25 ม.ค. 2022 เวลา 07:38 • สุขภาพ
เลี่ยงไม่พ้น ไทยพบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ 2 (BA.2) แล้ว พร้อมกับ 40 ประเทศทั่วโลก
1
มีรายงานจากเพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รายงานในเบื้องต้นว่า ตรวจพบไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ 2 ที่เรียกว่าสายพันธุ์ล่องหน (Stealth)ในประเทศไทยแล้ว 2 ราย
จะทำการถอดรหัสครบทั้งตัว คือดูรหัสพันธุกรรมทั้ง 30,000 ตำแหน่ง เพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
โดยองค์ความรู้เกี่ยวกับไวรัสโอมิ
ครอนก็คือ เป็นไวรัสสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่แตกต่างจากไวรัสอู่ฮั่นมากที่สุดคือ ประมาณมากกว่า 60 ตำแหน่ง
และกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งหนามมากถึง 32 ตำแหน่ง ซึ่งมากกว่าเดลต้าถึง 3.5 เท่า
และเป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อไวรัสได้มีการเพิ่มจำนวนอย่างมาก คือมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ก็จะมีโอกาสกลายพันธุ์ตามธรรมชาติสูงด้วย
1
ถ้ากลายพันธุ์ไม่แตกต่างจากตัวเดิมมากนัก ก็จะเรียกว่าสายพันธุ์ย่อย(Subtype/ Subvariant)
1
ซึ่งขณะนี้ตรวจพบทั้งหมด 3 สายพันธุ์ย่อยได้แก่ BA.1 , BA.2 , BA.3
โดยสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง (BA.1) เป็นสายพันธุ์หลักของโลก มีการถอดรหัสไปแล้วกว่า 510,000 ตัวอย่าง มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่แตกต่างไปจากสายพันธุ์หลัก 60-70 ตำแหน่ง พบใน 160 ประเทศทั่วโลก
ส่วนสายพันธุ์ย่อยที่สอง (BA.2) พบแล้ว 40 ประเทศทั่วโลก 10,811 ตัวอย่าง แต่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของสารพันธุกรรมมากถึง 70-80 ตำแหน่ง ทำให้มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง
โดยในประเทศเดนมาร์กพบไปแล้วประมาณร้อยละ 50 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด และกำลังทยอยพบมากขึ้นในอังกฤษ สวีเดน และนอร์เวย์
1
ส่วนสายพันธุ์ย่อยที่สาม (BA.3) ยังพบน้อยอยู่ และมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเพียง 55-60 ตำแหน่ง
1
การตรวจพบสายพันธุ์ย่อยที่สอง จะทำได้ยากกว่าสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง เนื่องจากการตรวจด้วยวิธี PCR ธรรมดาจะแยกสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่งออกจากเดลต้าได้
1
แต่จะไม่สามารถแยกสายพันธุ์ย่อยที่สองออกจากเดลต้าได้ จึงทำให้เรียกกันว่า สายพันธุ์ล่องหน (Stealth)
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ใช้วิธีที่สามารถตรวจพบสายพันธุ์ย่อยที่สองได้ ต้องขอแสดงความชื่นชมในการที่พัฒนาการตรวจจนทราบผลเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว
ก็คงเป็นเรื่องที่จะต้องยอมรับความจริงกันว่า ไวรัสก่อโรคโควิด จะมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา
เมื่อมีสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง ก็ย่อมมีสายพันธุ์ย่อยที่สอง และสาม ต่อไปเรื่อยๆ
และขณะนี้มีแนวโน้มว่า สายพันธุ์ย่อยที่สอง จะแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง
แต่ยังไม่พบรายงานว่า จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงหรือดื้อต่อวัคซีนมากกว่าสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง
ก็คงจะต้องติดตามเรื่องไวรัสโคโคโรนาที่ก่อโรคโควิดกันต่อไป ประมาทไม่ได้เลยครับ
Reference
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
โฆษณา