30 ม.ค. 2022 เวลา 02:50 • อาหาร
หากโลกผลิตเนื้อสัตว์ไม่เพียงพอ เราจะกินอะไรทดแทน ?
เมื่อไม่นานมานี้ UNEP หรือโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะมีจำนวนแตะ 10,000 ล้านคน ภายในปี 2050
เราจึงต้องเพิ่มกำลังการผลิตเนื้อสัตว์ถึง 56% เพื่อให้เพียงพอต่อประชากรที่เพิ่มขึ้น
1
แต่ต่อให้เราจะอยากเพิ่มกำลังการผลิตมากแค่ไหน
ก็ดูเหมือนว่าพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับการผลิตเนื้อสัตว์แบบดั้งเดิมนั้น
ไม่สามารถรองรับสำหรับประชากรในอนาคตที่เพิ่มมากขึ้นได้อีกแล้ว
แล้วถ้าโลกผลิตเนื้อสัตว์ไม่เพียงพอ เราจะกินอะไรทดแทน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
เมื่อการปศุสัตว์ดั้งเดิมกำลังมีปัญหาเรื่องพื้นที่ กำลังการผลิต และสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นสิ่งที่จะกลายเป็นอาหารทางเลือกในอนาคต “ต้องสามารถลดปัญหาเหล่านี้ได้”
แต่แค่ลดปัญหายังไม่พอ เพราะเพื่อให้คนเรามีสุขภาพที่ดีเช่นเดิม
คุณสมบัติต่อมาที่ขาดไม่ได้เลย จึงเป็น “คุณค่าสารอาหาร”
ที่ควรจะมีไม่ต่างจากสิ่งที่เรากินกันอยู่ในปัจจุบัน
แล้วปัจจุบัน มันมีอะไรบ้าง ?
1. แมลง
แม้ว่าจากข้อมูลสถิติทั่วโลก พบว่ามีมนุษย์ที่เคยบริโภคแมลงถึง 2,000 ล้านคนแล้ว
แต่แมลงก็ยังไม่ได้ถูกเลือกเป็นอาหารหลัก เหมือนกับหมู ไก่ หรือวัว ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ได้เสนอให้แมลงกลับมาเป็นแหล่งอาหารในอนาคตอีกครั้ง
พร้อมประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้คนหันมาบริโภคแมลงกันมากขึ้น
ทำไม FAO ถึงบอกว่าแมลงเป็นอาหารแห่งอนาคต ?
เหตุผลก็เพราะว่า การบริโภคแมลงนั้น ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์
ฝ่ายแรกคือ ผู้บริโภค จะได้รับสารอาหารที่มากกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไป
โดยแมลงนั้นมีสารอาหารตั้งแต่ โปรตีน วิตามิน ไฟเบอร์ แคลเซียม สังกะสี ไปจนถึงธาตุเหล็ก แต่ให้แคลอรีที่ต่ำกว่า
2
สำหรับฝ่ายผู้ผลิต เนื่องจากแมลงสามารถเลี้ยงในพื้นที่ขนาดเล็กได้ ทนต่อสภาพแวดล้อม ไม่มีโรคระบาด และใช้อาหารจำนวนเล็กน้อยในการเลี้ยง ต้นทุนในการเลี้ยงจึงค่อนข้างต่ำ
สำหรับในด้านของสิ่งแวดล้อมก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
เพราะการเลี้ยงแมลงนั้น สร้างก๊าซเรือนกระจกน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเลี้ยงสัตว์สำหรับบริโภคประเภทอื่น
เพื่อให้เห็นภาพ เราลองมาดูตัวอย่างประกอบระหว่าง จิ้งหรีด และ วัว
รู้ไหมว่าเมื่อคิดโปรตีนในปริมาณเท่ากัน การเลี้ยงจิ้งหรีดนั้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.1% ของวัวเท่านั้น
รวมถึงการใช้ทรัพยากร เช่น น้ำ โดยจิ้งหรีดจะใช้น้ำในการเลี้ยงเพื่อสร้างโปรตีนขนาดหนึ่งกรัม
โดยใช้น้ำเพียง 23 ลิตร น้อยกว่าวัวที่ใช้ถึง 112 ลิตร พูดง่าย ๆ คือใช้น้อยกว่าราว 5 เท่า เลยทีเดียว
1
จากเรื่องราวเหล่านี้ ส่งผลให้มีหลายบริษัทที่มุ่งเน้นการนำแมลงมาแปลงเป็นอาหาร
โดยหนึ่งในบริษัทที่น่าสนใจคือ “Gourmet Grubb” สตาร์ตอัปสัญชาติแอฟริกาใต้
ที่นำแมลงมาผลิตเป็นไอศกรีม เพื่อเปลี่ยนมุมมองของผู้คนให้เปิดใจกับแมลงกันมากขึ้น
ซึ่งหลังจากออกผลิตภัณฑ์มาก็ได้รับผลตอบรับที่ดี ทำให้ปัจจุบันสตาร์ตอัปแห่งนี้ขยายเมนูไปสู่อาหารคาวต่าง ๆ ตามมา เช่น พาสตาผงแมลง โครเกตต์ตัวอ่อน และฮัมมูสหนอน
2
ก็ดูเหมือนว่า แมลงกำลังเข้าสู่เส้นทางการเป็นอาหารทางเลือกในบางพื้นที่ของโลกนี้
อย่างไรก็ดี แน่นอนว่ามีคนบางส่วนที่ไม่ชอบทั้งกลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัสของแมลง
นั่นทำให้เกิดทางเลือกอื่นตามมา ที่สามารถเลียนแบบคล้ายกับเนื้อสัตว์จริง ๆ
1
2. Plant-based Meat หรือ เนื้อสัตว์จากพืช
อธิบายเนื้อสัตว์จากพืชง่าย ๆ ก็คือ อาหารที่ทำมาจากพืชที่ให้โปรตีนสูง เช่น ถั่ว เห็ด อัลมอนด์
แต่มีการพัฒนาด้านรสชาติ กลิ่น และรูปลักษณ์ ให้เหมือนกับผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
แม้ว่าเนื้อสัตว์จากพืช จะเริ่มเป็นที่พูดถึงในวงกว้างเมื่อไม่นานมานี้
แต่จริง ๆ แล้วแนวคิดเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ประเภทนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
หากพูดถึงสิ่งที่หลายคนน่าจะคุ้นเคย ก็คงไม่พ้น “โปรตีนเกษตร”
ซึ่งหากใครเคยชิมรสชาติมาก่อน จะไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมถึงไม่เป็นที่นิยม
1
เพราะแม้ว่าจะสามารถใช้แทนเนื้อสัตว์ในการปรุงอาหาร เช่น ผัดกะเพรา ผัดเผ็ด หรือคั่วกลิ้ง ก็ตาม แต่เนื้อสัมผัสและรสชาตินั้น ก็ยังไม่ต่างอะไรไปจากถั่วเหลือง
คนที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์จึงไม่ค่อยเปิดใจ
การบริโภคโปรตีนเกษตรจึงอยู่ในวงแคบเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ปัญหาเหล่านี้กำลังค่อย ๆ หมดไป
เมื่อเทคโนโลยีปัจจุบันเริ่มสามารถลอกเลียนแบบเนื้อสัตว์ได้แทบทุกมิติแล้ว
ตั้งแต่ การลอกเลียนรสชาติ ด้วยการดึงโมเลกุลของธาตุเหล็ก มาสร้างรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์
สร้างเนื้อสัมผัส ด้วยการใช้เทคโนโลยีขึ้นรูปด้วยความชื้นสูง
สร้างสารอาหาร ด้วยการสกัดโปรตีนจากพืช
1
ด้วยสาเหตุนี้เอง จึงทำให้เนื้อสัตว์จากพืชเริ่มเป็นกระแส
รวมถึงกลายเป็นทางเลือกหลักของคนบางกลุ่มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สังเกตได้จากความสำเร็จของ “Beyond Meat” บริษัทผลิตเนื้อจากพืช
ที่สามารถสร้างรายได้ปี 2020 ที่ 13,600 ล้านบาท
3
ซึ่งล่าสุดบริษัทยังร่วมมือกับ KFC ในการจัดจำหน่ายไก่ทอดจากพืช
โดยเริ่มขายวันแรกในวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา กว่า 4,000 สาขาทั่วสหรัฐอเมริกา
แต่นอกจากเรื่องการลอกเลียนแล้ว คำถามสำคัญต่อมาคือ อาหารเหล่านี้ดีต่อสุขภาพหรือไม่ ?
1
หากเทียบเนื้อสัตว์จากพืชกับเนื้อสัตว์ทั่วไป
จะพบว่ามีปริมาณไขมันรวมและไขมันอิ่มตัวที่ต่ำกว่า
เส้นใยอาหารสูงกว่า รวมถึงมีโปรตีนและแคลอรี ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
1
จากตรงนี้ ก็ดูเหมือนว่าเนื้อสัตว์จากพืชนั้นจะมีประโยชน์มากกว่า
แต่ความจริงแล้วกลับไม่เป็นอย่างนั้น
เพราะปัจจุบันเนื้อสัตว์จากพืชยังมีปริมาณโซเดียมที่สูง
สิ่งนี้เองทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และนำไปสู่โรคอื่นตามมา
เช่น ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง
1
ดังนั้นหากเวลานี้ใครสนใจเนื้อสัตว์จากพืชเป็นทางเลือก
นักโภชนาการแนะนำให้บริโภคไม่เกิน 2 ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์
2
3. Cultured Meat หรือ เนื้อสัตว์จากการเพาะในห้องแล็บ
หากใครมีมุมมองว่า เนื้อสัตว์จากพืชยังไม่ใช่เนื้อสัตว์ที่แท้จริง
4
อีกนวัตกรรมเนื้อสัตว์ทดแทนที่มีอยู่ในตอนนี้ก็คือ “เนื้อสัตว์จากการเพาะในห้องแล็บ”
เนื้อเทียมที่เหมือนเนื้อสัตว์ทั่วไป เพียงแต่ไม่มีสัตว์ใด ๆ
ที่จะต้องถูกฆ่าหรือทำอันตรายสำหรับการผลิตเนื้อสัตว์เลย
คำถามก็คือ จะสร้างเนื้อสัตว์ได้อย่างไร ?
คำตอบก็คือ สร้างโดยนำสเต็มเซลล์ของสัตว์ต้นแบบมาเพาะเลี้ยงจนเซลล์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และเกาะตัวกันเป็นแผ่นคล้ายเส้นใยกล้ามเนื้อในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต จนในที่สุดเราก็จะได้เนื้อเทียมที่เหมือนเนื้อสัตว์ทั่วไป
1
หลายคนอาจมีคำถามต่อไปว่าในเมื่อเทคโนโลยีพัฒนามาถึงขนาดนี้แล้ว
แต่ทำไมเรายังไม่เห็นเนื้อสัตว์จากการเพาะในห้องแล็บวางจำหน่าย
เหตุผลสำคัญก็เพราะว่าที่ผ่านมาการผลิตเนื้อสัตว์ประเภทนี้ มีต้นทุนที่สูงเกินไป
โดยในปี 2013 ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 660,000 บาทต่อกิโลกรัม
จึงยังคงเป็นเรื่องยาก ที่จะผลิตในเชิงพาณิชย์ได้
2
อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญคือ เรื่องของกฎหมาย
1
เนื่องจากเนื้อสัตว์จากการเพาะในห้องแล็บ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างใหม่
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA จึงต้องใช้เวลาวางกรอบการกำกับดูแลเป็นเวลานาน
ด้วยสาเหตุหลักสองอย่างนี้ ทำให้เนื้อสัตว์จากการเพาะในห้องแล็บยังไม่สามารถวางจำหน่ายได้ นั่นเอง
1
อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้ว ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศแรก
ที่เปิดให้บริษัทต่าง ๆ สามารถจำหน่ายเนื้อสัตว์จากการเพาะในห้องแล็บได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดย “Eat Just” หนึ่งในบริษัทผลิตเนื้อเทียม
ก็ได้เข้าไปทำการวางจำหน่ายหนึ่งผลิตภัณฑ์แล้ว
นั่นคือ เนื้อไก่ที่เพาะจากห้องแล็บ
นอกจากประเทศสิงคโปร์เริ่มเคลื่อนไหวแล้ว ประเทศสหรัฐอเมริกาก็ไม่ต่างกัน
โดยขณะนี้องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ก็กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ให้เนื้อสัตว์จากการเพาะในห้องแล็บถูกกฎหมาย และวางจำหน่ายในประเทศได้ เช่นเดียวกัน
2
ดูเหมือนว่าในที่สุดเราก็ใกล้ถึงเวลาที่จะเห็นเนื้อจากการเพาะในห้องแล็บวางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่ต่างจากเนื้อสัตว์ทั่วไปที่เรากำลังบริโภคอยู่เลย
ถ้าใครคิดว่านวัตกรรมจะหยุดที่ตรงนี้ ก็ต้องบอกว่าช้าก่อน ยังมีอีก
โดยนวัตกรรมเนื้อทดแทนล่าสุด ก็คือเนื้อสัตว์จากอากาศ หรือ “Air-based Protein”
เนื้อสัตว์ประเภทใหม่นี้ เพิ่งถูกคิดค้นขึ้นมา
โดย 2 นักวิทยาศาสตร์คือ Dr. Lisa Dyson และ Dr. John Reed
1
พวกเขาได้แนวคิดการสร้างอาหารจากอากาศมาจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ที่สามารถเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นสารอาหารได้
จากแนวคิดก็นำมาสู่การวิจัย จนในที่สุดก็สามารถสร้างเนื้อสัตว์ได้จริง
โดยกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์จะมีขั้นตอนดังนี้
1. นำอากาศ ที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และไนโตรเจน มารวมกับน้ำ
แร่ธาตุ และสารอาหาร
2. นำไปเลี้ยงแบคทีเรียในถังหมักระบบปิด เพื่อให้ผลิตกรดอะมิโนออกมา
1
3. นำกรดอะมิโนมาสกัดเป็นผงแป้งสีน้ำตาลอ่อน ที่ไม่มีรสชาติ
1
4. ขึ้นรูปโดยอาศัยความร้อนและความดัน รวมถึงเทคนิคการปรุงอาหาร เพื่อให้มีรูปร่าง ลักษณะ และรสชาติเหมือนกับเนื้อสัตว์
1
แม้ว่า 2 นักวิทยาศาสตร์จะสามารถวิจัยงานได้สำเร็จ
1
แต่ก็ต้องติดตามต่อว่า สุดท้ายแล้วเนื้อสัตว์จากอากาศจะตอบโจทย์เชิงพาณิชย์ได้มากน้อยแค่ไหน
แต่ Air Protein สตาร์ตอัปผลิตอาหารจากอากาศ ที่พวกเขาก่อตั้งขึ้นนั้น
ก็สามารถระดมทุนได้ถึง 1,000 กว่าล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งบริษัทก็จะนำเงินระดมทุนที่ได้ไปขยายกำลังการผลิตต่อไป
7
ทั้งหมดที่เล่ามานี้ ก็เป็นสรุปเกี่ยวกับทางเลือกและนวัตกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ทดแทน
ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาข้อจำกัดด้านการปศุสัตว์ดั้งเดิม
ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ว่าคนในยุคต่อ ๆ ไป
อาจจะกินทั้งแมลง และเนื้อสัตว์จากอากาศ เป็นประจำทุกวันเลยก็ได้ ใครจะรู้..
References
โฆษณา