22 ม.ค. 2022 เวลา 07:39 • สุขภาพ
วัคซีน Covid สำหรับเด็กอายุ 5 -11 ปี จำเป็นหรือไม่
จะฉีดดีหรือไม่ฉีดดี ฉีดแล้วจะมีอันตรายไหม
Vaccine จะไปเปลี่ยนแปลง DNA ของลูกเราหรือไม่
เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง
เป็นประเด็นยอดฮิตอีกประเด็นหนึ่งที่ถูกถามบ่อย
ทั้งจากหมอด้วยกันเอง พี่พยาบาล รวมถึงคนรอบๆ ตัว
เกี่ยวกับวัคซีนเด็ก 5-11 ปี
จากข้อมูลล่าสุดพบว่า วัคซีนไฟเซอร์สำหรับ
เด็ก 5-11 ปี ล็อตแรกได้เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว
แล้วจากไทม์ไลน์ของกระทรวง วางแผนจะเริ่มฉีดวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้
ทำให้ทางโรงเรียนเริ่มให้ลงชื่อแสดงความจำนงค์ เข้ารับวัคซีน
มารู้จักวัคซีน Pfizer สำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี กันก่อนดีกว่า
วัคซีน Pfizer สำหรับเด็กก็คือ ตัวเดียวกับของผู้ใหญ่
เพียงแต่ว่าลดขนาดลงจาก 30 ไมโครกรัม เหลือเพียง 10 ไมโครกรัม
เนื่องจาก วิจัยแล้วพบว่า ขนาด 10 ไมโครกรัม
ก็เพียงพอต่อการสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิคในเด็กแล้ว
เนื่องจากขนาด 10 ไมโครกรัมมีปริมาณน้อยมาก
ทำให้มีปัญหาเรื่อง ดูดยาให้ตรงตามปริมาณที่เหมาะสม
ทางบริษัท Pfizer ก็เลยเปลี่ยนตัวBuffer ที่อยู่ในตัววัคซีน
เพื่อทำให้ดูดได้ง่ายขึ้นและเก็บในตู้เย็นได้นานขึ้น
จาก 4สัปดาห์ เป็น 10 สัปดาห์
และ เพื่อป้องกันความสับสนกับของผู้ใหญ่ จึงเปลี่ยนสีฝาขวดเป็น สีส้ม
ดังนั้น วัคซีน Pfizer ของเด็ก อายุ5-11 ปี ฝาจะเป็นสีส้ม
ซึ่งหลายๆคนยังมีความกังวลและลังเลเกี่ยวกับ
การฉีดวัคซีน Pfizer ว่าจะปลอดภัยดีหรือไม่ เรามาคลายข้อสงสัยกัน
Q1. ไม่ฉีด Vaccine ก็ได้ ให้เด็กระวังตัว เอา
A1 :
อย่างที่ทุกคนทราบมาตรการป้องกันส่วนบุคคล
ทั้งเรื่องของการใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ
เด็กเล็กมีแนวโน้มที่ ที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามได้น้อยกว่าผู้ใหญ่
ทำให้เด็กมีความเสี่ยงติดเชื้อมากกว่าผู้ใหญ่
โชคดีที่ก่อนหน้านี้เราพบว่าการติดเชื้อในเด็กที่มักจะไม่รุนแรง
ถ้ารุนแรง ก็มักพบในเด็กที่มีโรคประจำตัว
แต่จากเชื้อ omicron ที่มีความสามารถในการแพร่กระจาย
และติดเชื้อได้สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
ทำให้พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 11 ปี ซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
กลายเป็นเป้าหมายหลักของเชื้อ Omicron
จากข้อมูลยืนยันตรงกันหลายประเทศทั้งใน แอฟริกาใต้ US และยุโรป (Ref 2+3)
พบว่ายอดจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอน
มีสัดส่วนที่เป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปีสูงขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน
เทียบกับการระบาดของสายพันธุ์ก่อนหน้านี้
เมื่อติดเชื้อเยอะก็ย่อมมี จำนวนเด็กป่วยหนักหรือเสียชีวิตเยอะขึ้น
ทำให้ยอดผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลโดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก มีอัตราส่วนที่สูงขึ้นชัดเจนดังกราฟที่ 2
Q2: ติดก็ไม่เห็นเป็นไรเลย covid รักเด็ก เอ็นดูเด็กอยู่แล้ว
โอกาสเสียชีวิตจากติดเชื้อโควิดในเด็กต่ำมากอยู่แล้ว
ทำไมต้องไปเสี่ยงกับผลข้างเคียงของวัคซีน
ที่อาจจะสูงกว่าโอกาสเสียชีวิตจากโควิด
A2
ถึงแม้ว่าเมื่อเด็กติด covid แล้วอาจจะป่วยไม่หนัก หรือไม่เสียชีวิต
จากข้อมูลในข้อที่ 1 พบว่า การระบาดระลอกใหม่ของสหรัฐ
มีจำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กสูงขึ้น
ซึ่งก็เป็นผลมาเนื่องจาก ยอดผู้ติดเชื้อรวมที่สูงขึ้น
ณ ปัจจุบัน การระบาดของโอไมครอน
ได้คร่าชีวิตเด็กชาวอเมริกันไปมากกว่า 1,000 รายแล้ว
โดยโอกาสเสียชีวิตจากโควิด อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 2-4 หมื่นคน
ซึ่งสูงกว่าโอกาสเสียชีวิต จาก การฉีด Vaccine
จากข้อมูลใน USA ฉีด Vaccine Pfizer ให้เด็ก 5-11 ปี ไปแล้ว
7.2 ล้าน dose (Ref 5) มีเด็กเสียชีวิต หลังฉีด 2 คน
ซึ่งทั้ง 2 คนเป็น ที่มี Complex medical history
เป็น สมองพิการ ชัก ไม่มีเด็กที่แข็งแรงเสียชีวิตแม้แต่คนเดียว
ดังนั้น จากข้อมูล จะพบว่า
โอกาสเสียชีวิตจากติดเชื้อโควิด = 1 ใน 2-40000 คน
โอกาสเสียชีวิตจาก วัคซีน Pfizer = 1 ใน 1.8 ล้านคน
Q3: ถ้าเด็กติด covid ขึ้นมาแล้ว
รู้ไหมว่าจะมีผลแทรกซ้อน และ ความผิดปกติในระยะยาวอะไรบ้าง
A3: Covid ทำให้เกิดอันตรายแก่ เด็ก ได้ 3 ระยะ
1. ระยะที่ยังมีเชื้อในร่างกาย ==> ลงปอด และทำลายอวัยวะต่างๆ
อันนี้ตรงๆตัว แม้ว่าเด็กมีโอกาสเกิดโรครุนแรงและเสียชีวิต น้อยกว่าผู้ใหญ่
ทำให้ ประโยชน์ด้านนี้ เยอะพอสมควร
แต่อาจจะไม่ชัดเจนเท่าผู้ใหญ่ หรือ ผู้สูงอายุ
แต่การฉีดวัคซีน ก็ลดโอกาสในการป่วยหนักได้มากกว่าไม่ฉีดชัดเจน
และพบว่าในเด็กที่ติดโควิด มีโอกาสในการเป็นเบาหวานมากขึ้น 2.66 เท่า
เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ติดโควิด
1
2. Long covid syndrome แม้ว่าเชื้อจะตาย
แต่ก็อาจจะยังฝากรอยแผลไว้ในร่างกาย
ทำให้ยังคงมีอาการผิดปกติ หลงเหลืออยู่
ซึ่งพบบ่อยกว่าในผู้ป่วยที่อาการหนัก
แต่ผู้ป่วยที่อาการป่วยน้อยก็พบได้
อาการ Long covid syndrome ที่พบในเด็ก ได้แก่
- การรับรู้ การดมกลิ่นผิดปกติ จนมีผลต่อการทานอาหาร
และอาจจะมีผลต่อทั้งพัฒนาการการเติบโตและการเรียนรู้ได้
- อ่อนเพลีย ปวดข้อ ไม่มีแรง
- มึนงง สมองตื้อ จนอาจจะมีผลต่อการเรียนรู้ได้
Ref: (8-10)
3. MIS-C
Misc คือ อะไร : ภาวะการอักเสบทั่วร่างกายหลังหายป่วยจากโควิด
โดย เราพบว่า มีเด็กกลุ่มหนึ่ง
หลังจากที่ติดโควิดจนหายไม่เหลือเชื้อในร่างกายแล้ว
แต่มีอาการแทรกซ้อนตามหลังการติดเชื้อ ประมาณ 2-6 สัปดาห์
อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
เนื่องจาก ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ไปทำลายร่างกายทั่วร่าง
ทั้ง หัวใจ ปอด ไต สมอง จนอวัยวะต่างทำงานบกพร่อง
และอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้
จากรายงานของ US ภาวะนี้
พบได้ตั้งแต่ในเด็กอายุ 1-15 ปี อายุเฉลี่ย อยู่ที่ 8 ปี
โดบพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 5-11 ปี
เด็กป่วยภาวะ MIS-C ส่วนใหญ่ เป็นเด็กปกติที่ไม่มีโรคประจำตัว
ถ้ามีก็คือ โรคอ้วน Ref : (11-13)
แม้ว่าจะพบไม่บ่อย คือ
1 ใน 3-4000 คน ถึง 1 ใน 5 หมื่น (ref 14) แล้วแต่ประเทศ
แต่อาการรุนแรง ผลการรักษาไม่ดี โดยพบว่า
ส่วนใหญ่ มีอวัยวะอักเสบรุนแรง มีอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ
ทั้ง ชัก หัวใจวาย Shock ไตวาย ทำให้มีอัตรา
- เข้ารักษาใน ICU (61%)
- อัตราตายที่สูงประมาณ 2%
เรียกว่า
รอดจากโควิดลงปอด --> ก็เจอ Long covid
พ้นจาก Long covid--> ก็ลุ้นกับ Mis-C อีกเด้ง
กว่าจะชัวร์ว่าน่าจะรอดจากโควิดแน่ๆ น่าจะกินเวลาร่วมๆ 2 เดือน
และจะเห็นได้ว่า
> Covid ลงปอด เกิดในเด็กไม่แข็งแรง หรือ มีโรคประจำตัว
> Long covid เกิดได้ในเด็กทุกคนที่ติดโควิตไม่ว่าจะป่วยหนักหรือป่วยน้อย
แต่ป่วยหนักมีโอกาสเจอและรุนแรงมากกว่า
> Mis-c เกิดในเด็กแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวได้
1
ดังนั้น
- ไม่ว่าจะเด็กแข็งแรง หรือไม่แข็งแรง
- จะป่วยหนัก หรือ ป่วยน้อย
ก็มีโอกาสเจอภาวะแทรกซ้อนกันถ้วนหน้า
Q4 : การฉีดวัคซีนจะช่วยลดอะไรได้บ้าง และมีประสิทธิภาพขนาดไหน
A4 :
เนื่องจาก Vaccine ที่ผ่านการอนุมัติที่ใช้ในเด็ก 5-17 ปีในประเทศไทย
มีเพียงชนิดเดียวก็คือ Pfizer ซึ่งมีข้อมูลศึกษาวิจัยในระยะที่ 1,2และ 3
ที่ตีพิมพ์ใน lancet ดังนี้
กลุ่มประชากร อายุ 5-11 ปี
Phase 1 : ทำในเด็ก 48 คน พบว่าขนาดยา ที่เหมาะสมคือ 10 ug
Phase 2 -3 ทำในเด็ก 4 ประเทศคือ US + Spain +
Finland + Poland จำนวน 2285 คน
อายุเฉลี่ย 8 ปี เป็น
Asian Race 6 % และ มีโรคประจำตัว ถึง 20 %
ผลการศึกษา
- ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง
ผลข้างเคียงที่พบจากการฉีดวัคซีน
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ อาการปวดบวมแดงร้อนเฉพาะที่
นอกนั้นก็จะเป็นเรื่องของไข้ปวดเมื่อยตามตัวปวดหัว
ซึ่งมักจะหายเองภายใน 1-2 วัน
- เมื่อวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพของวัคซีน เทียบกับกลุ่มที่ได้วัคซีนหลอก
พบว่าวัคซีน Pfizer 10 ug มีประสิทธิภาพ
ในการป้องกันการติดเชื้อ(เดลต้า) ได้สูงถึง 90.7 เปอร์เซ็นต์
และสามารถกระตุ้นภูมิได้สูง
โดยมีระดับ Neutralizing Ab ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ที่ฉีด 30ug ครบ 2 dose
- ผลการฉีด vaccine ต่อ โอกาสการเกิด long covid syndrome
ไม่มีข้อมูลในเด็ก แต่ข้อมูลในผู้ใหญ่ พบว่า คนที่ได้รับ vaccine ครบ 2 เข็ม
ลดโอกาสการเกิด long covid syndrome ได้ถึง 50%
(odds ratio 0·51 [95% CI 0·32–0·82]; p=0·006)
- ผลการฉีด vaccine ต่อ โอกาสการเกิด MIS-C
จากจำนวนผู้ป่วยที่เป็น MISC ใน US จำนวน 102 คน
ตั้งแต่ 1ก.ค.- 9 ธ.ค. 64
พบว่า การฉีดวัคซีน PZ 2 เข็มในเด็กวัยรุ่น (12-18ปี)
** สามารถป้องกันการเกิดภาวะ MIS-C ได้สูงถึง 91% **
และถ้าเป็น MIS-C ขึ้นมา ก็ลดโอกาสที่จะ
- ป่วยหนักต้องเข้า ICU จาก 63 % (ถ้าไม่ฉีด) เหลือเพียง 20%
- ป่วยหนักมากๆๆ จนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือหัวใจเทียม
ไม่ฉีด 39% VS 0%
หมายความว่า
* ผู้ป่วย Mis-c ที่มีอาการรุนแรง ทั้งหมด เป็นเด็กที่ไม่ได้ฉีด vaccine
เด็กที่ฉีด Vaccine ต่อให้เป็น MIS-C ก็ไม่มีใครป่วยหนักมากๆๆ แม้แต่รายเดียว *
** ดังนั้น จะเห็นได้ว่า
การฉีดวัคซีน จะลดโอกาสเกิดฝันร้ายของพ่อแม่ได้ครบทั้ง 3 อย่างครับ **
Q5 : Vaccine m-RNA เป็นเทคโนโลยีใหม่ไม่เหมาะกับเด็กเล็ก
ฉีดไปแล้ว มีผลข้างเคียงรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ในระยะยาว อาจจะเกิดเป็นมะเร็ง DNA เปลี่ยน รู้หรือเปล่าเนี้ย
A5-1 :
สำหรับผลข้างเคียงของวัคซีน mRNA
มีข้อมูลของกรมควบคุมโรคของ USA พบว่า
ต้น ธค.64 USA ฉีดวัคซีนPfizer ให้เด็กอายุ 5-11 ปี
ไปแล้ว 7.1 ล้านโดส ประมาณคร่าวๆ ก็ 3.6 ล้านคน
มีเด็กเอเชีย อยู่ 7 % (2.5 แสนคน)
จาก ระบบรับแจ้งผลข้างเคียง (VAERS)
คล้ายๆกับในหมอพร้อมของไทย พบว่า
ส่วนมาก ผลข้างเคียง มักจะเกิดในช่วง 3 วันแรก
พบว่า แจ้งว่ามีผลข้างเคียง 3233 คน แบ่งเป็น
- รุนแรง 81 คน ไม่รุนแรง 3150 คน เสียชีวิต 2 คน
นั่น คือ มีเคสรุนแรงเพียง 83 คน จากจำนวนเด็กกว่า 3.6 ล้านคน
โดยอาการรุนแรงที่เจอ เป็นพวก ไข้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว
- จาก 81 ราย มีอาการ ร้ายแรง 22 คน คือ
= มีอาการชัก 8 คน
= กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แจ้งมา 14 คนแต่ตรวจยืนยันแล้ว 8 คน
เป็น ชาย 4 คน ญ 4 คน
เกิดใน dose แรก 2 คน dose 2 6 คน
หายแล้ว 5 คน ทั้งหมดอาการไม่รุนแรง
- เสียชีวิต 2 คน
เด็กที่เสียชีวิต หลังฉีด 2 คน ทั้ง 2 คนเป็น ที่มี Complex medical history
เป็น สมองพิการ ชัก สุขภาพที่ไม่ค่อยดีอยู่แล้วก่อนจะฉีดวัคซีน
และจากรายงานล่าสุด เมื่อฉีดมากขึ้น เพิ่มเป็น 8.7 ล้านโดส
หรือประมาณ 4.3 ล้านคน
พบว่า เจอผลข้างเคียงมากขึ้นเป็น 4,249 คน (คิดเป็น 0.1%ของเด็กที่ฉีดไป)
ใน 4249 คน พบว่า 97.6 % ไม่รุนแรง
2.3% รุนแรง (คือ เจอแค่ 100 คน จาก 4.4 ล้านคน)
ซึ่งอาการที่เจอ ก็คือ พวกไข้ อาเจียน ปวดหัว
เจออาการร้ายแรงจริงๆ ก็คือ
- ชัก 12 คน (แต่ new onset of seizure แค่ 5 ราย)
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 11 คน (แจ้งมา 15 แต่ตรวจยืนยันมี 11 คน)
11 คนนี้ หายแล้ว 7 คน กำลังจะหายอีก 4 คน
สรุปคือ
จากการฉีด Pfizer ให้แก่เด็ก 5-11 ปี จำนวน 8.7 ล้านโดส
** เด็กที่ฉีด 99.9% ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง ​**
0.1% มีผลข้างเคียงรุนแรง
ซึ่งผลข้างเคียงรุนแรงที่เจอ ก็คือ อาการ พวกไข้ อาเจียน ปวดหัว
มีอาการร้ายแรงประมาณ 4-5 ราย ใน 1ล้านคน
เจอกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแค่ 1.25 คน/ ล้านโดส
( เมื่อเทียบกับติดเชื้อโควิดจริง
มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 1500 : 1 ล้านคน )
** และ ไม่มีเด็กที่แข็งแรงดี เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีน แม้แต่คนเดียว **
A5-2 : สำหรับ m-RNA ไปเปลี่ยน DNA นั้น
ณ ขณะนี้ เราฉีด m-RNA ไปแล้วทั่วโลก มากกว่า 2 พันล้านโดส
มีการติดตามผลข้างเคียง จากประเทศทาง Europe และ US
ที่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
มาประมาณ 18 เดือน มีการตีพิมพ์และเก็บข้อมูลจำนวนมาก
ยังไม่พบข้อมูลที่ทำให้ DNA เปลี่ยนแปลงไปครับ
และถ้าดูจากกลไกการออกฤทธิ์ของ vaccine m-RNA จะพบว่า
เมื่อ m-RNA เข้า cell แล้ววิ่งไปที่ โรงงานผลิตหนาม
โดยที่ไม่เข้า Nucleus ที่มี DNA
ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสเปลี่ยน DNA ได้ครับ
และ mRNA ที่เข้าไปจะถูกสลายตามกระบวนการปกติของร่างกายอยู่แล้ว
เพราะ ร่างกายเรา เวลาจะผลิตโปรตีนอะไร
ก็ต้องผ่านการสร้าง mRNA อยู่แล้ว
คิดในทางกลับกัน ถ้าm-RNA อยู่ในร่างกายเราตลอดไม่หายไปไหน
เราคงมีภูมิตลอดเวลา ไม่ต้องเสียเวลาไป boost เข็ม 3 และ เข็ม 4 กันหรอก
สำหรับผลข้างเคียงระยะยาว 5-10 ปี
เป็นประเด็นเดียวที่ไม่สามารถตอบได้ ณ ขณะนี้
เนื่องจากมีข้อมูลไม่เพียงพอ เพราะต้องอาศัยเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
แต่ถ้าจะรอให้มีข้อมูลที่ชัดเจนก่อน
เด็กอาจจะติดโควิดจนเกิดผลเสียตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
สำหรับคนที่กังวลเกี่ยวกับเรื่องของผลข้างเคียงระยะยาว
ก็อาจจะเลือกฉีดวัคซีนเชื้อตาย
เช่นชิโนฟาร์มที่มีรายงานเฟส 1 เฟส 2 ตีพิมพ์ลงใน lancet
และอนุมัติใช้แล้วในหลายประเทศ ทั้งจีน บาห์เรน ชิลี กัมพูชา
แต่ไม่มีข้อมูล Phase 3 และข้อมูลการใช้งานจริงว่าได้ผลหรือไม่ในเด็ก
และไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของการลดโอกาส
ในการเกิด Long covid และ MIS-C ได้หรือไม่
Q6 : ปิดแต่โรงเรียน แล้วเด็กจะได้เรียนเมื่อไร การเรียนรู้ของเด็ก ก็สำคัญนะ
A6 :
ใช่เลยครับ เพราะเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก
มีช่วงเวลาวัยทองในการศึกษาเรียนรู้ทักษะในด้านต่างๆ ทั้ง
กีฬา ดนตรี มนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในวัยเดียวกัน
ซึ่งไม่สามารถเรียนทางออนไลน์ได้
ดังนั้นการที่จะทำให้เด็กสามารถกลับมาเรียนได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่ต้องเปิดๆปิดๆ คือ สิ่งที่สำคัญและจำเป็น ต่อ อนาคตของชาติ
ปัจจัยหลักก็คือการฉีดวัคซีน
ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กไม่ป่วยหนัก ไม่เจอ Long Covid หรือ MIS-C
อีกทั้งเมื่อฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมมากพอ
โอกาสเกิดการระบาด ในวงกว้างก็จะลดลง
สรุป
เด็กอายุ 5-11 ปี ก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่
แต่ประโยชน์หลักๆอาจจะไม่ใช่เรื่องของการลดความรุนแรงโรค
แต่เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโควิด
และทำให้เด็กสามารถกลับมาเรียนได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด
การเลือกชนิดของวัคซีนที่จะฉีด ก็คงแล้วแต่ว่า
จะเชื่อใจ (believe) ในวัคซีนเชื้อตาย ที่ใช้เทคโนโลยีเก่า
ปลอดภัย โดยมีเวลา+ข้อมูลในอดีตเป็นที่พิสูจน์
แต่ไม่มีข้อมูลการวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยจริง
หรือเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์ (trust)
มั่นใจในเทคโนโลยีใหม่อย่าง m-RNA ที่มีงานวิจัยรองรับ
ทั้งด้านประสิทธิภาพครบทุกด้าน และความปลอดภัยระยะสั้น
แต่ในระยะยาว ยังไม่มีใครตอบได้ว่าจะปลอดภัยจริงไหม
คงต้องชั่งใจ ระหว่าง ประสิทธิภาพและความปลอดภัย ที่ได้รับ
ดังนั้น ถ้าวันเด็กที่ผ่านมายังไม่ได้ให้ของขวัญอะไรกับลูก
พาเขาไปฉีดวัคซีน เป็นของขวัญแทนสิครับ
เพราะ vaccine จะอยู่ช่วยป้องกันร่างกายเขาตลอดทั้งชีวิต
โดยเฉพาะเมื่อโควิคกลายเป็นโรคประจำถิ่น
โฆษณา