10 ก.พ. 2022 เวลา 02:35 • การเมือง
ตารางเดียวจบทั้งกระดาน
ดูตารางจากข้างบนแล้วจะเห็นภาพชัดเจนว่าคนที่จ่ายภาษีมากที่สุดคือประชาชน คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ทั้ง แรงงานภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม บริการ ทั้งในทุกอาชีพ ดูได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ vat ซึ่งคนส่วนเป็นผูจ่ายมากกว่าคนรวยโดยสัดส่วนในภาพรวม ยิ่งถ้าเอาภาษีมูลค่าเพิ่มมาบวกกับภาษีบุคคลธรรมดา 7แสนล้านบาท(700k)+3.5 แสนล้านบาท (350k) = 1,050,000 ล้านบาท ในขณะที่รายได้รวมของรัฐผ่านกระบวนการการเก็บภาษี จาก กรมสรรพสามิตร กรมศุลการกร กรรมสรรพากร และหน่วยงานอื่น อยู่ที่ 1,202,460 ล้านบาท
ตัวเลขภาษีมรดก ไม่มีให้เห็นในตารางแสดงว่าเก็บในอัตราส่วนที่น้อยมาก ดังนั้นความร่ำรวย ทั้งเงินทอง ทรัพย์สิน ที่ดิน จึงตกไปอยู่ในครอบครองของกลุ่มทุนซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของสังคม ภาษีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งซื้อขายในวันหนึ่งๆเกือบ 1,000,000 ล้านบาท ก็ไม่มีการเก็บพอเสนอจะเก็บเพียง 0.001%พวกนายทุนทั้งหลายก็โหวกเหวกโวยวายจนรัฐบาลต้องล่าถอย
ข้อเสนอของภาคประชาชน เครือข่ายแรงงาน ที่เสนอให้เก็บภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ภาษีที่ดิน หรือแม้แต่การปฏิรูปที่ดิน การจำกัดการถือครองที่ดิน แล้วกระจายที่ดินให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นธรรมและห้ามซื้อขายเปลี่ยนมือยกเว้นมอบให้แก่ทายาทที่ชอบด้วยกฏหมายกลับไม่เกิดขึ้น ไม่มีใครกล้าในประเทศนี้
นี่คือสาเหตุหลักของความเหลื่อมล้ำที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อย่างน่าละอายคือ “ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลก” และ “สถิติการทุจริตขยับสูงขึ้นทุกปี” แล้วประเทศนี้จะพัฒนาอย่างไร
ราคาพลังงาน น้ำมัน ก๊าซ ที่ราคาแพงอย่างมากจากการเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน ซ้ำซาก ประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิกการเก็บ หรือลดอัตราการเก็บลง รัฐบาลก็เพิกเฉยไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องความต้องการของประชาชน รัฐบาลอย่างที่ว่านี้เป็นรัฐบาลแบบไหนกัน
ซึ่งหากรัฐบาลเก็บภาษีแบบก้าวหน้าในสิ่งที่กล่าวมา แล้วมาอุดหนุนบริการสาธารณะ เช่น การรักษาพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา สร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ของประชาชน และลดการเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนในสินค้า และการบริการที่สามารถให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าแบะบริการในราคาที่เป็นธรรม ประเทศไทยก็สามารถปลดล๊อคความเหลื่อมล้ำได้แน่นอน
อีกด้านหนึ่งหากรัฐบาล สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ประกันเรื่องค่าจ้าง ประกันรายได้ที่เป็นธรรม ส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกร ธุรกิจรายย่อยให้สามารถมีพลังในการทำอาชีพปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ อย่างไม่เดือดร้อนทางการผลิตและการจำหน่ายแล้ว นั่นคือเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ทำเถิดก่อนสายเกินไป
โฆษณา