8 ก.พ. 2022 เวลา 10:31 • ท่องเที่ยว
ธรณีวิทยา(ฉบับย่อ): หินเกล็ดพญานาคถ้ำนาคา เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
1
หลังจากที่ภาพหินลายเกล็ดรูปงูยักษ์ ชื่อว่า ถ้ำนาคา ซึ่งตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูลังกาถูกแชร์ออกไปในโซเชียล ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก
1
ความสวยงามแปลกตาจากสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น และสอดคล้องกับความเชื่อ นั่นจึงมีเสน่ห์มากพอที่จะดึงดูดให้หลายคนอยากไปสัมผัสด้วยตาตัวเอง การอ่านมาเล่าในวันนี้.. ขอเปลี่ยนบรรยากาศเป็นความรู้ทางธรณีวิทยากันบ้างนะคะ
4
ภาพจากเพื่อนสายมูของผู้เขียน
การเกิดลักษณะของหินที่ถ้ำนาคา นักธรณีวิทยา อธิบายดังนี้
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติทางธรณีวิทยา เรียกว่า " ปรากฏการณ์ซันแครก (Sun Crack) " หรือ " หมอนหินซ้อน "
4
อุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันที่อากาศร้อนจัดและกลางคืนที่มีอากาศเย็นจัด ส่งผลให้หินทรายเนื้อสม่ำเสมอขนาดใหญ่ขยายและหดตัวสลับไปมาอย่างรวดเร็ว จนแตกเป็นเหลี่ยมๆ บนผิวหน้าของหิน มีการผุพังและกัดเซาะโดยน้ำและอากาศในแนวดิ่ง ทำให้เกิดลักษณะเป็นชั้นๆ มองแล้วเหมือนเป็นลายเกล็ดงู
4
ประกอบกับความโค้งตัวของหินทำให้รูปร่างโดยรวมคล้ายกับการขดตัวของงูใหญ่หรือพญานาคตามความเชื่อ
จากการคำนวณหินทรายที่พบตรงจุดนี้คาดว่ามีอายุประมาณ 70 ล้านปี เป็นหินที่เกิดในยุคครีเทเชียสตอนปลาย
7
ในแต่ละฤดูจะให้ภาพและบรรยากาศแตกต่างกันไป ฤดูร้อนจะเห็นผิวของหินชัดเจนช่วงฤดูฝนจะมีมอส เฟิร์น และพืชพรรณต่างๆ เกาะตามผิวหินทำให้ดูมีชีวิตชีวาอีกแบบ ทั้งนี้ในระหว่างทางขึ้นไปก็มีพืชชนิดอื่นๆให้ได้ชมกัน
6
ไม่ว่าจะอยากไปชมสถานที่นี้ด้วยเหตุผลใด ผู้เขียนมองเป็นความคิดส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตามการขึ้นไปต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมนะคะ เนื่องจากเส้นทางเดินไม่ง่ายนักและระยะทางไกลพอสมควร ที่สำคัญอย่าลืมติดตามการแจ้งประกาศจากอุทยานฯด้วยว่ามีกฎเกณฑ์ เงื่อนไขการเข้าชมอย่างไรบ้าง
ธรรมชาติมหัศจรรย์และสวยงามเสมอ หากมีโอกาสไปสัมผัสด้วยตัวเอง อย่าลืมช่วยกันอนุรักษ์เพื่อให้คงอยู่ถึงคนรุ่นหลังนะคะ
2
ถ้ำนาคา-ถ้ำนาคี : ภาพจากเพื่อนสายมูของผู้เขียน
สรุป :
สถานที่ตั้ง
ถ้ำนาคา ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูลังกา ช่วงพื้นที่รอยต่อของจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดนครพนม มีจุดน่าสนใจให้นักท่องเที่ยวแวะชมอีกมากมาย เช่น วัด ลานหิน น้ำตก เป็นต้น
กระบวนการผุพังทางกายภาพของหินเกิดได้จาก
1. การคลายแรงดัน
2. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
3. การเปลี่ยนแปลงความชื้น
4. ลิ่มน้ำแข็งและลิ่มเกลือ
5. กิจกรรมของสิ่งมีชีวิต
2
[ฉบับย่อ] หินที่ถ้ำนาคา-ภูลังกา เกิดจาก
- การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
อุณหภูมิที่ต่างกันทำให้หินขยาย-หดตัว เกิดรอยปริแตกที่ผิว
- การเปลี่ยนแปลงความชื้น
การดูดซึมและระเหยของน้ำในหินสลับกัน ทำให้หินขยาย-หดตัว และผุพัง
- วันเวลาผ่านไปตรงขอบรอยแตกก็จะค่อยๆกร่อนลบเหลี่ยมคม และหินก็เปลี่ยนรูปทรงเป็นทรงกลมมนมากขึ้น
5
หินรูปแปลกๆ สามารถพบได้ทั่วโลก ซึ่งจะมีรูปร่างแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบชนิดของหิน ปัจจัยสภาพแวดล้อม ในต่างประเทศก็มีการตั้งชื่อตามรูปร่างของสิ่งที่คล้ายเช่นกัน
เมืองไทยยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีหินสวยงามแปลกตาอื่นๆ เช่น ภูหินร่องกล้า ภูสิงห์ หินสามวาฬ เป็นต้น
5
เล่าเยอะไปจะดูไม่ใช่แนวอ่านง่ายสไตล์เพจนี้ หากต้องการอ่านความรู้ที่ละเอียดมากขึ้นคลิกลิงก์แรก ตรงแหล่งข้อมูลได้เลยค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ
Simple Blog
08.02.22
โฆษณา