25 ม.ค. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การดู Free Float สัดส่วนการถือหุ้นของ “รายย่อย” ทำไมถึงสำคัญ ?
1
คนที่ลงทุนในหุ้นน่าจะเคยได้ยินคำว่า “Free Float” กันมาบ้าง
แล้วเคยสงสัยไหมว่า คำนี้คืออะไร และบอกอะไรเราได้บ้าง
เพราะมีนักลงทุนหลายคนก็ให้ความสำคัญกับตัวเลขนี้
เพิ่มเติมจาก ผลประกอบการและแนวโน้มในอนาคตของธุรกิจ
1
แล้ว Free Float มีความสำคัญ มากน้อยแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับคำว่า Free Float กันก่อน
Free Float คือ ปริมาณการถือครองหุ้นของ “ผู้ลงทุนรายย่อย”
ซึ่งผู้ลงทุนรายย่อย คือ ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหาร และไม่ได้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์เชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ
1
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ
เช่น ถ้าบริษัท A มีหุ้นอยู่ 100 ล้านหุ้น ถูกถือโดยนักลงทุนรายย่อย 60 ล้านหุ้น
หมายความว่า บริษัทมีสัดส่วน Free Float เท่ากับ 60%
ซึ่งก็หมายความว่า
- หุ้นตัวไหนที่มีสัดส่วน Free Float สูง ๆ แปลว่า มีผู้ลงทุนรายย่อยถือหุ้นตัวนั้นมาก
- หุ้นตัวไหนที่มีสัดส่วน Free Float ต่ำ ๆ แปลว่า มีผู้ลงทุนรายย่อยถือหุ้นตัวนั้นน้อย
แล้วสัดส่วน Free Float มันสะท้อนอะไร ?
หุ้นตัวไหนที่มีสัดส่วน Free Float สูง หมายความว่า มีหุ้นที่อยู่ในมือรายย่อยที่พร้อมจะปล่อยออกมาหมุนเวียนในตลาดมาก มีสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นในระดับสูง ซึ่งจะช่วยให้สามารถซื้อขายหุ้นได้อย่างคล่องตัว และราคาในตลาดจะใกล้เคียงราคาที่เหมาะสม เพราะมีผู้ที่มีส่วนร่วมจำนวนมากในการกำหนดราคาซื้อขาย
2
ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ก็มีการกำหนดให้ Free Float เป็นหนึ่งในคุณสมบัติข้อสำคัญที่บริษัทจดทะเบียนต้องปฏิบัติตาม โดยเกณฑ์ขั้นต่ำคือ บริษัทจดทะเบียน ต้องมีสัดส่วน Free Float ไม่น้อยกว่า 15% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ชำระแล้ว
 
แล้วในแง่ของบริษัท การที่มีระดับ Free Float ถูกต้องตามเกณฑ์และอยู่ในระดับที่เหมาะสม มันก็จะมีผลดีอย่างไรบ้าง ?
1
- หุ้นของบริษัทมีสภาพคล่องในการซื้อขาย ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ลงทุน
สภาพคล่องของหุ้น ถือเป็นหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้บริษัทได้รับความสนใจ
ลองนึกดูว่า ถ้านักลงทุนเจอหุ้นของบริษัทสักแห่งที่มีความแข็งแกร่งในด้านการเงิน และธุรกิจมีศักยภาพที่จะเติบโตไปได้ในอนาคต พวกเขาก็คงอยากจะเข้าไปลงทุนในหุ้นตัวนั้น
แต่ถ้าหุ้นตัวนั้นมีสภาพคล่องน้อย มีปริมาณหุ้นที่หมุนในตลาดหรือ Free Float ต่ำ ก็อาจทำให้นักลงทุนไม่อยากเข้าไปลงทุนซื้อขายหุ้นของบริษัท
เนื่องจากถ้านักลงทุนจะซื้อหุ้นในปริมาณมาก ก็อาจต้องเสนอซื้อในราคาที่บวกค่าพรีเมียมขึ้นมา และถ้าจะขายหุ้นปริมาณมากในอนาคต ก็อาจขายได้ยาก ต้องให้ส่วนลดกว่าราคาในตลาด
2
- มีโอกาสได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนต่างประเทศ
เวลานักลงทุนสถาบัน หรือนักลงทุนต่างประเทศจะมาลงทุนในไทย
ส่วนใหญ่ก็จะพิจารณาลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน ดัชนีราคาหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ เช่น SET50, SET100
1
ซึ่งบริษัทที่ผ่านเกณฑ์ Free Float และมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง ๆ ก็มักจะมีโอกาสได้รับการจัดเข้าไปอยู่ในดัชนีเหล่านี้
2
เพราะฉะนั้น หุ้นที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้
ก็มักได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากกองทุนบางกองนั้น มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ต้องลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนีดังกล่าว
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ Free Float เป็นอีกหนึ่งตัวเลขสำคัญ ที่สามารถช่วยบอกนักลงทุนในระดับหนึ่งได้ว่า หุ้นตัวนั้น ๆ มีปริมาณการเก็งกำไรมาก หรือน้อยแค่ไหน
เช่น กรณีของบริษัท A ที่ปริมาณหุ้นมี Free Float อยู่ 60 ล้านหุ้น
ถ้าในแต่ละวัน ปริมาณหุ้นที่มาซื้อขายหมุนเวียนในตลาดนั้นมีมากกว่า 60 ล้านหุ้น หมายความว่า หุ้นบริษัท A มีการเปลี่ยนมือกันในแต่ละวันสูงและเร็วมาก
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ หุ้นทุกหุ้นถูกซื้อและอาจจะขายทันทีภายในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า หุ้นตัวนั้นอาจมีการเก็งกำไรสูง
1
นอกจากนี้ หุ้นที่มีสัดส่วน Free Float ต่ำ มักจะกลายมาเป็นหุ้นที่ถูก “Corner” ได้ง่าย
การ Corner หุ้น หมายถึง การที่นักลงทุนเข้ามากวาดซื้อหุ้นในจำนวนมาก จนหุ้นที่ซื้อขายหมุนเวียนในตลาดนั้นเกือบหมด และคนที่กวาดซื้อหุ้นไปอยู่ในมือจำนวนมาก ก็จะมีอิทธิพลในการกำหนดความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในตลาดได้
1
ที่น่าสนใจคือ ในอดีตหุ้นที่ถูก Corner มักเป็นหุ้นของบริษัทที่มีขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง มูลค่าบริษัทไม่เกินหลักร้อยหรือพันล้านบาท
แต่ในปัจจุบัน แม้แต่บริษัทที่มีมูลค่าเป็นหลักแสนล้านบาท ก็สามารถกลายเป็นหุ้นที่ถูก Corner ได้ ถ้าหุ้นตัวนั้นเป็นหุ้นที่มี Free Float ต่ำ จนทำให้นักลงทุนรายใหญ่ไม่กี่คนสามารถเข้ามากวาดซื้อหุ้นในกระดานจนหมดได้
3
และนี่คือ ความหมายของคำว่า Free Float หรือสัดส่วนการถือหุ้นของรายย่อย
ซึ่งเป็นข้อมูลอีกตัวที่น่าสนใจ และมีประโยชน์ไม่น้อยสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้น..
4
References
โฆษณา