30 ม.ค. 2022 เวลา 01:30 • ธุรกิจ
"เจ้าสัวเจริญ" กับความฝันธุรกิจการเงิน
วิกฤติต้มยำกุ้งเสีย "ธนาคารมหานคร"
วิกฤติโควิดต่อลมหายใจ "อาคเนย์"
3
ธุรกิจธนาคารและการเงินเป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่ "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" สนใจและทำให้ในปี 2529 เจ้าสัวเจริญที่สะสมทุนจากธุรกิจสุราได้พอสมควรได้ตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจธนาคารและการเงินด้วยการเข้าซื้อหุ้นของธนาคารมหานคร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจ และบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด
6
ว่ากันว่า "ดีล" ในธุรกิจการเงินนี้เจ้าสัวเจริญได้รับความช่วยเหลือจาก "เจ้าสัวกึ้งจู แซ่จิว" ผู้เป็น "พ่อตา" ที่นอกจากจะมีบทบาทในการเจรจาธุรกิจแล้ว ยังเป็นผู้ถ่ายทอดกลยุทธ์การทำธุรกิจให้กับเจ้าสัวเจริญ โดยเฉพาะคำสอน 4 คำภาษาจีน ที่ "กรุงเทพธุรกิจ" ได้สรุปจากคำให้สัมภาณ์ของเจ้าสัวเจริญ คือ
4
เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี
ยิ่ม หรือ ความอดทนที่จะทำให้สำเร็จและบรรลุตามเป้าหมาย
3
เหยียง หรือ ความเสียสละที่จะทำให้พ้นภัย
2
แจ๋ หรือ ความเงียบ สุขุม ทำให้เกิดปัญญา
2
ลัก หรือ ความร่าเริง จะมีสุขอายุยืน
1
ธนาคารมหาคร เป็นอีกธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 จนถูกควบรวมกิจการกับธนาคารกรุงไทยในปี 2541
ในขณะที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจ จำกัด (มหาชน) ที่ตะกูลสิริวัฒนภักดีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถูกสั่งระงับดำเนินการร่วมกับ 42 ไฟแนนซ์ เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2540 ทำให้ธุรกิจการเงินของเจ้าสัวเจริญเหลือเพียง "อาคเนย์ประกันภัย" ที่รอดพ้นจากวิกฤติต้มยำกุ้ง
3
ย้อนไปเมื่อ 75 ปี ที่ผ่านมา "อาคเนย์ประกันภัย" ดำเนินธุรกิจประกันภัยในไทย โดยเหตุผลสำคัญของการเข้ามาทำธุรกิจประกันภัยเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อบริษัทประกันภัยต่างชาติได้เลิกกิจการในไทยและทิ้งความคุ้มครองไว้
3
"อาคเนย์ประกันภัย" เป็นการรวมทุนของ 3 ฝ่าย คือ เชื้อพระวงศ์ อดีตขุนนางและนักธุรกิจ ได้ร่วมกันตั้งบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2489 เริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจรับประกันวินาศภัย (อัคคีภัย)
6
ต่อมาจึงขยายไปสู่กิจการประกันชีวิตในปี 2493 โดยมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ทรงเป็นผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับแรก
4
ในปี 2535 เมื่อมีการตรา พ.ร.บ.ประกันชีวิตและประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 กำหนดให้แยกธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากธุรกิจประกันชีวิต ในขณะนั้นการกำกับดูแลกิจการประกันอยู่ในความดูแลของกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์
3
ทำให้บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด ต้องแยกเป็น 2 บริษัท ในปี 2543 คือ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000) จำกัด ดำเนินกิจการประกันวินาศภัย และบริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด ดำเนินกิจการประกันชีวิต
7
ปี 2547 เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจครั้งสำคัญเมื่อ บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SEG ของเจ้าสัวเจริญ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทประกันทั้ง 2 แห่ง
5
ปัจจุบัน ส่วน บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจประกันชีวิตสามัญ ประกันชีวิตกลุ่ม และประกันชีวิตธุรกิจสถาบัน (บริษัทนี้ไม่เกี่ยวกับประกันโควิด เจอ จ่าย จบ)
1
ปัจจุบัน บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจการรับประกันภัยทางตรง ครอบคลุมการประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง การประกันภัยยานยนต์ การประกันภัยเบ็ดเตล็ด และการประกันภัยต่อ ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้ามารับประกันภัยโควิด "เจอ จ่าย จบ"
5
ล่าสุดคณะกรรมการ SEG ที่ถือหุ้นใหญ่ใน บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีมติให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เมื่อวันที่ 26 ม.ค.2565 แต่ยังถูกคณะกรรมการกำกับกิจการประกันภัย (คปภ.) ยื้อไว้
4
บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้รับผลกระทบจากการออกกรมธรรม์โควิด "เจอ จ่าย จบ" ในขณะที่ก่อนหน้านี้ คปภ.มีประกาศไม่ให้บริษัทประกันยกเลิกกรมธรรม์ดังกล่าว และทำให้บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอเพิกถอนประกาศฉบับนั้น และศาลรับคำฟ้องเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2565
6
การยื่นฟ้องครั้งนี้มีโจทก์ร่วม คือ บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นบริษัทลูกอีกแห่งของ SEG
1
หากพิจารณาผลดำเนินงานของบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) อยู่ในระดับที่ไม่ดีนักเพราะขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปี และมามีกำไรในปี 2563 ที่มีการขายกรมธรรม์โควิด "เจอ จ่าย จบ" ส่วนปี 2564 ยังไม่ส่งงบการเงินให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3
ปี 2560 ขาดทุนสุทธิ 108.00 ล้านบาท
ปี 2561 ขาดทุนสุทธิ 126.07 ล้านบาท
ปี 2562 ขาดทุนสุทธิ 958.84 ล้านบาท
ปี 2563 กำไรสุทธิ 51.33 ล้านบาท
2
"ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมผลดำเนินงานย้อนหลังของ SEG ที่เป็นบริษัทแม่ในปี 2561-2564 จะเห็นว่าเริ่มขาดทุนในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรงจากสายพันธุ์เดลต้า และทำให้ต้องมีการจ่ายสินไหมทดแทนให้ผู้ซื้อประกันโควิดจำนวนมาก รายละเอียดของผลดำเนินงาน ดังนี้
4
ปี 2561 กำไรสุทธิ 998.10 ล้านบาท
ปี 2562 กำไรสุทธิ 304.92 ล้านบาท
ปี 2563 กำไรสุทธิ 728.45 ล้านบาท
ปี 2564 ขาดทุนสุทธิ 269.54 ล้านบาท
10
ในแง่การบริหารถือว่าตระกูลสิริวัฒนภักดี มีบทบาทสำคัญใน SEC โดย "เจริญ สิริวัฒนภักดี" เป็นประธานกรรมการ , คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เป็นรองประธานกรรมการ และฐาปน สิริวัฒนภักดี เป็นกรรมการ
1
ในขณะที่ในบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) "ฐาปน สิริวัฒนภักดี" เข้ามานั่งเป็นรองประธานกรรมการ ซึ่งช่วงที่ผ่านมา อาคเนย์ประกันภัยต้องจ่ายสินไหมโควิดไปแล้วถึง 9,900 ล้านบาท และเจ้าสัวเจริญใส่เงินจำนวนมากเพื่อต่อลมหายใจให้กับอาคเนย์ประกันภัย จนทำให้ยอมตัดสินใจขอยกเลิกทำกิจการประกันวินาศภัย
2
ปัจจุบันธุรกิจการเงินของเจ้าสัวเจริญ ยังคงมีธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจประกันภัย และธุรกิจลีสซิ่ง ที่ดำเนินการผ่านผ่านบริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จำกัด ซึ่ยังมีแผนผลักดันธุรกิจการเงินดังกล่าวต่อให้ก้าวข้ามวิกฤติโควิดไปให้ได้ หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ต้องสูญเสียธนาคารมหานครและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจ
7
โฆษณา