7 ก.พ. 2022 เวลา 09:44 • อาหาร
คาร์ไบไฮเดรต ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในข้าวเรียกว่า “สตาร์ซ” ประกอบด้วย อะไมโลส (Amylose) และอะไมโลเพกติน (Amylopectin) ‘อะไมโลส’ มีโครงสร้างเป็นเส้นตรง ย่อยง่าย ส่วน‘อะไมโลเพกติน’ จะมีโครงสร้างเป็นแขนงหยึกหยักที่มีความซับซ้อนกว่า ทำให้ใช้เวลาย่อยนานกว่า
ข้าวเหนียวมีสตาร์ซที่ประกอบด้วยอะไมโลเพกตินอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่มีอะไมโลสอยู่แค่ 5 - 7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกินข้าวเหนียวเข้าไป ร่างกายก็ทำกระบวนการย่อยนานกว่าปกติ พอยิ่งนานร่างกายก็หลั่งสารเซโรโทนินและเมลาโทนินที่ทำให้ง่วงซึมออกมามากขึ้น ร่างกายก็เลยรู้สึกง่วงมากขึ้นและเป็นระยะเวลานานกว่าการกินข้าวสวยหรืออาหารประเภทอื่นๆ นั่นเอง รวมถึงคาร์โบไฮเดรตทำให้ต้องหลั่งสารอินซูลิน ออกมา น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นก็อาจทำให้ง่วงนอนเช่นกัน
การเคี้ยวให้นานขึ้นช่วยลดกระบวนการนี้ อาจช่วยให้ระยะเวลาความง่วงลดลง
(ค้นจากเว็บ สสส และ CQ)
เคยไปประชุมกับบริษัทที่ปรึกษาดังเจ้าหนึ่งที่สิงคโปร์ เจ้าหน้าที่ของบริษัทนั้นแนะนำว่า อย่ากินคาร์โบไฮเดรต ระหว่างการกระชุม
โฆษณา