28 ม.ค. 2022 เวลา 11:50 • ธุรกิจ
ปูนซิเมนต์ไทย บริษัทที่รายได้หลัก ไม่ได้มาจากธุรกิจปูน
1
เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานว่าบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี
กำลังจะนำบริษัทในเครือ หรือเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์
2
แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าในวันนี้บริษัทที่หลายคนเรียกกันว่าปูนใหญ่
กลับไม่ได้มีรายได้หลักมาจากธุรกิจปูน
แล้วบริษัทแห่งนี้มีรายได้หลักจากธุรกิจอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามารู้จัก เอสซีจี กันก่อน
จุดเริ่มต้นของ เอสซีจี ย้อนกลับไป เมื่อร้อยกว่าปีก่อน
ในสมัยที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยกำลังเติบโต
สมัยนั้น ประเทศไทยยังต้องอาศัยการนำเข้า “ปูนซีเมนต์” ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างสำคัญจากต่างประเทศ
เอสซีจี จึงถูกก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2456 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
เหตุผลสำคัญก็เพื่อให้ประเทศไทยสามารถผลิตปูนซีเมนต์ใช้เองได้ ซึ่งก็จะช่วยให้เราลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
โดยมีพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน เข้ามาถือหุ้น 55%
และอนุญาตให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน โดยมีเงื่อนไขให้ชาวต่างชาติ ถือหุ้นได้ไม่เกิน 25%
เอสซีจี ได้ตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์แห่งแรก ที่เขตบางซื่อ
เพราะว่าบางซื่อมีทำเลติดกับสถานีรถไฟ และติดกับคลองเปรมประชากร
ทำให้มีความได้เปรียบเรื่องความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางบกและทางน้ำ
2
รู้หรือไม่ว่าชื่อของย่าน “เตาปูน” ในเขตบางซื่อนั้น
ก็มีที่มาจากการที่มีโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ของเอสซีจี ไปตั้งอยู่ นั่นเอง
3
ต่อมา เอสซีจี ได้เพิ่มกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ โดยขยายโรงงานไปอีกหลายที่
เช่น อำเภอแก่งคอย อำเภอทุ่งสง เพื่อรองรับการเติบโตตามการก่อสร้างในประเทศ
รวมถึงได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจอื่น สร้างการเติบโตให้บริษัทผ่านทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย
1
ปัจจุบัน เอสซีจี ได้กลายมาเป็นธุรกิจโฮลดิง โดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น
ประกอบไปด้วย 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่
1
- ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง
2
มีกลุ่มสินค้าหลักคือ กลุ่มสินค้าปูนซีเมนต์ กลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และกลุ่มสินค้าเซรามิก ตัวอย่างตราสินค้า เช่น ตรา เอสซีจี, ตรา CPAC, ตรา Q-CON และตรา COTTO
- ธุรกิจเคมิคอลส์
1
ธุรกิจปิโตรเคมีเม็ดพลาสติก ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงบริการขนถ่ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ผ่านทางท่อขนส่งและท่าเทียบเรือ
2
นอกจากนั้น ยังมีบริการอื่น ๆ เช่น การให้บริการเคลือบเตาเผาอุตสาหกรรม การให้บริการหุ่นยนต์ตรวจสอบ การให้ใช้สิทธิการใช้เทคโนโลยี และโซลูชันโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ
- ธุรกิจแพ็กเกจจิง
ประกอบด้วย 2 ธุรกิจย่อย ก็คือ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร และธุรกิจเยื่อและกระดาษ
โดยมีตัวอย่างตราสินค้า เช่น ตรา Green Carton, ตรา Idea Green, ตรา Fest
1
หากเรามาดูผลการดำเนินงานของ เอสซีจี ในช่วงที่ผ่านมา
ปี 2562 รายได้ 446,827 ล้านบาท กำไร 32,014 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 407,217 ล้านบาท กำไร 34,144 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 540,706 ล้านบาท กำไร 47,174 ล้านบาท
3
ซึ่งบริษัทก็มียอดขายตามแต่ละประเทศ แบ่งออกเป็นในประเทศไทย 54% กลุ่มประเทศอาเซียน 27% และประเทศอื่น 19%
โครงสร้างรายได้ตามกลุ่มธุรกิจ
- ธุรกิจเคมิคอลส์ 45%
- ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง 34%
- ธุรกิจแพ็กเกจจิง 21%
จากสัดส่วนรายได้จะเห็นได้ว่าแม้เอสซีจีจะเริ่มต้นจากธุรกิจปูน
แต่ในวันนี้ ธุรกิจเคมิคอลส์ กลายมาเป็นธุรกิจหลัก
ซึ่งก็ได้ทำรายได้เป็นเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งบริษัท
ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เอสซีจี ก็ได้มีกลยุทธ์ในการ Spin-off หรือก็คือการแยกธุรกิจในเครือมาจดเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อปลดล็อกมูลค่าบริษัท รวมถึงช่วยเพิ่มอิสระในการบริหารงานของบริษัทลูก
1
โดยบริษัทแรกก็คือ ธุรกิจแพ็กเกจจิง หรือ SCGP ซึ่งได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปแล้วเรียบร้อย ปัจจุบัน มีมูลค่าบริษัทกว่า 270,000 ล้านบาท
และอีกบริษัทก็คือ ธุรกิจเคมิคอลส์ หรือ SCGC ที่เป็นธุรกิจหลักของเอสซีจีในวันนี้ ก็ได้รายงานว่ากำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งก็น่าติดตามเหมือนกันว่าบริษัทแห่งนี้ จะมีมูลค่าเท่าไร
1
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
เอสซีจี ใช้ตัวย่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า “SCC” เป็น 1 ใน 8 บริษัทที่จดทะเบียนเข้ามาตั้งแต่วันแรกที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดทำการในปี 2518 หรือราว 47 ปีก่อน และยังคงซื้อขายอยู่จนถึงปัจจุบัน..
References
โฆษณา