
  • ห้ามงดอาหารเช้า หลีกเลี่ยงอาหารหวานและเค็ม ซึ่งสำหรับคนที่รู้ตัวว่ามีภาวะต่อมหมวกไตล้าอยู่แล้วไม่ควรงดอาหารเช้าเด็ดขาด ควรทานก่อน 10 โมงเช้าเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานไปหล่อเลี้ยง และดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลที่มา:
โฆษณา