30 ม.ค. 2022 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วางแผนเกษียณอย่างไร ให้สบายทั้งชาติ 😎
[คำนวณเงินก้อนที่ต้องใช้ยามเกษียณ พร้อมกำหนดเป้าหมายเกษียณสบายตั้งแต่วันนี้เลย]
วันนี้ #เด็กการเงิน จะชวนทุกคนมาขบคิดว่า เป้าหมายเกษียณของเราต้องใช้เงินเท่าไหร่จึงจะสบาย? ซึ่งเราสรุปมาให้อย่างง่ายใน 3 ขั้นตอนด้วยกัน
เพื่อให้อินตามไปด้วยกัน
ขอให้สมมติเป็นการวางแผนเกษียณให้กับตัวเอง เพียงแค่ดูตารางก็เข้าใจได้ ไม่ต้องกดเครื่องคิดเลข!!
พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยนะ
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดอายุเกษียณ และอายุขัย
ก่อนเข้าการคำนวณว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ เราต้องรู้ว่าเราจะ"หยุดการสร้างรายได้แบบ active" เมื่อไหร่ ซึ่งโดยทั่วไป จะกำหนดอายุเกษียณอยู่ที่ 60 หรือ 65 ปี หรือบางคนมี passion ทำงานไปได้ถึง 70 ปีเลย แต่ในทางหนึ่ง อาจจะมีคนอยากเกษียณเร็ว แล้วสร้างรายได้passive เอา ซึ่งตรงนี้ก็กำหนดได้เลยว่าเราจะเกษียณภายใน x ปี
ต่อจากนั้น และประมาณระยะเวลาที่อยู่ต่อจนจากโลกนี้ไปใน y ปี (ซึ่งอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยอยู่ในช่วง 80-90 ปี) ตรงนี้ถ้าใครเกษียณไวกว่า 60 ปี ก็จะมีเวลามากขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณค่าใช้จ่ายในอนาคต
จำลองค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ และคูณด้วยค่าเงินเฟ้อเป็นเวลา x ปี เพื่อจะได้รู้ว่า ณ วันที่เราเกษียณ เงินมันได้เฟ้อไปถึงเท่าไหร่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น 30,000 บาท ต่อเดือนหลังเกษียณ [เป็นตัวเลขที่เราคิดว่าเป็นการกินอยู่อย่างพอเพียง นั่นคือวันละ 1,000 บาท ถ้ามีสุขภาพดีปานกลาง ไม่ได้มีโรคประจำตัว] ตัวเลขนี้ในอีก 30 ปี ข้างหน้า คือ 54,340 บาทต่อเดือน จากนั้นประเมินว่าถ้าเรามีเวลาอยู่บนโลกนี้อีก 20 หรือ 30 ปี เราจะต้องมีเงินก้อนวันที่เกษียณเป็นเท่าใด ถึงตรงนี้เราจะได้ตัวเลขประมาณ 12 ล้านบาท (และอยู่ไปได้อีก 20 ปี) ซึ่งเราอยากให้ทุกคนมีในวันที่เกษียณเป็นอย่างน้อย จึงจะเรียกได้ว่า"สบาย" ถ้ามีมากกว่านั้นเราก็จะยิ่งสบาย
อย่าเพิ่งตกใจกับตัวเลขที่เห็น เรามีคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มเก็บเงินเกษียณว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิด !!
อนึ่ง เราได้ตั้งสมมติฐานว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับ 2% ต่อปี และเงินก้อนที่มีในช่วงเกษียณนั้นยังสามารถให้ผลตอบแทนเท่ากับหรือมากกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งตอนนั้นเราอาจจะยังลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ได้เสี่ยงมากเกินไป จัดพอร์ตให้มีความเสี่ยงปานกลางถึงน้อย หรือ มีสอนทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับที่น้อยมาก
ขั้นตอนที่ 3 ตั้งเป้าวางแผนเก็บเงินให้เพียงพอต่อความต้องการ
เมื่อรู้เป้าหมายที่เราจะเก็บให้ถึงแล้ว จึงมากำหนดเป็นสัดส่วนเงินออม/ลงทุน โดยตั้งเป้าผลตอบแทนให้เหมาะสม 5-7% ต่อปี ดังนั้นสินทรัพย์พวกหุ้น หรือกองทุนหุ้น จะมีส่วนสำคัญในการให้ผลตอบแทนในระดับดังกล่าวได้
สำหรับตัวเลข "12 ล้านบาท" นั้น ถ้าเราคิดย้อนกลับด้วยผลตอบแทน 6% ต่อปี เราควรกันไว้ลงทุนดังนี้:
ถ้ามีเวลา 30 ปี ออม/ลงทุนเดือนละ 12,000 บาท
ถ้ามีเวลา 20 ปี ออม/ลงทุนเดือนละ 26,000 บาท
ถ้ามีเวลา 10 ปี ออม/ลงทุนเดือนละ 73,000 บาท
จะเห็นได้ว่าถ้าเรามีเวลาที่นาน จะใช้เงินต่อเดือนไม่มาก หากเรามาวางแผนเกษียณในเวลาที่กระชั้น ระยะเวลาในการทำงานของเงินก็จะน้อยลง ดังนั้น เราควรเริ่มได้เลยตั้งแต่วันนี้
สำหรับผู้ที่มีรายได้ส่วนอื่นเช่น บำนาญ หรือประกันบำนาญก็จะมาช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ หรือบางคนเลือกที่จะลงทุนต่อแม้จะเกษียณแล้ว ก็จะทำให้เงินก้อนพอกพูนให้อีก อย่างไรก็ตามเราไม่ควรนำเงินก้อนส่วนใหญ่ไปอยู่บนความเสี่ยง แต่จัดสรรเป็นพอร์ต หรือใช้หลัก "เงิน3ถัง" ในการบริหารเงินหลังเกษียณ ก็จะช่วยเงินก้อนอยู่ต่อได้อีกระยะเวลาหนึ่ง
รู้จัก หลัก "เงิน 3 ถัง" เบื้องต้นจากโพสต์นีเลย:
อย่างไรก็ตามเราควรตั้งเป้าเก็บเงินให้ถึงระดับที่ต้องการด้วยเช่นกัน และพึ่งน้ำบ่อหน้าแต่น้อย !!
ดังนั้นเราขอเลือกออมทุกเดือนตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเกษียณอย่างสบายใจจะดีกว่า
LINETODAY 👉https://today.line.me/th/v2/publisher/102405
โฆษณา