23 ม.ค. 2022 เวลา 08:59 • ความคิดเห็น
เรามองว่าแต่ละคน มีมุมมองต่อคำว่า "ปัญหา" ต่างกันตามปัจจัยด้านอายุ เพศ และสังคมที่หล่อหลอมเขาขึ้นมา แต่ละคนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ต่างกัน จึงอาจมีภูมิต้านทานต่อปัญหาไม่เท่ากันค่ะ คำว่า "lesson learned" เป็นวลีฮิตที่พูดกันบ่อย เอามาแปลว่า "การถอดบทเรียน" แต่หลายครั้งก็ถอดจากปัญหาเดิมๆซ้ำๆ แล้วก็พากันควานหาโค้ช หรือ Theory หรือคำคมที่อ่านแล้วสร้างพลังใจ
5
เรื่องบางอย่างไม่ควรเรียกว่าปัญหา เพราะมันเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดแน่ แต่เราก็กลับบอกว่า มันคือปัญหาที่ต้องแก้ให้จบ และต้องไม่เกิดอีก บางปัญหา เราแก้ไม่ได้ด้วยตัวเองคนเดียว แต่เราก็ไม่มีสติพอที่จะใคร่ครวญ จึงมักเอาไปเครียดกับตัวเองว่า ทำไมเราโง่จัดการไม่ได้ บางปัญหาจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนรอบข้าง แต่คนเหล่านั้น กลับบอกเราว่า อยากแก้นักก็แก้ไปคนเดียว เพราะมันไม่มีทางแก้ได้ เราจึงมักสับสนและว้าวุ่นใจ ว่าจะเดินหน้าต่ออย่างไรดี ทำให้หลายคนประคองสติไม่ได้เลย
ปัญหาบางอย่าง แก้ได้แต่ต้องใช้เวลา แต่เราก็ใจร้อนเกินกว่าจะยอมรับมัน แถมยังด่วนสรุป ว่าปัญหานี้คงแก้ไม่ได้แน่นอน ปัญหาบางอย่างแก้ไม่ได้ ทำได้เพียงทุเลา หรือลดผลกระทบที่จะตามมา เราก็ยังด่วนสรุปอีกว่า ปัญหานี้ยังไงก็แก้ไม่ได้
เราเป็นสาวโสด มั่นใจสูง และเรามีความเชื่อส่วนตัวว่า ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นมีทางออกเสมอ คนเราเมื่อเกิดมาแล้ว ไม่ว่ารวยจน ทุกคนล้วนประสบปัญหาให้ต้องยอมรับและแก้ไขตั้งแต่เกิด จนกว่าจะตาย แต่หากเราเอาแต่นั่งอมทุกข์ไปวันๆ จนซึมเศร้า หรือมัวแต่คาดหวังว่าคนอื่นจะช่วย เราก็จะยิ่งทุกข์ใจหนักค่ะ
ขอบคุณคำถามค่ะ :)
โฆษณา