5 ก.พ. 2022 เวลา 10:15 • การตลาด
Painstorm การแก้ปัญหาด้วยการระดมปัญหา
หลายคนอาจคุ้นการทำกิจกรรม หรือการประชุมในรูปแบบ “การระดมสมอง หรือ Brainstorm” "Brainstorm" วิธีการที่ให้ทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็น โดยไม่มีการตัดสินถูกผิด เพื่อนำความคิดเหล่านั้นมาปรับใช้ในการวางแผน และแก้ไขปัญหาต่างๆ
แต่หลายครั้งที่วิธีการ Brainstorm กลายเป็นการแก้ปัญหาที่ ‘ไม่ตรงจุด’ เพราะขั้นตอนแรกวิธีการนี้คือการระบุปัญหา ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่คลุมเคลือ ทำให้การกำหนดหัวข้อในการระดมสมองไม่ใช่สาเหตุของปัญหาที่แท้จริง และนำไปสู่วิธีการแก้ไขจึงไม่ชัดเจนตามไปด้วย วันนี้เราจึงอยากนำเสนอวิธีการคิดแบบ “Painstorm”
การระดมปัญหา หรือ Painstorm เป็นการรวมกันระหว่างคำว่า Pain ที่แปลว่า ‘ความเจ็บปวดหรือปัญหา’ กับคำว่า Storm ที่แปลว่า ‘พายุ’ จึงได้ความหมายแบบตรงๆ ก็คือ พายุของปัญหา เป็นกระบวนการของการค้นหา Pain Point ที่ยังไม่เคยค้นพบ เพื่อสร้างไอเดียที่ใหญ่ขึ้นและดีขึ้น แสดงให้เห็นถึงรากฐานของโอกาสใหม่ ซึ่งก็คือ Pain Point ของลูกค้า แตกต่างจากการระดมสมอง (Brainstorm) ที่ส่วนใหญ่จะพยายามจินตนาการการแก้ปัญหา
โดยเป้าหมายคือการทำให้ทีมคิดได้ว่ากำลังให้บริการใครอยู่ และความต้องการของพวกเขาคืออะไร และคุณจะแก้ "ความเจ็บปวด" ของพวกเขาผ่านนวัตกรรมที่มีความหมายอย่างไร สรุปเป็น 4 ขั้นตอนง่ายๆ ให้ทำ ซึ่งแต่ละขั้นตอนตามลำดับตอบคำถามต่อไปนี้และอย่าลืมจดบันทึกไปด้วย ดังนี้
1. P – Persona: อะไรคือ Customer Personaที่คุณจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คุณสร้างสรรค์ขึ้น พวกเขาเป็นใคร?คุณลักษณะปัญหาและความท้าทายของพวกเขาคืออะไร?
2. A – Activities : พวกเขาทำกิจกรรมอะไรและทำไม? พวกเขาใช้เวลากันที่ไหนบ้าง ?
3. I - Insights: พวกเขาต่อสู้ดิ้นรนเรื่องอะไรมากที่สุด? สิ่งที่ทำให้ระคายเคืองหรือทำให้มีความสุขมากที่สุด คืออะไร?
4. N - Needs: อะไรบ้างคือความจำเป็นเร่งด่วนของพวกเขา? อะไรคือความจำเป็นจริงๆ ที่หากได้รับการแก้ไขผ่านผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆแล้ว จะทำให้พวกเขามีความสุขอย่างแท้จริง?
หลังจากผ่าน 4 ขั้นตอนแล้ว คุณก็พร้อมที่จะสร้างไอเดียทำให้แน่ใจก่อนว่า ไอเดียเน้นไปที่ Pain คือ บุคคล กิจกรรม Insights และความต้องการที่ได้จาก Painstorm
ตัวอย่างเช่นเครือข่ายสถานพยาบาล Ascension Health เคยมี Pain Point ของผู้ป่วยที่ยิ่งใหญ่ คือ ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถไปตามนัดหมายได้ เพราะระบบการขนส่งที่ไม่มีน่าเชื่อถือ ดังนั้นเครือข่ายระบบสุขภาพแห่งนี้จึงจับมือกับ Lyft (คู่แข่งของ Uber) เพื่อจัดดระบบการรับส่งผู้ป่วยให้มาตามนัด อีกตัวอย่างหนึ่งคือเมื่อค่ายผู้ผลิตเครื่องครัว OXO คิดค้นถ้วยตวงแบบเอียง (Slanted Measuring Cup) แก้ปัญหาความสามารถวัดค่าให้แม่นยำโดยเติมของลงถ้วยให้ถึงเส้นวัดที่กำหนดแน่นอน
นั่นหมายถึงถ้าคุณไม่เข้าใจ Pain Point ของลูกค้า ไอเดียของคุณก็จะไม่ตรงเป้า ดังนั้นถ้าผลิตภัณฑ์และบริการของคุณ สามารถระบุปัญหาที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายได้ คุณก็จะเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่หลายคนจะเลือกซื้อสินค้าและบริการ
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจก็คือ การระดมคำถาม (Questionstorm) วิธีที่ให้ทุกๆ คนแสดงความคิดเห็น โดยไม่ต้องกลัวถูกผิด เพราะไม่มีใครทราบว่าคำตอบที่ถูกต้องคืออะไร ทำให้มีโอกาสเกิดไอเดียใหม่ๆ ที่น่าสนใจได้
เป็นวิธีรวบรวบไอเดียที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ A More Beautiful Question เขียนโดย Warren Berger ซึ่งเป็นวิธีการที่บริษัทระดับโลกอย่าง Netflix และ Airbnb ใช้ โดยเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย (Start with a statement) แล้วรวบรวมคำถามเพื่อนำไปสู่คำตอบของเป้าหมายให้ได้มากที่สุด (List as many questions as you can) ก่อนการปรับคำถามปลายปิดให้เป็นปลายเปิด หรือคำถามปลายเปิดให้เป็นปลายปิด เพื่อให้ได้ซึ่งความชัดเจนที่มากยิ่งขึ้น (Open closed questions, and close open ones) และปิดท้ายด้วยการจัดลำดับความสำคัญของคำถาม และเลือกข้อที่คิดว่าดีที่สุด (Prioritize and pick your favorites) โดยเราสามารถนำคำถามที่ยังไม่ถูกเลือกในเวลานี้ ไปปรับใช้ในอนาคตได้
ดังนั้นทั้งวิธีการ Painstorm และ Questionstorm อาจทำได้ไม่ง่าย เหมือนแค่โยนไอเดียกันไปมาในการประชุม แต่ก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะลองทำ
โฆษณา