11 ก.พ. 2022 เวลา 07:31 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ธรรมชาติของทุนนิยม (สวรรค์ของนายทุนแต่...ของชนชั้นแรงงาน) ตอนที่ 1
หนี้สิน
ขออนุญาติเกริ่นนำก่อนว่า บทความซีรีส์ใหม่นี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมที่
กลั่นกรองจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้เรียนรู้และรับฟังจากสื่อต่างๆมานานและจากอคติส่วนตัวเล็กน้อยที่เห็นความเหลื่อมล้ำของนายทุนกับลูกจ้างอย่างเรามานานครับ จนอยากจะสื่อให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีชีวิตที่ดีขึ้นกันแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดีครับ
T T ซึ่งถ้าผิดพลาดประการใดหรือความคิดนี้ยังตื้นเขินเกินไปก็ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ล่วงหน้าครับ T T
และขอเน้นย้ำก่อนเริ่มซีรีส์นี้เลยว่า
***ผมไม่ได้มีอคติหรือจะโจมตีภาคส่วนต่างๆ แต่อย่างใด***
เพียงแต่อยากสื่อให้ประชาชนรายได้น้อยอย่างพวกเรา ตาสว่าง กับระบบทุนนิยมที่ไม่ได้ออกแบบมาให้คนที่หาเงินจากแรงงานของตัวเองเพียงทางเดียวสามารถลืมตาอ้าปากได้ง่ายๆ แต่ออกแบบมาให้คนที่มีทุน สามารถร่ำรวยขึ้นได้ครับ *ทุน*นิยม ครับ
เพียงแต่เลี้ยงให้ชนชั้นแรงงานอย่างเรา พอมีชีวิตรอดไปได้ ผ่านเศษเงิน เศษสวัสดิการสังคม แล้วให้เราทำงานเป็นฟันเฟืองผลิตเงินให้นายทุนต่อไปครับ
เรื่องธรรมชาติของทุนนิยม ที่ผมจะกล่าวถึงนี้ ทุกตอนจะมีพระเอกของเรื่องก็คือ ชนชั้นแรงงาน อย่างผมที่เป็นพนักงานลูกจ้างกินเงินเดือนธรรมดาครับ และแต่ละตอนจะมีตัวละครต่างๆที่เชื่อมโยงกับพระเอก เช่น นายจ้าง, ธนาคาร และภาครัฐ เป็นต้นครับ
และเมื่อทุกท่านได้อ่านครบทุกตอนแล้ว อยากให้เชื่อมโยงปะติดปะต่อเข้าด้วยกันครับ เพื่อที่จะได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในสิ่งที่ผมจะสื่อครับ เอาหละ! เรามาเริ่มกันเลยครับ
ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ กับ ชนชั้นแรงงาน
นิยามของผมสำหรับธนาคารคือ เสือนอนกิน คำๆนี้ผมได้มาจากพี่ที่ทำงานเก่าผู้จัดการแผนกบัญชีการเงินเขาใช้พูดถึงธุรกิจที่หาเงินทำกำไรโดยที่ไม่ต้องใช้เงินของตัวเองครับ
แล้วทำไมผมถึงใช้คำนี้กับธนาคาร?
ก็รายได้หลักของธนาคารส่วนใหญ่แล้วมาจากการปล่อยสินเชื่อต่างๆ แล้วเงินที่พวกเขาปล่อยกู้จำนวนมหาศาลนั้นหามาจากไหน? ถ้าไม่ใช่มาจากเงินฝากของประชาชนอย่างเราครับ
การที่ประชาชนอย่างเราฝากเงินธนาคารนอกจากความปลอดภัยแล้วก็คือการได้รับผลตอบแทนที่เรียกว่าดอกเบี้ยนั่นเองครับ ทีนี้เรามาดูข้อมูลสถิติดอกเบี้ยเงินฝากประจำจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยกันครับ
อ้างอิง ธนาคารแห่งประเทศไทย : https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=409&language=th ข้อมูลจาก 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
อัตราดอกเบี้ยในแต่ละปีนั้นไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการปรับขึ้นลงของดอกเบี้ยนโยบายจาก
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ทีนี้เรามาดูกันว่า ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้เราเท่านี้แล้วเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินปล่อยสินเชื่อซักประเภทหนึ่ง นั่นก็คือ ดอกเบี้ยชั้นดีอย่าง MLR แล้ว จะมีส่วนต่างเท่าไรกัน
อ้างอิง ธนาคารแห่งประเทศไทย : https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=409&language=th ข้อมูลจาก 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
ถ้าไปดูในข้อมูลของ ธปท. ส่วนต่างจะอยู่ที่ประมาณ 4-5% ครับ แล้วรายได้อื่นๆของธนาคารอีกเช่น ค่าธรรมเนียมธุรกรรมต่างๆ เป็นต้น
ถึงธนาคารจะมีความเสี่ยงบ้าง แต่ก็คงไม่เสี่ยงเท่ากับประชาชนธรรมดาอย่างเราที่มีกฎหมายคุ้มครองเงินฝากที่พึ่งเปลี่ยนแปลงไปเมื่อ ส.ค.ที่ผ่านมา คือ คุ้มครองแค่ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน เพราะเหตุนี้คนที่มีฐานะร่ำรวยได้ถอนเงินออกจากบัญชีให้ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 ธนาคารแล้วนำไปลงทุนต่อยอดเงินของตัวเองแทน
เงินของประชาชนแท้ๆ ธนาคารนำไปแสวงหาผลกำไร แต่พอเกิดปัญหากลับคืนผู้ฝากไม่เต็มจำนวน
ทีนี้มาดูโซ่ตรวนแรกของเรากันครับ
ชีวิตคนเรามีสิ่งที่จำเป็นในชีวิตจริงๆไม่กี่อย่าง คือ ที่อยู่อาศัย, อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม,
ยารักษาโลก, และโทรศัพท์(เพิ่มเติม) แต่สิ่งที่มีราคาแพงที่สุดแน่นอนก็ต้องเป็นที่อยู่อาศัย แล้วประชาชนส่วนใหญ่มีความนิยมที่ว่า "ถ้าสู้จ่ายค่าเช่าห้องหรือบ้านทุกเดือน เอาเงินมาผ่อนบ้านเป็นของตัวเองยังดีซะกว่า"
แต่เมื่อคุณได้ยื่นกู้ไปแล้ว โซ่ตรวนของหนี้สินและดอกเบี้ย จะอยู่กับคุณไปอีกเกือบครึ่งชีวิตทันที สิ่งที่คุณได้คือที่อยู่อาศัยและเงินลดหย่อนภาษีอันน้อยนิด แต่สิ่งที่ธนาคารได้คือดอกเบี้ยสินเชื่อจากคุณ เงินที่ได้มาจากการฝากธนาคารของคุณเองครับ
ธนาคารมีแต่ได้กับได้ แล้วยิ่งถ้าคุณไม่ได้คำนวณความเสี่ยงที่ว่าวันหนึ่งคุณอาจตกงานและวันข้างหน้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้น แล้ว คุณก็จะมีหนี้สินก้อนใหญ่ขึ้นโดยไม่รู้ตัว อาจจะทำให้คุณล้มละลายหรือโดนยึดบ้านที่คุณผ่อนมานานครับ
เรามาดูสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP กันครับ
อ้างอิง ธนาคารแห่งประเทศไทย : https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=409&language=th
จากร้อยละ 51.7 ในปี 2550 เป็น 89.4 ในปี 2563 ซึ่งนับวันผู้คนมีหนี้สินมากขึ้น แต่ที่ผมเสียใจกว่าคือ การที่ภาคธุรกิจหรือการเงินคิดหรือสื่อทำนองว่า "การที่หนี้สินครัวเรือนแทบจะชนเพดานแบบนี้ ทำให้ไม่เหลือความสามารถในการกู้เงินเพิ่มได้อีก" นัยหนึ่งอาจหมายถึงเมื่อมีกำลังซื้อ เศรษฐกิจก็จะแข็งแกร่งต่อไป แต่สำหรับผมนั้นมันหมายถึง
"พวกคุณร่ำรวยโดยไม่สนความยากลำบากของคนอื่น" ครับ
แล้วเมื่อมีหนี้สินจนไม่สามารถกู้ได้ ธุรกิจอสังหาจึงเงียบเหงาลงตามๆกัน โดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยราคาต่ำ 9 แสน ถึง 2 ล้านบาท ผมจะไม่แปลกใจเลยถ้ากฎหมายการถือครองที่ดินหรือที่อยู่อาศัยของคนต่างชาติจะถูกอนุมัติใสอนาคตครับ โดยสนแต่จะให้ภาคธุรกิจมีกำไรที่แข็งแกร่งต่อไปและสนแต่การอยากปล่อยสินเชื่อให้ไม่ลดลง แต่ไม่สน Real Demand ของภายในประเทศที่มีจำกัดมาตั้งนานแล้วครับ
แล้วบริษัทหลักทร้พย์หละ?
อย่างที่ผมสื่อในหลายๆบทความที่ผ่านมา ถ้าคุณไม่เป็นนักธุรกิจ คุณก็ควรเป็นนักลงทุนที่เป็นเหาฉลามรวยไปพร้อมกับเจ้าของธุรกิจผ่านการซื้อหุ้นเป็นส่วนหนึ่งกับพวกเขา
แล้วเรานักลงทุนรายย่อยสมัครเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับใคร? ก็คือบริษัทหลักทรัพย์นั่นเอง และรายได้หลักของพวกเขาก็มาจากค่าคอมมิสชั่นและค่าธรรมเนียม ที่คุณทำการซื้อขายในแต่ละครั้ง
ยิ่งเงินก้อนใหญ่และซื้อขายบ่อยครั้ง บริษัทหลักทรัพย์เหล่านี้ก็จะมีรายได้มากขึ้นครับ
ผมสังเกตุว่าคอร์สสัมนาต่างๆที่ไม่มีค่าใช้จ่ายและโฆษณาแนะนำส่วนใหญ่จะเป็นพวกสาย technical เทรดระยะสั้น และเครื่องทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูงต่างๆเช่น DW ครับ
ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบศึกษาพื้นฐานธุรกิจ ความรู้ของธุรกิจต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์ในการลงทุน แต่หาคอร์สฟรีเกี่ยวกับความรู้พวกนี้ค่อนข้างน้อยครับ ผมเลยต้องหาความรู้จากสื่อต่างๆรวมถึงฟัง Opp day ผู้บริหารพบนักลงทุน เพื่อฟังรายละเอียดการทำธุรกิจด้วยตัวเองครับ
เนื่องจากจำนวนการเทรดที่บ่อยนั้นส่งผลดีกับบล.ต่างๆ ถ้าสังเกตุให้ดีนักลงทุนสายเทคนิคที่เก่งๆและอยู่รอดในตลาดจนเห็นในสื่อมากมายนั้นมีจำนวนน้อยมากครับ
และอีกอย่างที่ผมอยากให้คิดตาม คุณเห็นไหมครับว่า เจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ค่อยขายหุ้นตัวเองออกมาเลย กอดไว้แน่นตราบนานเท่านาน ถ้าจะมีปล่อยออกมา
อาจจะเพราะธุรกิจเริ่มมีปัญหาพื้นฐานเปลี่ยนพวกเขาจึง Exit ออกมาครับ
เพราะพวกเขารู้ว่าคุณค่าที่แท้จริงของการลงทุนคืออยู่กับบริษัทที่เติบโต สร้างกระแสเงินสดจากการลงทุนให้พวกเขาทุกปี ซึ่งพวกเขาเองย่อมรู้ดีกว่าใครว่าธุรกิจที่ตัวเองทำอยู่จะเติบโตหรือไม่ แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องถือหุ้นส่วนใหญ่ไว้ก็เพื่อรักษาอำนาจการบริหารของตัวเองไว้ด้วยครับ
เห็นไหมครับ การลงทุนระยะสั้นถึงกำไรที่ได้มาจะน่าตื่นเต้นเพียงใด แต่ก็เป็นประตูบันไดให้เดินกลับลงไปทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยเหมือนเดิม จากการขาดทุนและโดนสูบเงินจากค่าคอมและค่าธรรมเนียมของโบรคเกอร์ครับ
จบไปแล้วครับกับจิ๊กซอตัวแรกของผม
ที่ชนชั้นแรงงาน ทำงานหาเงินมาได้ ฝากเงินกับธนาคาร แต่ได้รับการคุ้มครองไม่เต็มจำนวน แล้วเอาเงินของเราไปแสวงหากำไร โดยการปล่อยกู้ให้ภาคธุรกิจและกับพวกเราผู้เป็นคนเจ้าของเงินในบัญชีเงินฝากในธนาคารครับ
และการดูดเงินของค่าคอมและค่าธรรมเนียมจากการสร้างความหวังว่าคนธรรมดาก็สามารถรวยได้จากการลงทุนแต่กลับสนับสนุนให้เทรดระยะสั้นผ่านคอร์สสัมนาและออกเครื่องมือการเงินต่างๆที่มีความเสี่ยงสูงมาล่อตาล่อใจพวกเราครับ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วถ้าคิดว่าผมอคติหรืออยากโจมตี ผมก็รบกวนให้กลับขึ้นไปอ่านเจตนาที่แท้จริงด้านบนของผมอีกทีครับ
กราบขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตากดติดตามเพจ My Investment Diary ของผมครับ
โฆษณา