28 มี.ค. 2022 เวลา 15:00 • ประวัติศาสตร์
Astronomy Perception
Vision of sky and astro in Rattanakosin History
"พัฒนาการมุมมองของท้องฟ้าและดวงดาว: โดยศึกษาจากภาพจิตรกรรมขรัวอินโข่ง วัดบรมนิวาส"
คนไทยเรามองท้องฟ้าเป็นชั้นบรรยากาศสีฟ้า มีปุยเมฆ หรือเห็นดวงดาวยามค่ำคืนด้วยการรับรู้ของคนในยุค 2022 เลยหรือไม่? เราจะพาผู้อ่านที่น่ารักย้อนอดีตไปในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลที่ 4 ช่วงรอยต่อแห่งการเปลี่ยนแปลงกันค่า
ตัวอย่างงานของเราใน Content นี้ เราเลือกจิตรกรรมท้องฟ้าและดวงดาวในอุโบสถวัดบรมนิวาส โดยภาพท้องฟ้าและดวงดาวเมนหลักของเรานั้นอยู่ในบทบาทของภาพวิวทิวทัศน์ประกอบฉากปริศนาธรรม ซึ่งมีความน่าสนใจและสามารถบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้ไม่แพ้กันเลย
ลักษณะของภาพ เป็นภาพท้องฟ้าระบายด้วยสีฟ้าเข้มและการวาดลายเส้นที่สมจริงตามแนวคิด realistic ให้เป็นภาพท้องฟ้าที่สมจริงมากขึ้นกว่าสมัยก่อนหน้า เพียงแต่ยังผสมผสานกับเทวดาเหาะตามคติความเชื่อดั้งเดิม แต่มีการแสดงกิริยาท่าทาง มีความแตกต่างทางรูปลักษณ์ ทำให้ดูต่างจากเทพชุมนุมในจิตรกรรมไทยประเพณี
นอกจากเรื่องการวาดท้องฟ้าแล้ว สิ่งที่ทำให้เกิดข้อสังเกตเรื่องมุมมอง การรับรู้เกี่ยวกับจักรวาลก็คือภาพดวงดาวด้านบนสุดของผนังอุโบสถ
การแสดงออกถึงความเป็นระบบสุริยะจักรวาลในจิตรกรรมนี้คือ การมีดวงดาวในระบบสุริยะครบทั้ง 8 ดวง มีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลแทนเขาพระสุเมรุตามความเชื่อเดิม วาดด้วยลักษณะตามความเป็นจริงที่เห็นได้จากกล้องโทรทัศน์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาสู่สยาม ทำให้ทราบถึงความเข้าใจในระบบสุริยจักรวาล และแสดงถึงการปรับเปลี่ยนมุมมองของระบบจักรวาลเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่แล้ว
ปุจฉา ? แล้วทำไมต้องทำให้เป็นสมัยใหม่ด้วย
วิสัชณา ก็เพราะว่า ในรัชสมัยนี้อยู่ในช่วงของการล่าอาณานิคมจากตะวันตก ที่เข้ามาล่าดินแดน uncilization ไปเป็นอาณานิคม และยังเข้ามาพร้อมกับแนวคิดเรื่อง ความเป็นสมัยใหม่ (modernist)
แล้วมาตรวัดความเป็น civilization ก็คือความเป็นสมัยใหม่ ที่นิยมความเป็นวิทยาศาสตร์ สมเหตุสมผล สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งคุณสมบัตรเหล่านี้ก็พบได้ใน movement ของภาพจิตรกรรมสมัยนี้เลย
ทว่านอกจากบริบททางสังคมแล้ว ปัจจัยสำคัญก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงมีความนิยมในความเป็นสมัยใหม่เช่นกัน จึงทำให้การเคลื่อนไหวในครั้งนี้ทรงพลังมากยิ่งขึ้น (ก็สมัยนั้นท่านเป็นผู้นำสูงสุดอ่าเนอะ)
แต่ว่าๆ ทำไมยังมีภาพของนางฟ้าเทวดาอยู่ในฉากด้วย ประเด็นนี้มีการสันนิษฐานว่า เป็นการถ่วงสมดุลระหว่างความเชื่อในช่วงก่อนหน้า ที่มีความเชื่อเรื่องอมนุษย์และเทพอย่างเหนียวแน่น และเช่นเดียวกันคือ มีปัจจัยมาจากความเชื่อของผู้นำ ที่พระองค์ค่อนข้างเอนเอียงและเชื่อในเรื่องของนางฟ้า เทวดา ซึ่งมักจะปรากฎในงานศิลปะในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในรูปของจิตรกรรมและ ประติมากรรม
โดยการปรากฏร่วมกันของภาพดวงดาวตามหลักดาราศาสตร์ และภาพบุคคลคล้ายนางฟ้า เทวดา นั้น แสดงถึงรอยต่อการเริ่ทเข้าสู่ความเป็น modernist แบบตะวันตก ก่อนจะรับอิทธิพลตะวันตกย่างเต็มรูปแบบ ในสมัยรัชกาลที่ 5
สรุปแล้ว พัฒนาการและที่มาของการมองท้องฟ้าและดวงดาว นั้นเริ่มมาจาก การมองด้วยตามเปล่า ผสมความเชื่อ และ จินตนาการ พอมีบริบททางสังคมโลกและความนิยมจากผู้นำที่เอนเอียงไปตามแนวคิดที่เข้ามาด้วย จึงเกิดเป็นความเคลื่อนไหวทาศิลปะ และชิ้นงานที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ก็กลายเป็นสื่อให้ชาวเราได้เข้าใจมุมองภาพท้องฟ้าและดวงดาวในมุมของววิทยาศาสตร์
Skyscape & Astronomy Perception
How Thai people have a development of vision with sky and astronomy.
โฆษณา