3 ก.พ. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ผลตอบแทนพันธบัตร” จะเสี่ยงเหมือนช่วง Subprime Crisis หรือไม่
เมื่อวันพุธที่ 26 ม.ค. 2022 ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างระส่ำระส่ายกับการแถลงการณ์ของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและยืนยันแผนยุติการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2022
3
ผลตอบแทนพันธบัตร
แม้ว่าข้อแถลงดังกล่าวจะส่งผลต่อความผันผวนของสินทรัพย์หลายๆ อย่าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อหนึ่งในสินทรัพย์ลงทุนสำคัญอย่างตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
ในบทความนี้ เราจะพาผู้อ่านมาดูผลกระทบจากดอกเบี้ยของ Fed ต่อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐโดยได้วิเคราะห์ทั้งจากข้อมูล ณ ปัจจุบัน การเล่าเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตอย่าง Subprime และนำไปสู่การคาดการณ์ที่จะเกิดขึ้นในพันธบัตรสหรัฐ
📌 ตลาดพันธบัตรรับรู้เรื่องการขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 ที่ผ่านมาแล้ว
สังเกตว่าจุด Fed Funds Futures ในปี 2022 ขึ้นไปถึง 1.25% ซึ่งสูงกว่าจุด Dot Plot ไปแล้ว
ดังนั้น หากไม่มีอะไรมา Surprise ตลาดอย่างเช่นว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยไปรวดเดียว 0.5% ตลาดพันธบัตรก็จะขึ้นไปด้วยแบบไร้กังวล
1
Fed Funds Futures ในปี 2022
📌 แนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนมีนาคม 2022
ด้วยสภาพเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นหลังวิกฤตโควิด-19 ทำให้คนคาดการณ์ว่า Fed จะดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดเชิงปริมาณ (Quantitative Tightening: QT)
โดย ”เพิ่มอัตราดอกเบี้ย” หลังจากที่ค่อย ๆ ลดขนาดวงเงิน QE (QE Tapering)
ทำให้ผลตอบแทนกลับขึ้นมาเป็นขาขึ้นที่ 1.87% เพิ่มขึ้นมาถึง 19% จากช่วงแรกของวิกฤตในปี 2019 ที่อยู่ในระดับ 1.51%
 
อย่างไรก็ตาม จากผลสรุปการประชุมล่าสุด ยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ 0.00 - 0.25%
5
ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลงมาเล็กน้อย มาอยู่ที่ 1.80% ในวันที่ 27 ม.ค. 2022
1
แต่ภาพรวมผลตอบแทนพันธบัตรยังคงปรับตัวสูงขึ้นตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
2
ผลตอบแทนพันธบัตรยังคงปรับตัวสูงขึ้น
📌 เล่าย้อนเหตุการณ์ในอดีต เกิดอะไรขึ้นในช่วงวิกฤตซับไพร์ม (Subprime Crisis) ปี 2008
บางคนอาจจะเรียกช่วงนี้ว่าเป็นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ก็ได้ เพราะปัญหาเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่ลุกลามต่อกันไปเป็นชั้นๆ จนกระทบไปทั่วโลก
สาเหตุหลักมาจากการที่ธนาคารเลือกปล่อยกู้ให้กลุ่มซับไพร์ม (ผู้ที่มีความสามารถในการชำระเงินคืนน้อย ประกอบอาชีพอิสระ รายได้ไม่แน่นอน) เพราะเห็นว่ายังไงก็ไม่มีทางเสียประโยชน์ และมีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเยอะมากแน่ ๆ ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่จ่ายหนี้ ก็ขายบ้านคืนในตลาดด้วยราคาเดิมหรือสูงกว่าก็ได้
1
ไม่เพียงเท่านั้น ธนาคารยังออกพันธบัตรประเภทตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย (mortgage-backed security) มาเพื่อให้นักลงทุนกลุ่มซับไพร์มมาซื้อ โดยให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากเพื่อนำเงินที่ได้มาปล่อยกู้ในสินเชื่อบ้านเพิ่มขึ้นไปอีกและวนไปแบบนี้เรื่อย ๆ
จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อคนกลุ่มซับไพร์มนี้เริ่มมีเงินไม่พอจ่าย ปล่อยให้ธนาคารยึดบ้านไป แต่พอหลายธนาคารเริ่มเอามาขายในตลาด ก็เกิดการขายตัดราคากัน (devalue) ไม่สามารถขายได้ราคาสูงเหมือนที่คิดโมเดลไว้ตอนแรก
1
เป็นผลให้ธนาคารไม่มีเงินสำรองมาใช้จ่ายดอกเบี้ยให้กลับนักลงทุนที่ซื้อ bond ไป ผลประกอบการแย่ลงเรื่อย ๆ และในที่สุดก็ปิดฉากด้วย Lehman Brother ธนาคารยักษ์ระดับโลกล้มละลายลง
📌 แล้วผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ในช่วงวิกฤติ Subprime ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
จากฟองสบู่ที่แตกในอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาที่เกิดจากตราสารหนี้ MBS ทำให้เศรษฐกิจถดถอยรุนแรง (Deep Recession)
เป็นผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีทิศทางขาลงอย่างชัดเจน
โดยผลตอบแทนลดลงสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 26.45% ซึ่งลดลงมากกว่าช่วงวิกฤต Dot-Com crisis ในปี 1995-2000 ซะอีก
📌 Fed ได้ประกาศใช้นโยบายการเงิน ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจใช้ช่วง Subprime
ด้วยความที่ในช่วง 2008-2009 เศรษฐกิจทั่วโลกหดตัว อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น
Fed จึงเข้ามาทำหน้าที่โดยการ ”ลดอัตราดอกเบี้ย” จาก 5.25% เป็น 4.75% เมื่อ ก.ย. 2007 และปรับลดอีก 9 ครั้ง จนดอกเบี้ยต่ำสุดใน ธ.ค. 2008 ที่ 0 - 0.25% ถือเป็นดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์
ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing: QE) โดยเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ MBS จากสถาบันการเงิน เพื่อให้กลับมาปล่อยเงินกู้ได้ในระยะสั้น และทยอยซื้อพันธบัตรไปเรื่อยๆ ทุกเดือนจนกว่าการว่างงานจะลดลง
ซึ่งในปี 2022 ทุกคนจะเห็นว่า การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้แตกต่างกับช่วง Subprime กล่าวคือ แม้ลักษณะราคาพันธบัตรทั้งสองช่วงจะสูงขึ้น แต่ใน Subprime ไม่ได้เกิดเงินเฟ้อและสภาพคล่องที่สูงเท่าในปัจจุบัน (ปี 2008 Fed อัดเงินเข้าระบบเพียง 9 แสนล้านดอลลาร์ ในขณะที่ในปี 2022 สูงถึง 8.8 ล้านล้านดอลลาร์)
1
หากในขณะนี้สภาพเศรษฐกิจจริงแข็งแกร่งอยู่แล้ว ทาง Fed ก็ไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินมาสนับสนุนมากนัก เพราะการขึ้นดอกเบี้ยก็เป็นประโยชน์ต่อพันธบัตรสหรัฐแล้ว
1
📌 สังเกตตลาดพันธบัตรไทยว่ามีทิศทางเป็นอย่างไร จะสอดคล้องกับฝั่งพันธบัตรสหรัฐหรือไม่
ทั้งในช่วงวิกฤตซับไพร์มและในปัจจุบัน สิ่งที่คล้ายกันคือ มีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนต่างชาติจะเทขายพันธบัตรไทยแล้วไปถือของสหรัฐ ถ้าเป็นแบบนั้นจริงจะเกิดแรงขายในไทยสูงมาก ซึ่งส่งผลให้ผลตอบแทนสูงขึ้นไปโดยปริยาย อย่างในปัจจุบัน ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยก็เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.15% สูงกว่าช่วงปี 2019 ที่อยู่ในระดับ 1.32% ถึง 63%
ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยก็เพิ่มขึ้น
📌 ถ้าผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
  • 1.
    เพราะราคาพันธบัตรกับผลตอบแทนจะวิ่งสวนทางกัน ดังนั้น หากผลตอบแทนเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าราคาจะลดลง ซึ่งจะไปมีผลให้กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นและยาวปรับตัวลดลงด้วยเช่นกัน
  • 2.
    ความต้องการของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐสูงมากขึ้น เพราะต้องใช้ดอลลาร์มาซื้อพันธบัตร ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และไปกระทบการซื้อขายคริปโตเคอเรนซี โดย Bitcoin ซื้อขายกันที่ระดับ 35,685.3 ดอลลาร์ ร่วงลงจากช่วงต้นปีที่ระดับ 46,651.8 ดอลลาร์ ถึง 24% (ข้อมูล ณ วันที่ 01/01/2022)
  • 3.
    จากสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นผลให้คืนก่อนหน้านักลงทุนในตลาดหุ้นมีความกังวลเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดพันธบัตร เพราะผลตอบแทนของพันธบัตรจะสะท้อนไปที่ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการด้วย ทำให้ไปกดดันราคาหุ้น (ค่า P/E ratio) ให้ลดลง และมูลค่าเหมาะสมของทรัพย์สินลดลงไป
1
อย่างไรก็ตาม หากผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นอย่างเร็วและแรง จะส่งผลกระทบให้ตลาดหุ้นปรับลงแรงเช่นเดียวกัน หรือพูดอีกนัยนึงว่า ราคาหุ้นในตลาดจะลดลงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนพันธบัตรนั่นเอง
1
โดยสรุปแล้ว ในแต่ละวิกฤตมีรายละเอียดและนโยบายแก้ไขที่ต่างกัน หากนักลงทุนเข้าใจและมองเห็นความเป็นไปได้ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็จะช่วยให้การลงทุนเป็นเรื่องไม่ยากอีกต่อไป
1
ผู้เขียน : ธนัชญา ปิยวรไพบูลย์ Economics Data Analytics, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
โฆษณา