27 ก.พ. 2022 เวลา 10:49 • คริปโทเคอร์เรนซี
🗣️มือใหม่หัดเรียนรู้สินทรัพย์ดิจิตอล😲 มารู้จัก NFT กันเถอะ🤗🤔
🏅NFT ย่อมาจาก Non-Fungible Token เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก ไม่สามารถทำซ้ำหรือคัดลอกได้ ต่อให้มีการก๊อบปี้ไป แต่ต้นฉบับของจริงจะมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น เปรียบเทียบเหมือนโฉนด เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ชิ้นนี้🤩
เริ่มต้นมาจากชุมชนคริปโตเริ่มเข้าใจเรียนรู้ศักยภาพในการจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลไว้ในบล็อกเชน และแล้วในปี 2557 แพลตฟอร์มทางการเงินแบบเพียร์ทูเพียร์ที่เรียกว่า Counterparty ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชนของ bitcoin ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการสร้าง NFT ในปัจจุบัน🤗
🤔ต่อมาในปี 2559 เริ่มมีการทำ NFT ตัวแรกที่เรียกว่า Rare Pepe เปิดตัวในแพลตฟอร์ม Counterparty หลังจากนั้นก็มี NFT อื่น ๆ เกิดขึ้น แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนกระทั่ง NFT ได้รับการประกาศการสร้างมาตรฐานโทเค็น ERC-721 ใหม่ในบล๊อกเชน Ethereum
บล็อกเชน Ethereum ช่วงนั้นเริ่มมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ NFT เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้นตามไปด้วย😲
จุดเริ่มต้นจริงๆที่ทำให้มีผู้สนใจเป็นอันมาก ก็คือ กรณีของ ไมค์ วินเดลมันส์ หรือ Beeple ศิลปินนักวาดภาพประกอบที่ฉีกกัดสังคมการเมือง ประเด็นระดับประเทศ ผ่านตัวการ์ตูนต่างๆ เขาสามารถขายผลงานที่ชื่อว่า The first 5000 days ซึ่งใช้เวลาสร้างนานถึง 13 ปี ได้ในราคาประมาณ 2.17 พันล้านบาท เมื่อเดือนมีนาคมปี 2564 นี้เอง🤩😲
คุณสมบัติ NFT จะอยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ที่มีความเฉพาะตัวสูง เช่น ผลงานศิลปะ หรือที่เรียกว่า Crypto Art ภาพถ่าย🌄 ภาพ Meme เพลง วิดีโอ ของสะสม การ์ดเกม กีฬา⚽ การ์ตูน🍄 รวมทั้งงานแฟชั่นด้วย พูดง่าย ๆ ว่าอะไรก็ตามที่เป็นเอกลักษณ์ชิ้นเดียวในโลกก็สามารถนำมาแปลงให้อยู่ในรูปแบบ NFT ได้ทั้งสิ้น
ดังนั้น มูลค่าของมันจึงถูกประเมินและตีตราด้วย ‘💵ความพึงพอใจ’ ระหว่างเจ้าของผลงาน และผู้ซื้อหรือผู้ประมูล ซึ่งเมื่อผลงานชิ้นนั้นๆ ถูกจำหน่ายออกไปแล้ว เจ้าของใหม่ที่เป็นคนซื้อไปก็จะได้ ‘สิทธิ์’ การครอบครองผลงานดิจิทัลชิ้นดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว และสามารถจำหน่ายต่อหรือเก็งกำไรเพิ่มเติมในอนาคตได้
แต่ในความหมายนี้คือ การเป็นเจ้าของผลงานดิจิทัลไม่ได้ครอบคลุมถึงสิทธิ์การเป็นเจ้าของผลงานทั้งหมดเลยซะทีเดียว เพราะตัวศิลปินที่เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นๆ ขึ้นมาก็ยังสามารถต่อยอดสร้างรายได้จากมันในรูปแบบสินค้า Physical ที่สามารถจำหน่ายและจับต้องได้ในโลกจริงๆ ได้ด้วยตัวเอง (การเป็นสิทธิ์เจ้าของแต่เพียงผู้เดียวของ NFT จะครอบคลุมเฉพาะบนดิจิทัลเท่านั้น)💰🥇
เอ้า แล้วแบบนี้ ถ้าเราซื้อผลงานศิลปะแบบ NFT สักชิ้น เป็นเจ้าของสิทธิ์ผลงานดังกล่าวบนโลกดิจิทัลด้วยตัวเอง แล้วภาพหรือผลงานชิ้นนั้นๆ ยังถูกดาวน์โหลดโดยคนอื่นได้อีกหรือเปล่าล่ะ🤔
คำตอบคือ ‘ยังทำได้’ คนอื่นก็ยังคงสามารถกดคลิก Save as ดาวน์โหลดผลงาน🤗
ศิลปะ ภาพ วิดีโอ ฯลฯ ที่เราเป็นเจ้าของได้ตามปกติ หากมีการนำมาเผยแพร่ แต่พวกเขาก็ไม่ได้ ‘สิทธิ์’ การเป็นเจ้าของผลงานชิ้นนั้น และการเป็นเจ้าของเหรียญโทเคนผลงานชิ้นดังกล่าวบนบล็อกเชนอย่างเต็มภาคถูมิ
เพราะฉะนั้นแล้ว NFT จึงเป็นหนึ่งในของสะสมที่เรียกได้ว่า คนซื้อต้องรัก ต้องชอบ ต้องชื่นชม และเข้าใจรูปแบบเทคโนโลยีของมันจริงๆ ถึงจะเข้าถึงและเข้าใจมัน ซึ่งนอกเหนือจากคุณค่าทางใจ และนิยาม ‘ของมันต้องมี’ ที่เจ้าของจะได้รับแล้ว หากผลงานหรือชิ้นงานนั้นๆ ได้รับความสนใจมากขึ้นในอนาคต ตัวผู้ถือครองก็สามารถจำหน่ายมันเพื่อเก็งกำไรในอนาคตได้อีกต่างหาก😃🤗
ส่วนตัวศิลปินเอง ต้องบอกว่านี่คือช่องทางและวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้นได้อย่างมหาศาล แถมยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้ศิลปินได้รับส่วนแบ่งรายได้ ในทุกๆ ครั้งที่ผลงานของพวกเขาถูกเปลี่ยนมือเจ้าของ ขายต่อ (เคสของ Beeple จะได้รับส่วนต่าง 10% จากทุกๆ ครั้งที่ผลงานศิลปะของเขาถูกขายออกไป)💵💰
ทั้ง NFT กับ Cryptocurrency ล้วนเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ทำงานอยู่บนบล็อกเชน (Blockchain) ทั้งคู่ แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ คือ
1. NFT แต่ละเหรียญมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทดแทนกันไม่ได้💰🏅
NFT เป็นสินทรัพย์ที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่สามารถนำ NFT หรือโทเคนอื่นมาทดแทนได้ ต่างจากเงินจริง ๆ หรือ Cryptocurrency ที่เป็น Fungible Token คือ ทุกเหรียญในสกุลเงินนั้นไม่มีความแตกต่างกัน สามารถใช้ซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนแทนกันได้หมด
ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนขอยืมเงิน 100 บาท เราให้แบงก์ร้อยไป เมื่อเพื่อนนำเงินมาคืน ก็ไม่จำเป็นต้องเอาแบงก์ร้อยใบเดิมมาคืนก็ได้ จะนำเหรียญห้า เหรียญสิบ แบงก์ยี่สิบ แบงก์ห้าสิบ หรือแบงก์ร้อยใบอื่นมาคืนก็ไม่มีใครว่า เพราะมีมูลค่าเท่ากัน สามารถใช้ทดแทนกันได้
ส่วน NFT ก็เหมือนกับงานศิลปะ ถ้าเราตั้งใจจะซื้อภาพนี้ ก็ต้องได้โทเคนของภาพนี้เท่านั้น จะเอาโทเคนอื่นมาให้แทนไม่ได้ เนื่องจากเป็นคนละภาพกัน
2. NFT ใช้แลกเปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้าไม่ได้⚠️
เราสามารถนำ Cryptocurrency ไปใช้เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรม หรือนำไปซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนสินค้า ใช้แทนเงินสดได้ในร้านค้าหรือบริการที่รับชำระด้วยเหรียญดิจิทัล เช่น นำอีเธอเรียม (Ethereum) ไปจ่ายค่าอาหาร, ใช้บิตคอยน์ซื้อรถยนต์ เป็นต้น
แต่สำหรับ NFT จะไม่สามารถนำไปใช้ซื้อ-ขายสินค้าอื่นได้เลย นอกจากจะนำตัว NFT ออกมาขายเอง
3. ต้องซื้อ-ขาย NFT แบบเต็มหน่วยเท่านั้น⁉️
ปกติเวลาซื้อเหรียญดิจิทัลที่เป็นคริปโทเคอร์เรนซี สามารถซื้อเป็นหน่วยย่อยแค่ 0.000001 หน่วย ตามเงินลงทุนที่เรามีก็ทำได้ ขณะที่ NFT ต้องซื้อมูลค่าเต็ม 1 หน่วยเท่านั้น จะซื้อเป็นหน่วยย่อยไม่ได้ คนขายก็ต้องขายทั้งรูป คนซื้อก็ต้องซื้อทั้งรูป เพราะผู้ที่ถือครองต้องเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว🥇
หากเราสร้างผลงานขึ้นมาชิ้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ คลิปวิดีโอ ของสะสม เสื้อผ้า แสตมป์ การ์ดเกม ฯลฯ ที่ถือเป็นของชิ้นเดียวในโลก เป็นลิขสิทธิ์ของเราเอง ก็สามารถแปลงผลงานเหล่านั้นให้อยู่บนออนไลน์ในรูปแบบโทเคน NFT จากนั้นนำ NFT ไปขายต่อและโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ต้องมีคนกลาง เพราะทำผ่านระบบบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยสูง ทุกธุรกรรมสามารถตรวจสอบได้ และแทบจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลไม่ได้เลย และแม้ว่าผลงานจะถูกขายต่อ เปลี่ยนมือไปเรื่อย ๆ แต่ก็ยังตรวจสอบย้อนหลังได้ว่ามีใครเคยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในผลงานชิ้นนี้มาแล้วบ้าง
นอกจากนี้เรายังสามารถนำ NFT ออกประมูลได้ด้วย ซึ่งถ้าเป็นแรร์ไอเทมก็จะดึงดูดให้คนอยากได้และต้องสู้ราคากัน เป็นการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลอีกหลายเท่า ใครชนะการประมูลก็จะได้รับโทเคนในการยืนยันความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ชิ้นนั้น
ด้วยเหตุนี้ คนที่ซื้อ-ขายงาน NFT จึงไม่ได้มีแค่ศิลปินหรือนักสะสม แต่ยังมีนักลงทุนหลายคนที่ตั้งใจเข้ามาซื้อเก็งกำไร แล้วนำไปขายต่อให้ผู้ที่สนใจได้ในราคาสูงขึ้น เนื่องจากงาน NFT หลายชิ้น เป็นคอลเล็กชั่นพิเศษ หรือของหายากที่มีคุณค่าและมูลค่าสูงในกลุ่มนักสะสม
เพราะเป็นช่องทางสร้างรายได้ในยุคดิจิทัลที่น่าสนใจ จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นนักลงทุน นักสะสม คนดังในแวดวงต่าง ๆ ทั่วโลก นำผลงานออกมาซื้อ-ขาย ประมูลผ่าน NFT🏅💰
ว่าแล้วก็ลองมาดูขั้นตอนการซื้อ-ขายคร่าว ๆ กัน
1. สร้างกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet)
เมื่อจะทำธุรกรรมบนโลกดิจิทัล จำเป็นต้องมี "กระเป๋าเงินดิจิทัล" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "Wallet" เพื่อใช้เก็บสินทรัพย์ดิจิทัลหรือเงินคริปโตสกุลต่าง ๆ ซึ่งกระเป๋าเงินดิจิทัลมีหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้คือ "Mobile Wallet" กระเป๋าเงินในรูปแบบแอปพลิเคชันบนมือถือ หรือจะเปิดผ่านเบราว์เซอร์ Chrome บนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ แอปฯ ที่หลายคนแนะนำก็คือ Trust Wallet, MetaMask เพราะเป็นกระเป๋าเงินอีเธอเรียมที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ง่ายกว่ากระเป๋าเงินอื่น ๆ และติดตั้งได้บน Google Chrome
2. เปิดบัญชีซื้อ-ขายคริปโทเคอร์เรนซี
สามารถเปิดบัญชีได้กับ Exchange หรือศูนย์ซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยในประเทศไทยมีหลายบริษัทที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุญาตให้ประกอบธุรกิจได้ เช่น BITKUB, ​Satang Pro, Zipmex เป็นต้น หรือถ้าใครมีบัญชี Exchange ของต่างประเทศอยู่แล้วก็ใช้ได้เลย
3. ซื้อเหรียญ ETH แล้วโอนไปไว้ใน Wallet
ในการซื้อ-ขาย NFT ส่วนใหญ่จะต้องใช้เงินอีเธอเรียม (Ethereum : ETH) จึงต้องมีเงินสกุลนี้เก็บไว้ใน Wallet ของเราด้วย
4. เตรียมผลงาน NFT
เมื่อมี Wallet และมีบัญชีซื้อ-ขายเหรียญดิจิทัลแล้ว ขั้นต่อไปก็ได้เวลาแปลงผลงานของตัวเองให้เป็นไฟล์ดิจิทัล เพื่อใช้ซื้อ-ขาย NFT ถ้างานของใครเป็นไฟล์ดิจิทัลอยู่แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรอีก แต่กรณีที่เป็นรูปถ่าย หนังสือ โปสการ์ด งานประติมากรรม งานจิตรกรรม ฯลฯ เราจะต้องแปลงให้เป็นไฟล์ดิจิทัลเสียก่อน ด้วยการสแกนหรือถ่ายรูปก็ได้ แล้วเก็บไฟล์ไว้ในคอมพิวเตอร์
5. อัปโหลดผลงานใน NFT Marketplace
NFT Marketplace หรือตลาดซื้อ-ขายงาน NFT มีอยู่หลายเว็บไซต์ ที่ดังในหมู่นักสะสมก็คือ OpenSea, Rarible, Foundation.app, SuperRare ฯลฯ
ส่วนคนที่ต้องการซื้อผลงานเก็บสะสมก็สามารถเลือกดูงานผ่านเว็บไซต์นั้น ๆ โดยสามารถซื้อได้ในราคาไม่เกินวงเงินใน Wallet
อย่างไรก็ตาม ต้องทราบว่าการซื้อ-ขายผลงาน NFT จะเสียค่าบริการต่าง ๆ ให้เว็บไซต์ รวมทั้งค่าธรรมเนียม Gas Fee ด้วย ซึ่งราคา Gas Fee จะขึ้น-ลงตลอดเวลา และแต่ละเว็บไซต์ก็มีเรต Gas Fee ไม่เท่ากัน รวม ๆ แล้วราคาค่าธรรมเนียมทั้งหมดอาจจะแพงกว่าตัวผลงานอีกก็ได้ ดังนั้นต้องคำนวณเรื่องราคาที่จะซื้อ-ขายให้ดี
ข้อมูลอ้างอิง รายละเอียดเข้าไปอ่านกันได้
โฆษณา