23 ม.ค. 2022 เวลา 04:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คำถามใหญ่มากค่ะ ตอบได้หลาก แต่แก้ไม่ง่าย การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ อาจเป็นเรื่องเพ้อฝัน และแทบจะเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะในบรรดาประเทศที่ใฝ่ฝันเสรีภาพสุดขั้ว มันอาจเป็นได้เพียงแคมเปญหาเสียงของพรรคการเมืองทั่วโลก
เราคงต้องเปิดใจยอมรับว่า โลกทั้งใบขับเคลื่อนด้วยทุนนิยม มีเงินไว้ต่ออำนาจ เมื่อมีอำนาจ ก็สาวเงินได้อีกเรื่อยๆ แม้แต่ประเทศที่ผู้คนต่างถวิลหา นัยว่าเต็มไปด้วยเสรีภาพอย่างสหรัฐอเมริกา หรือสหราชอาณาจักร เราจะพบว่าประเทศเหล่านี้ก็ยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทรัพย์สินของบรรดาตัวท๊อป มีมูลค่ารวมกันแล้วเกินกว่า 50% ของมูลค่าทรัพย์สินประชากรทั้งประเทศ หากคุณมีโอกาสไปเยือนรัฐแคลิฟอเนียร์ รัฐที่มีบรรดาคนรวยอาศัยอยู่มาก คุณอาจตะลึงกับภาพอีกมุมที่ได้เห็นบนถนนเส้นหนึ่งในรัฐนี้ ที่มีกลุ่มคนยากไร้ ใช้รถเก่าๆ เป็นบ้านซุกหัวนอน บ้างก็ทำเพิงนอนง่ายๆ ใช้ชีวิตกันริมถนน หรือแม้แต่เมืองผู้ดี ที่ในย่านธุรกิจสำคัญ คุณก็ยังสามารถเห็นคนยากไร้นอนซุกตัวตามซอกหลืบริมถนนได้อีก
1
เครื่องมือหลักๆ ที่อาจเป็นกลไกช่วยลดความเหลื่อมล้ำ หนีไม่พ้นภาษี และการจัดสวัสดิการของรัฐ การเก็บภาษีคนรวย เพื่อมาช่วยคนจน และการใช้งบประมาณภาษีเพื่อจัดสวัสดิการตลอดจนความคุ้มครองต่างๆให้กับคนจน หรือผู้ด้อยโอกาส
การดีลกับคนรวยไม่ใช่เรื่องยาก มีปัญหามากนักหรือ ต้องการเท่าไหร่บอก! แต่ที่ยากคือการดีลกับคนจน ในที่นี้เราคงไม่พูดถึงคนตรงกลาง หรือกลุ่มชนชั้นกลางทางสังคม ที่เป็นกลุ่มคนทำงาน หรือใช้แรงงาน เราจำเป็นที่จะต้องสอนงาน สอนอาชีพ สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับผู้ด้อยโอกาสอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เขาเลี้ยงตัว และยืนระยะได้ค่ะ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังคงมีกลุ่มคนจนที่ไม่ยอมทำงาน รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ และเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาด้วย
ทุกรัฐบาลทั่วโลก ต่างใช้สโลแกน "์No one left behind : จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง" ฟังแล้วซาบซึ้ง ทั้งรู้ว่ามันสุดจะเพ้อฝันค่ะ
โฆษณา