8 ก.พ. 2022 เวลา 12:59
คิดไม่ออก? ลองมา "ปลดล็อกสมอง"
ด้วยวิธีคิดให้มีประสิทธิภาพ
1
เคยอยากคิดได้อย่างลึกซึ้ง หรือมีไอเดียสุดสร้างสรรค์อย่างสตีฟ จ็อบส์, อีลอน มัสก์ หรือ CEO บริษัทใหญ่ไหม ทั้งๆ ที่พวกเขาก็มีความรู้ด้านเทคโนโลยีไม่ต่างจากคนในสายงานเดียวกัน แต่ทำไมไอเดียของพวกเขาถึงแตกต่างและพลิกโฉมวงการเทคโนโลยีได้?
5
ถ้าหากเราอยากโดดเด่นในสายงานของเรา ด้วย “วิธีการคิด” และ “ไอเดีย” ที่ไม่เหมือนใครบ้างล่ะ พอจะมีวิธีบ้างไหม
6
หนังสือชื่อ “How to Think More Effectively” จะพาทุกคนมาปลดล็อกศักยภาพการคิดในตัวเรา เช่น คิดอย่างไรให้ไอเดียเจ๋งจนเจ้านายร้องว้าว รวมถึงอธิบายให้เราเข้าใจว่า ทำไมเราถึงคิดไม่ออกตอนตั้งใจ แต่พอเดินไปเข้าห้องน้ำกลับได้ไอเดียเจ๋งๆ กลับมาซะอย่างนั้น และแนะนำวิธีแก้อาการ “หัวตัน” สำหรับคนทำงานสายครีเอทีฟ
2
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ “The School of Life” ซึ่งเป็นองค์กรด้านการศึกษาที่ใช้เวลาไปกับการช่วยให้คนประสบความสำเร็จและหาวิธีเติมเต็มชีวิตได้มากขึ้น เป็นเจ้าของหนังสือขายดีต่างๆ เช่น “Relationships” ที่สอนให้เรามองว่า ความรักคือทักษะที่เราเรียนรู้ มากกว่าจะเป็นแค่อารมณ์ และ “Great Thinkers” หนังสือที่รวบรวมไอเดียการคิดจากคนหลากหลายวงการเพื่อให้เราเป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ได้
ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร ‘วิธีคิด’ ล้วนสำคัญกับเรามาก ทั้งต่อการทำงาน การใช้ชีวิต และการวางแผนในอนาคต หากต่อจากนี้เราอยากเพิ่มศักยภาพสมอง สร้างไอเดียใหม่ๆ ที่น่าสนใจและไม่ตื้นเขิน ลองมาพัฒนาวิธีคิดให้มีประสิทธิภาพกับหนังสือเล่มนี้ไปด้วยกัน
3
1) เริ่มจากการปรับวิธีคิด
คนส่วนมากอาจกำลังทำผิดพลาดโดยไม่รู้ตัว เพราะพวกเขามักให้ความสำคัญกับ “เป้าหมาย” มากกว่า “คุณค่าของเป้าหมาย” ที่เราตั้งไว้ คุณเคยถามตัวเองไหมว่า เราทำงานหนักเพราะอยากก้าวหน้าในหน้าที่การงานจริงไหม หรือเพียงเพราะเห็นคนรอบข้างประสบความสำเร็จ
2
แล้วเราจะคิดอย่างไรให้มีประสิทธิภาพขึ้น ขั้นแรก ลองใช้เวลาประเมินคุณค่าและวางกลยุทธ์ในการไปถึงเป้าหมายให้ดีขึ้น ต่อมาคือ สร้างแนวคิดที่พาเราออกจากคอมฟอร์ตโซน โดยการถามตัวเองด้วยคำถามที่ลึกซึ้งขึ้น ไม่ใช่แค่ถามว่าเป้าหมายของเราคืออะไร เป็นต้นว่า “ทำไมเราถึงต้องไปถึงเป้าหมายนั้น” “อะไรคือเป้าหมายสุดท้ายของเรา” และ “การไปถึงเป้าหมายนั้นสำคัญต่อเราอย่างไร” ให้มากขึ้น
8
2) รู้จักหลักการคิดของสมองเรามากขึ้น
4
- สาเหตุที่เราไม่สามารถคิดไอเดียปังๆ ได้ตลอดเวลา นั่นเป็นเพราะสมองเราทำงานเป็นช่วงๆ หลังจากเราได้ไอเดียดีๆ มาหนึ่งเรื่อง สมองเราจะเข้าสู่ “ภาวะพักผ่อน” แล้วขั้นตอนแบบนี้ก็วนเวียนไปเรื่อยๆ แม้กระทั่งมาร์แซล พรุสต์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส เจ้าของนิยายดังเรื่อง “In Search of Lost Time” เขาเองก็ไม่สามารถหนีความจริงข้อนี้พ้น
1
ผลงานอันโดดเด่นนี้ของเขาไม่ได้สำเร็จในชั่วข้ามคืน บทประพันธ์ของเขาผ่านการขีดเขียน ร่างแล้วก็ลบอยู่หลายครั้ง จนออกมาสำเร็จและซับซ้อนอย่างที่เราเห็น
1
ดังนั้นหากเราอยากได้ไอเดียสุดแจ่มแบบมาร์แซล พรุสต์ สิ่งที่เราต้องทำคือ ใช้สมุดโน้ตจด ‘ทุกไอเดีย’ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เก็บไอเดียเหล่านี้ไว้ไตร่ตรองทีหลัง แล้วค่อยเติมเต็มและเชื่อมโยงความคิดเหล่านั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3
- ไอเดียดีๆ มักมาตอนสมองเราเข้าสู่ “ช่วงกึ่งยุ่งกึ่งว่าง”
เคยสังเกตไหมว่า เวลาที่เราคิดอะไรดีๆ ออกมักจะไม่ใช่ตอนที่เราว่างมากๆ หรือตอนที่เราใช้สมาธิตั้งใจคิดมากๆ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตอนกำลังอาบน้ำ สระผม หรือล้างจานอยู่ ช่วงเวลานี้เรียกว่าช่วงกึ่งยุ่งกึ่งว่างนั่นเอง
9
ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ขณะที่เราอยู่ในภาวะดังกล่าว สมองมักจะเปิดรับไอเดียแปลกใหม่ได้ง่ายกว่าตอนที่สมองตื่นตัว (ตอนพยายามโฟกัสคิดหาไอเดีย) เพราะในช่วงที่สมองตื่นตัวนี้ ไอเดียใหม่ๆ จะทำให้เรารู้สึกช็อก จมอยู่ในความคิดจนหลงลืมสิ่งรอบข้าง และอาจเกิดอันตรายได้ สมองเราในสภาพตื่นตัว 100% จึงหลีกเลี่ยงอันตรายโดยการไม่อยากคิดไอเดียใหม่นั่นเอง
6
3) ใช้สิ่ง ‘ธรรมดา’ ในชีวิตมาเพิ่มวิธีคิดให้ ‘ลึกซึ้ง’
2
คนมักจะคิดว่า “อารมณ์ลบ” เป็นตัวการบ่อนทำลายความคิดสร้างสรรค์ แต่จริงๆ แล้ว รู้ไหมว่า บางครั้งคนเราก็พัฒนาความคิดผ่านอารมณ์ลบๆ ได้เหมือนกันนะ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เรารู้สึกอิจฉาใคร แทนที่จะพยายามหลีกเลี่ยงความรู้สึกนี้ ให้ลองพิจารณาดูว่าจริงๆ แล้วเรากำลังขาดสิ่งที่คนนั้นมีหรือเปล่า ลองใช้ความอิจฉานี้มองให้ทะลุปรุโปร่งว่า “จริงๆ แล้วชีวิตเราต้องการอะไรกันแน่” เราจะได้เข้าใจเป้าหมายที่แท้จริงของเรามากขึ้น
แม้กระทั่งเรื่องธรรมดาอย่าง “ความตาย” ก็ช่วยกำหนดมุมมองในการใช้ชีวิตให้เราได้ เราจะเกิดสองมุมมอง คือ 1) “ทำทุกอย่างให้เต็มที่” เพราะเวลาบนโลกเรามีจำกัด จนเรายอมอดทนทำงานที่เราไม่ชอบต่อไป
1
และ 2) “ใช้ชีวิตแบบช่างมันสิ” เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ไม่ได้สำคัญอะไรอยู่แล้ว เพราะเดี๋ยวสุดท้ายเราก็กลายเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้
1
จริงอยู่ที่ความคิดลบๆ อย่างเรื่องความตายนั้นน่ากลัว แต่แทนที่จะหลีกเลี่ยงไม่คิดถึงมัน และใช้ความตายมาเพิ่มมุมมองชีวิตให้แก่เรา ก็ทำให้การคิดเรื่องชีวิตดูลึกซึ้งขึ้นมาได้
2
พอเราเริ่มมีความคิดที่ลึกซึ้งขึ้นมาบ้างแล้ว ขั้นต่อไปที่ควรทำคือตั้งคำถามกับมัน หลายคนเชื่อว่าคนที่มีความคิดลึกซึ้ง อย่างเป็น CEO ทนาย หรืออาชีพที่ต้องใช้ความคิดอื่นๆ คงไม่มานั่งสงสัยความคิดตัวเองหรอก แต่นั่นเป็นความเชื่อแบบผิดๆ เพราะจริงๆ แล้วคนเหล่านี้เองก็สงสัยความคิดของตัวเองเหมือนกัน! พวกเขามักจะไม่เชื่อความคิดที่เพิ่งนึกออก จนกว่าพวกเขาจะหาข้อมูลที่ตอบ ‘ความสงสัย’ ได้ต่างหาก
2
แล้วความสงสัยในที่นี้คืออะไร ความสงสัยหมายถึง การที่เราสงสัยในความคิดเห็นที่เราได้รับจากผู้อื่น การมองหาคำตอบของคำถาม หรือการหาคำอธิบายเพื่อดับความสงสัยนี้ ดังนั้น หากอยากพัฒนาความคิด เราควรหัดตั้งคำถามความคิดของตัวเองบ้าง
1
คำว่า “Skepticism” ที่แปลว่า ความสงสัย นี้ก็มาจากโรงเรียนในสมัยกรีกโบราณ คนโบราณมองว่า สมองเราเต็มไปด้วยอคติและความผิดพลาดที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขได้ ความคิดที่ออกมาจากสมองเราเองจึงยังไม่น่าเชื่อถือเสียเท่าไร ดังนั้นการตั้งคำถามหรือสงสัยในความคิดเรา ทำให้เรามีโอกาสไตร่ตรองข้อมูลที่มีว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน
3
แล้วการสงสัยว่าความคิดเราอาจผิดเพี้ยนไปจากความจริงได้เสมอนั้นจะช่วยปลดล็อกสมองของเราได้อย่างไร? การรู้ตัวว่าความคิดของเราอาจผิดพลาดได้นั้น ทำให้เราต้องคอยหาข้อมูลหรือมุมมองอื่นๆ มาเสริม และตีความว่า แต่ละข้อมูลที่ได้รับมาขัดแย้งกันเองมากแค่ไหน เราอาจจะเจอแนวคิดที่ล้มล้างความคิดเดิมของเราไปเลย หรือเจอแง่มุมใหม่ๆ ที่ลึกซึ้งขึ้น และถ้าให้กระบวนการคิดของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่าลืมแยกอารมณ์ออกไปด้วย เพื่อเลี่ยงไม่ให้เราคิดเอนเอียงแบบไม่มีเหตุผล
1
4) ทิ้งความคิดแบบ ‘ปกติ’
บางครั้ง เรามักได้ไอเดียที่ดีที่สุดจากการทิ้ง “ความคิดแบบปกติ” ออกไปจากสมองเรานะ ลองให้สมองเราได้คิดอะไรที่แปลกๆ ก้าวข้ามทฤษฎีและความเป็นจริงทั้งหมดที่เราเคยรู้ไปให้หมด เช่น สิ่งแรกที่จะทำหลังรู้ว่าพรุ่งนี้โลกจะแตก หรือหากเราไม่มีวันล้มเหลว เราจะทำอะไรในชีวิตบ้าง นี่น่าจะช่วยให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ หรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ฝึกความคิดสร้างสรรค์แบบนักเขียนมืออาชีพผ่านการฝึก “People-watching” https://bit.ly/35HWXId
อ้างอิง:
- The School of Life (2020), How to Think More Effectively
1
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskills
โฆษณา