Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Reporter Journey
•
ติดตาม
9 ก.พ. 2022 เวลา 05:21 • ข่าวรอบโลก
ยุโรปเมิน ไม่มี Facebook ก็ไม่แคร์
หลัง Meta ขู่แบนกฎหมายความเป็นส่วนตัว
ไม่สามารถส่งข้อมูลกลับอเมริกา หวั่นรายได้วูบ
13
เรียกได้ว่านี่คือพยายทำตัวเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่ต้องการครองโลกออนไลน์อย่างแท้จริงสำหรับ Meta บริษัทแม่ของทาง Facebook และ Instagram เพราะก่อนหน้านี้ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับกฎหมายของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นกฎหมายด้านความเป็นส่วนตัว General Data Protection Regulation (GDPR) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการดูแลข้อมูลส่วนตัวของประชาชนชาวอียู ไม่ให้ถูกจัดเก็บโดยบริษัทผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี นำไปหาผลประโยชน์ด้านอื่นๆ โดยเฉพาะกับการโอนถ่ายข้อมูลเหล่านี้ข้ามชาติไปยังประเทศต้นทางที่บริษัทแม่ของผู้ให้บริการแพล็ตฟอร์มตั้งอยู่ ซึ่ง Meta ก็มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ และต้องการข้อมูลเหล่านี้ส่งกลับไปเพื่อพัฒนาระบบการให้บริการ หรือแม้แต่การยิงโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ที่นับได้ว่าเป็นรายได้หลักของทางบริษัท และมีมูลค่ามหาศาลหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
8
แน่นอนว่ากฎหมายที่ออกมานี้กระทบกับ Meta เต็มๆ เป็นเหมือนการตัดทางทำมาหากินที่ทาง Facebook และ Instagram ต้องพึ่งพาการใช้ข้อมูลของผู้ใช้บริการในการทำแคมเปญโฆษณาต่างๆ ให้กับลูกค้าของทางแพล็ตฟอร์ม ดังนั้นการที่ยุโรปจะบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างเลี่ยงไม่ได้
3
ต้องอธิบายกันก่อนเกี่ยวกับกฎหมายความเป็นส่วนตัวของยุโรป เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ อยู่ในอำนาจการคุ้มครองทั้งของข้อกฎหมายในประเทศนั้นๆ รวมทั้งศาลยุติธรรมยุโรป ที่เป็นหน่วยงานกลางในการดูแลพลเมืองชาวอียู
1
เดิมทีสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป เคยมีความร่วมมือระหว่างกันในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกัน โดยมีจุดประสงเพื่อการค้า การลงทุน หรือเรียกว่า EU-U.S. Privacy Shield
1
แต่ปัญหาก็ได้เกิดขึ้นเมื่อปี 2020 หลังจากที่ข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอียูเกิดการรั่วไหลบ่อยครั้ง โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจากการป้องกันที่ไม่ดีพอของบริษัทเทคโนโลยีอเมริกา ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมาก
5
เพราะการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้มีเพียงแค่ชื่อ นามสกุล หรือที่อยู่ แต่รวมไปถึงหมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน หรือแม้แต่บัญชีธนาคาร ที่นับว่าเป็นเรื่องอันตรายอย่างมากหากมีอาชญากรไซเบอร์ และมิจฉาชีพอาศัยช่องโหว่ตรงนี้โจมตี และแฮกข้อมูลดังกล่าวไปเพื่อก่อการโจรกรรม
ทำให้ศาลยุติธรรมยุโรป (Court of Justice of the European Union) ตัดสินว่า Privacy Shield ไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกต่อไปในตั้งแต่กรกฎาคม ปี 2020 เพราะสหรัฐฯ ไม่อาจปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับเหล่านี้ได้ดีพอ
5
กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ส่งผลแค่กับ Meta แต่รวมไปถึงบริษัทด้านเทคโนโลยีอื่นๆ ของสหรัฐฯ อีกด้วย ทั้ง Microsoft, Apple, Amazon และอื่นๆ อีกมากมาย
3
จึงไม่แปลกใจว่าทำไมทาง Meta ถึงต้องออกมาขู่ยุโรปว่า ถ้าบังคับใช้กฎหมายความเป็นส่วนตัว ก็จะถึงขั้นปิดให้บริการ Facebook และ Instagram ในสหภาพยุโรปกันเลยทีเดียว
1
“หากเราไม่สามารถส่งข้อมูลต่าง ๆ ข้ามประเทศได้ในประเทศต่าง ๆ ที่เรานั้นให้บริการอยู่ มันอาจส่งผลต่อการให้บริการของเรา รวมถึงส่งผลต่อการยิงโฆษณาต่าง ๆ ที่เป็นไปอยู่ และหาไม่สามารถจัดทำข้อตกลงใหม่ได้ภายในปี 2022 อาจเป็นไปได้ว่า จะต้องปิดให้บริการ Facebook และ Instagram ลงในประเทศแถบยุโรปทั้งหมด”
9
ความสูญเสียที่จะตามมาของทาง Meta ที่สำนักข่าวต่างประเทศประเมินไว้หากโดนกฎหมายดังกล่าวเล่นงานก็คือ ความเสี่ยงต่อการละเมิดหลักเกณฑ์ GDPR จนอาจถูกปรับเป็นเงินสูงถึง 4% ของรายได้ต่อปี หรือประมาณ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐหากไม่ปฏิบัติตาม
2
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา Meta เผชิญกับวิกฤติด้านความเชื่อมั่น ซึ่งก่อนหน้านี้การอัปเดต iOS 14.5 บนอุปกรณ์ของ Apple ก็กลายเป็นก้างชิ้นใหญ่ที่สกัดกั้นการยิงโฆษณาไปยังกลุ่มผู้ใช้อุปกรณ์ทั้ง iPhone และ iPad ประสิทธิภาพการยิงโฆษณาและแคมเปญที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ของ Meta ที่อาจจะต้องสูญไปในปีนี้นี้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
11
ประกอบกับการเติบโตของผู้ใช้บริการรายใหม่ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการที่ผู้คนเริ่มมีตัวเลือกในการใช้แพล็ตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ แทน ยิ่งทำให้รายได้ทั้งของ Meta หรือแม้แต่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทหายไปมหศาลนับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเพียงชั่วข้ามคืน
2
แต่ดูเหมือนว่าคำขู่ของทางบริษัทที่จะปิดให้บริการโซเชียลมีเดียดังกล่าวจะไม่ได้ทำให้กรรมธิการแห่งอียูแคร์แต่อย่างใด เพราะล่าสุด Robert Habeck รัฐมนตรีเศรษฐกิจของเยอรมนี ระบุว่า ตัวเองไม่ได้เล่น Facebook หรือ Twitter มาหลายปีแล้วหลังบัญชีถูกแฮก และชีวิตก็เป็นไปด้วยดี ส่วนรัฐมนตรีคลังของฝรั่งเศส Bruno Le Maire ก็แถงสัมทับว่าเขาเชื่อว่าชีวิตที่ไม่มี Facebook ก็เป็นชีวิตที่ดีได้ และขอให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการดิจิทัลเข้าใจว่าทวีปยุโรปจะต่อต้านคำขู่นี้ และยืนยันอำนาจเหนือเขตแดนตนเอง
27
ก็ต้องจับตารอดูกันต่อไปว่า สถานการณ์จะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ หาก Facebook และ Instagram หายไปจากยุโรปจริง ก็อาจจะมีใช้งานผู้ได้รับผลกระทบบ้างในช่วงแรก แต่อาจจะมีการปรับตัวไปใช้แพล็ตฟอร์มอื่นๆ แทน และอาจจะเป็นโอกาสให้โซเชียลมีเดียหน้าใหม่เกิดขึ้นมาแทนก็เป็นได้ แต่ผู้ที่จะเจ็บหนักคงหนีไม่พ้น Meta ที่จะต้องสูญเสียทั้งฐานผู้ใช้งาน และรายได้มหาศาล เหมือนที่ไม่อาจเข้าถึงตลาดจีนที่ทำให้ต้องสูญเสียโอกาสในประเทศที่มีผู้บริโภคกว่า 1,500 ล้านคน
12
แหล่งอ้างอิง
https://bloom.bg/336UKoP
https://bit.ly/3rAlNCk
https://bit.ly/3GCAPf9
4
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Website :
reporter-journey.com
Blockdit :
blockdit.com/reporterjourney
Facebook :
facebook.com/reporterjourney
Tiktok :
tiktok.com/@reporterjourney
IG :
instagram.com/richart_journey
1
55 บันทึก
100
11
101
55
100
11
101
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย