23 ม.ค. 2022 เวลา 07:05 • ข่าว
“คนเดินเท้า” สำคัญที่สุดบนท้องถนน
เมื่อกฎหมายญี่ปุ่นให้ความคุ้มครองมากกว่าคนขับรถ
บทลงโทษที่ทั้งหนักทั้งแพง ไม่มีใครเจ็บ-ตายฟรี
1
เหตุการณ์ที่สิบตำรวจตรีนายหนึ่งขับรถจักรยานยนต์บิ๊กไบก์ชนคุณหมอเดินข้ามทางม้าลายอย่างแรงจนได้รับเจ็บสาหัส บริเวณหน้าสถาบันไตภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไท ก่อนที่จะไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา ทั้งๆ ที่ตามข่าวคือรถส่วนใหญ่หยุดให้ข้าม แต่บิ๊กไบก์คันดังกล่าวกลับไม่ชะลอรถและพุ่งมาด้วยความเร็วสูง
นี่ไม่ใช่เหตุการณ์แรกและเหตุการณ์สุดท้ายอย่างแน่นอนที่จะเกิดขึ้นบนท้องถนนในเมืองไทย ที่ทางม้าลายซึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาแล้วนั้นถือว่าศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้คนข้ามถนนอย่างปลอดภัย แต่ในประเทศไทยกลับเป็นเพียงแค่สีที่ป้ายไว้บนนถนนเท่านั้น ไม่ได้มีค่ามากเพียงพอที่จะปกป้องคนเดินเท้า
3
อย่างที่ทราบกันคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงแบบนี้ทีไร กล้องวงจรปิดของราชการมักจะจับภาพไม่ได้ หรือจะต้องร้องขอหลักฐานเพิ่มจากกล้องหน้ารถของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ทั้งๆ ที่บริเวณดังกล่าวเป็นย่านใจกลางเมือง ไม่ใช่เขตชนบทตามท้องไร่ท้องนาที่จะไม่มีการติดตั้งกล้องเอาไว้ และกลับเป็นทางญาติผู้เสียชีวิตที่ต้องมาประกาศหาคลิปจากกล้องหน้ารถคนอื่น แทนที่จะเป็นหน้าที่ของตำรวจในการรบรวมหลักฐาน
เหตุการณ์รถชนคนบนท้องถนนในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงอย่างมาก ไม่ว่าจะชนจนได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย สาหัส หรือเสียชีวิตก็ตาม ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะ จะถือว่ามีความผิดเต็มๆ โดยไม่ต้องมาสืบพยานใดๆ เพราะกฎหมายในต่างประเทศให้ความคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอที่สุดในเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งถ้าเป็นกรณีรถชนคน ก็คือคนถูกชนจะได้รับความคุ้มครองก่อนเป็นอันดับแรก
ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในเรื่องของกฎหมายจราจร โดยประเทศญี่ปุ่นจะให้ความคุ้มครองและดูแลคนเดินเท้าเป็นพิเศษ มีกฎหมายที่เอาผิดผู้ขับที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า ขัดขวางการสัญจรของเด็กเล็ก ไม่รักษาระยะห่างจากคนเดินเท้าในระยะที่ปลอดภัย ไม่ชะลอรถ ในถนนคนเดิน ซึ่งจะใช้ระบบแต้มมาใช้ในกฎหมายจราจร โดยมีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของทุกฝ่าย
ซึ่งระบบการลงโทษแบบหักแต้มคะแนนความผิดเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นกลัวมาก เพราะการได้ใบขับขี่มาสักใบไม่ใช่เรื่องง่าย การสอบใบขับขี่ที่ญี่ปุ่นมีความยากที่สุดประเทศหนึ่ง และน้อยคนนักจะสอบผ่านในครั้งแรก บางคนต้องสอบ 5-6 ครั้งถึงจะได้ ฉะนั้นเขาจึงให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะกว่าจะได้มาครอบครองมันยากพอๆ กับถูกล็อตเตอรี่ และการโดนคดีเกี่ยวกับรถมีค่าปรับยิบย่อยตั้งแต่เบาไปจนถึงหนัก ที่เรียกว่าถ้าหนึกก็คือหนักจริง ทั้งโทษที่หนัก และค่าปรับที่แสนแพง ซึ่งระบบนับแต้มคะแนนแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1. แต้มความผิดพื้นฐานสำหรับความผิดทั่วไป
2. แต้มความผิดพื้นฐานสำหรับความผิดเฉพาะ
3. แต้มความผิดเพิ่มเติมกรณีเกิดอุบัติเหตุ
4. แต้มความผิดเพิ่มเติมกรณีชนแล้วหนีจะมีโทษ
หากแต่จอดรถใกล้กับจุดปลอดภัย ยังไม่ชนคนก็โดนหักคะแนน 2 แต้ม และปรับ 5,000-9,000 เยน (1,477-2,604 บาท) แต่ถ้าจอดทับเส้น ทับทางม้าลาย ก็มีผิดฐานขัดขวางการข้ามถนน จะมีโทษปรับหนักกว่า คือ 6,000-12,000 เยน (1,736 – 3,472 บาท)
1
แต่ถ้าหากขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับเงินไม่เกิน 1 ล้านเยน (289,411 บาท) แต่ในกรณีชนแล้วหนี จะเพิ่มโทษไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเงินไม่เกิน 1 ล้านเยน (289,411 บาท) และโทษไม่แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับเงินไม่เกิน 5 หมื่นเยน (14,470 บาท)
รวมโทษแล้วจำคุก 17 ปี ปรับ 2.05 ล้านเยนหรือ (592,992 บาท)
1
ยิ่งพบว่าถ้าผู้ขับขี่มีอาการเมาแล้วขับขี่ด้วยโดยพิจารณาตามสภาพว่าไม่อยู่ในอาการที่จะควบคุมการขับขี่ได้ตามปกติ เช่น เดินเซ ตาปรือ หน้าแดงก่ำ ฯลฯ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านเยน (289,411 บาท) หักคะแนน 35 แต้ม และเพิกถอนใบขับขี่ 3 ปี มีแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่า 0.15 mg ต่อลมหายใจ 1 ลิตรโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนเยน (144,705 บาท) หักคะแนน 13-25 แต้ม และยึดใบขับขี่ตั้งแต่ 90 วัน ไปจนถึงเพิกถอนใบขับขี่ 2 ปี
หากเกิดอุบัติเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต จะมีความผิดในโทษฐานขับขี่อันตรายอันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 20 ปี ซึ่งเป็นโทษที่หนักกว่าการขับขี่โดยประมาทอันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ซึ่งกำหนดโทษไว้ไม่เกิน 7 ปี
จริงๆ ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นแต่มีอีกหลายประเทศที่กฎหมายจราจรมีความเข้มงวด คุ้มครองคนเดินเท้า และผู้ขับขี่ต้องพึงระวังไม่ให้ขับไปจน ไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะบีบแตรไล่ ไม่มีสิทธิ์จะหงุดหงิดคนกำลังข้ามถนน ต่อให้เขาจะเดินช้าแค่ไหนก็ตาม เพราะกฎหมายในต่างประเทศจะเลือกคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอที่สุดก่อน ซึ่งก็คือคนเดินเท้าที่จะเป็นผู้เสียหายมากที่สุด ฉะนั้นการข้ามถนนในต่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ปลอดภัยกว่าในเมืองไทย เพราะรถจำเป็นต้องชะลอหรือหยุดทันทีเมื่อเท้าของผู้ข้ามถนนเหยียบลงบนทางม้าลาย ต่อให้เขาจะไม่มองซ้ายหรือมองขวาก่อนเดินข้ามก็ตาม เพราะกฎหมายในต่างประเทศนั้นเอาผิดผู้ขับขี่จริงจังและรุนแรง
1
สำหรับประเทศไทยบทกำหนดโทษกรณีขับรถชนคนทั้งเจ็บและตายเอาไว้ดังนี้
กรณีขบรถโดยประมาท ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่มีคนบาดเจ็บ โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 43(4)
กรณีที่ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับ อันตรายแก่กายหรือจิตใจ โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 390 ประมวลกฎหมายอาญา
 
กรณีที่ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แก่กายหรือจิตใจ โทศจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 300 ประมวลกฎหมายอาญา
และกรณีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท มาตรา 291 ประมวลกฎหมายอาญา
ซึ่งหากให้การเป็นประโยชน์หรือไม่เคยกระทำความผิด ศาลก็อาจจะเมตตาลดโทษลงให้อีกกึ่งหนึ่ง หรือถ้าเป็นเยาวชนก็อาจจะพิจารณาไม่มีโทษจำคุก แต่ใช้วิธีห้ามขับขี่รถจนถึงอายุที่ศาลกำหนด เมื่อพ้นกำหนดแล้วก็สามารถขับขี่ได้ เช่นกรณีแพรวา 9 ศพ ที่ขับรถเก๋งชนรถตู้โดยสารจนตกลงมาจากทางด่วนโทลเวย์ดอนเมือง ซึ่งในเวลานั้นผู้ก่อเหตุยังเป็นแค่เยาวชน แต่ปัจจุบันเธอเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว แต่คดีความหลายคดีก็หมดอายุความเรียบร้อย ทำให้เธอหลุดคดีต่างๆ จนเกือบทั้งหมด และไม่ยังคงใช้ชีวิตปกติในปัจจุบัน
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา