11 ก.พ. 2022 เวลา 05:24 • หนังสือ
📚 รีวิว (ฉบับเต็ม) หนังสือ 2030 เทรนด์อะไรบ้างที่น่าจับตามองในปี 2030 และเราจะปรับตัวเข้ากับโลกอนาคตได้อย่างไร 📚
2
“2030”
1
⭐️ How Today’s Biggest Trends will Collide and Reshape the Future of Everything ⭐️
1
เขียนโดย Mauro F. Guillen
……………..
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเทรนด์ของโลกเราในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าซึ่งก็คือปี 2030 โดยหนังสือเล่มนี้นั้นก็ถือว่าค่อนข้างใหม่โดยเขียนออกมาในปี 2020 ที่เกิดวิกฤตโควิด 19 แล้วด้วยครับ
1
👉🏻 ผู้เขียนจะเขียนถึงเทรนด์ใหญ่ ๆ 8 อย่างที่เค้าเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เราและแน่นอนว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกอนาคตของเราอย่างแน่นอนเช่นกัน
📍 หนังสือได้ให้ตัวอย่างสถิติตัวเลขที่น่าสนใจต่อไปนี้ครับ (ผมขอยกมาแค่บางส่วนที่น่าสนใจ)
2
⚫️ จำนวนสัดส่วนของความมั่งคั่ง (wealth) ทั้งหมดในโลกนี้ที่ผู้หญิงครอบครองอยู่ในปี 2000 คือ 15%
4
🔵 จำนวนสัดส่วนของความมั่งคั่ง (wealth) ทั้งหมดในโลกนี้ที่ผู้หญิงครอบครองอยู่ในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 55%
2
⚫️ จำนวนประชากรในโลกที่หิวโหยและขาดแคลนอาหารในปี 2017 คือ 821 ล้านคน
1
🔵 จำนวนประชากรในโลกที่หิวโหยและขาดแคลนอาหารในปี 2030 จะลดลงเหลือเพียง 200 ล้านคน
1
⚫️ ในขณะที่จำนวนประชากรที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน) ในปี 2017 คือ 650 ล้านคน
🔵 แต่จำนวนประชากรที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน) ในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 1,000 ล้านคน
1
⚫️ ตลาดผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นกลางที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน คือ ยุโรปตะวันตกกับสหรัฐอเมริกา
🔵 แต่ตลาดผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นกลางที่ใหญ่ที่สุดในปี 2030 คือประเทศจีน...
ในปี 2030 นั้นผู้เขียนได้อธิบายในบทนำไว้ว่า นอกจากแถบเอเชียแล้วความเจริญนั้นจะเพิ่มมากขึ้นอย่างเด่นชัดที่ทวีปแอฟริกา โดยรวมเราจะเห็นร้านค้าเปิดน้อยลง เนื่องจากคนมักจะซื้อของออนไลน์สืบเนื่องมาจากการเกิดวิกฤตโควิด 19 ที่ช่วยเร่งให้เกิดสิ่งเหล่านี้ การศึกษาปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบออนไลน์ การพบแพทย์ผ่าน tele-medicine รวมไปถึงการชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสดอีกต่อไป
1
ในประเทศที่เจริญมาก ๆ อย่างอเมริกา จะเป็นครั้งแรกที่มีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก ผู้หญิงอเมริกันเริ่มมีความมั่งคั่งแซงหน้าผู้ชาย มีการนำเอาเทคโนโลยีอย่าง blockchain เข้ามาใช้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน
1
นอกเหนือจาก cryptocurrency ที่เราได้ยินกันจนคุ้นหูดีแล้ว การคมนาคมก็จะเปลี่ยนไปโดยมีการนำ self-driving car หรือรถยนต์ขับอัตโนมัติมาใช้อย่างแพร่หลาย
2
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ผู้เขียนได้ขมวดปมออกมาเป็น 8 เทรนด์หลัก ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหลาย ๆ อย่างนั้นเกิดมาสักพักแล้วนะครับ ถ้าเราสังเกตุและติดตามสถานการณ์ข่าวและโลกอยู่ตลอดเวลา
……………..
“Follow the Babies” 👶👶👶
ข้อแรกนี้เพิ่งเป็นข่าว ที่อยู่ ๆ ก็โผล่มาว่าในประเทศไทยว่าการเกิดของประชากรมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งจริง ๆ มันมีมาสักพักแล้วครับ แต่ไม่เพียงเฉพาะประเทศไทยหรอกครับที่เพิ่งตื่นตัวกับเรื่องนี้ ถ้าเราหันไปดูประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชียประเทศอื่น ๆ อย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือ สิงคโปร์นั้น เค้าประสบปัญหาเรื่องนี้กันมาพักใหญ่แล้วครับ
1
💡 ผู้เขียนบอกว่าในปี 2030 เราจะเกิดการขาดแคลนประชากรเกิดใหม่ขึ้น ซึ่งอาจทำให้หลายประเทศมีประชากรลดลงไปด้วยเลยนะครับ (การเกิดใหม่น้อยผนวกกับการเกิดการอพยพย้ายถิ่นฐาน)
จากการพยากรณ์จำนวนประชากรโลกด้วยแนวโน้มตัวเลขปัจจุบันนั้น จะทำให้ในปี 2030 ประชากรในเอเชียใต้ที่รวมอินเดียไปด้วยนั้นจะมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยจะตามมาด้วยประชากรของทวีปแอฟริกา ในขณะที่เอเชียตะวันออกรวมกับจีนจะมาเป็นอันดับที่สาม
1
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการอพยพย้ายถิ่นฐาน (immigration) เข้ามาเพิ่ม ซึ่งผู้เขียนมองว่าในระยะเวลาอันใกล้คงยังไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจำนวนประชากรโลกในแต่ละภูมิภาคมากนัก
📍 หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเกิดของเด็กที่น้อยลงก็คือบทบาทของผู้หญิงที่เปลี่ยนไปในสังคมปัจจุบันที่เราก็เห็นกันดีว่าผู้หญิงนั้นแทบจะออกมาทำงานกันหมดแล้ว การที่ผู้หญิงได้รับการศึกษาที่มากขึ้นกว่าสมัยก่อน (อย่างต่ำก็ระดับมหาวิทยาลัย) ก็มีส่วนทำให้ผู้หญิงนั้นแต่งงานช้าลงเช่นกัน
2
นอกจากนี้คนในปัจจุบันยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนและให้ความดูแลในลูกคนเดียวเพิ่มมากขึ้นมากกว่าที่จะมีลูกเพิ่มหลาย ๆ คน เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นก็มักจะลงทุนเพิ่มในตัวเด็กเพื่อที่จะให้เค้าได้รับโอกาสที่ดีมากขึ้นในชีวิตให้มากขึ้นไปครับ
ถามว่าแล้วแนวโน้มแบบนี้ทางภาครัฐทำอะไรได้บ้าง?
2
👉🏻 เค้าบอกว่ายากครับ อย่างที่เราพอทราบกันว่าที่ประเทศจีนนั้นเคยพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการเติบโตของประชากรโดยการออกนโยบายให้มีลูกคนเดียวเมื่อปี 1979 เพื่อลดจำนวนประชากรชาวจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากก่อนหน้านั้น
แต่เค้าบอกว่าหารู้ไม่ว่าจริง ๆ แล้วนั้นแนวโน้มประชากรเกิดใหม่นั้นได้ลดลงมาเองแล้วตั้งแต่ช่วงปี 1960 จากปัจจัยแวดล้อมอื่นที่กล่าวไว้ข้างต้น เช่น พวกการเติบโตของเมือง การศึกษาของผู้หญิงที่มากขึ้น แล้วก็แนวคิดที่จะทุ่มเทให้ลูกคนเดียวได้โอกาสที่ดีที่สุดไปเลยมากกว่าจะมีลูกหลายคนนั่นเอง จนสุดท้ายจีนก็ยกเลิกนโยบายนี้ไปในปี 2015
ในขณะที่แอฟริกานั้นประชากรจะมีการเติบโตมาก ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทดแทนการเติบโตในยุโรปหรืออเมริกาได้ก็ตาม แต่คาดว่าการเติบโตของประชากรจะเพิ่มจาก 1.3 พันล้านคนในปัจจุบันเป็น 2 พันล้านคนในปี 2038
1
หลาย ๆ คนมองเผิน ๆ อาจไม่คิดว่าแอฟริกามีอะไรน่าสนใจ แต่ถ้าดูจากแนวโน้มในปัจจุบันทวีปแอฟริกานั้นมีการเติบโตด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมือถือแบบก้าวกระโดดเร็วกว่าที่ไหนเลยนะครับ ผู้เขียนมองว่าในอนาคตแอฟริกานั้นมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมากในหลาย ๆ เรื่อง
2
ในตอนท้ายของบทแรกผู้เขียนได้พูดถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องของการโยกย้ายถิ่นฐานหรือ “immigration” นั่นเอง ซึ่งมีหลายฝ่ายมองว่าจะเป็นผลด้านลบต่อประเทศนั้น ๆ เช่นการโดนแย่งงานของคนท้องถิ่นโดยคนที่ย้ายเข้ามา (immigrants) ซึ่งถ้าไปดูข้อมูลเชิงลึกแล้วจะเห็นว่าประชากรที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามานี่กลับช่วยสร้างงานเสียอีก 👍🏻
2
โดยหากเราลองดูข้อมูลของบริษัทพวกเทคโนโลยีในอเมริกาจะเห็นว่า 23% นั้นก่อตั้งโดยคนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามา ซึ่งดูโดยรวมแล้วการเข้ามาของคนกลุ่มนี้ช่วยให้ GDP รวมสูงขึ้น อีกทั้งมาช่วยเติมเต็มช่องว่างที่มีคนสูงอายุมากกว่าคนทำงานอีกมากของประเทศที่เจริญมาก ๆ ด้วยครับ
1
……………..
“Gray is the New Black” 🧓🏻👵🏼
ผู้เขียนเค้าบอกว่าเรามักจะเข้าใจผิดว่ากลุ่มชาว “millennials” หรือกลุ่มที่เกิดระหว่างปี 1980 และปี 2000 เป็นกลุ่มที่เราควรให้ความสนใจมากที่สุด เพราะคนกลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง แต่เราก็เข้าใจผิดในบางส่วน เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีการเติบโตทางการตลาดมากที่สุดในโลก
1
ถามว่าแล้วกลุ่มไหนหละครับ? 🧐
1
เค้าบอกว่ามันคือกลุ่มประชากรอาวุโสที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปครับ ที่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนมากเพิ่มไปอีก 400 ล้านคนในปี 2030
1
แน่นอนว่าปัจจัยหลักคือคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความมั่งคั่ง (wealth) มากนั่นเอง 💵
1
ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าด้วยเหตุนี้เองทำให้มีโอกาสอีกมากมายในทางธุรกิจกับคนกลุ่มนี้ ซึ่งเค้าคาดว่าตลาดของผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียวในปี 2030
1
💡 ซึ่งโอกาสของสินค้าและบริการต่าง ๆ ก็จะต้องมองความต้องการของคนกลุ่มนี้ เช่น การให้บริการเช่าแทนการซื้อขาด หรือการออกแบบสินค้าให้รองรับกับการถดถอยลงของสุขภาพ กายภาพที่มีความแข็งแรงน้อยลงของผู้บริโภคกลุ่มนี้ นอกจากนี้การให้ความสำคัญกับผู้บริโภคกลุ่มนี้ก็สามารถทำได้อีกหลายทางเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้อย่างตรงจุด เช่น ห้างร้านอาจจะเปิดเร็วขึ้นและเสนอลดราคาในช่วงเวลาเช้ากว่าเวลาเปิดปกติ เพราะคนกลุ่มนี้มักจะมีนิสัยตื่นเช้า
4
อีกธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากก็คือธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพที่แน่นอนว่าจะได้รับประโยชน์โดยตรง
2
นอกจากนี้ธุรกิจการเงินการลงทุนก็เป็นอีกธุรกิจที่ต้องมองความต้องการลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะเมื่อคนเราอายุมากอื่น เราจะไม่กล้าเสี่ยงเท่าเดิม และอยากจะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยลง เพื่อที่จะให้มั่นใจได้ว่าเค้าจะมีเงินเหลือใช้ตลอดชีวิต นอกจากนี้คนกลุ่มนี้จะมีการออมที่น้อยลง (เพราะไม่มีรายได้มาออมแล้ว)
1
👉🏻 ยิ่งไปกว่านั้นคือคนกลุ่มใหม่ ๆ อย่าง millennials ก็จะมีอายุยืนขึ้นไปอีกจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ ทำให้ในอนาคตนั้นความสำคัญของคนกลุ่มนี้ หรือที่เค้าใช้คำว่า “Gray market“ ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีกครับ
1
……………..
“Keeping Up with the Singhs and the Wangs” 🇮🇳🇨🇳
ชนชั้นกลาง (middle class) นั้นถือว่าค่อนข้างมีอิทธิพลกับหลาย ๆ สิ่งในโลก ทั้งเรื่องของกำลังซื้อ แนวคิดต่าง ๆ ทางสังคม การปกครองและการเมือง ซึ่งเป็นเหมือนกระดูกสันหลังของสังคมเลยทีเดียวครับ
ในปัจจุบันนั้นชนชั้นกลางขนาดใหญ่ที่สุดก็อยู่ที่สหรัฐอเมริกากับยุโรป แต่ในปี 2030 ชนชั้นกลางกลุ่มใหม่ที่ประเทศจีนและอินเดียจะเริ่มมีจำนวนมากกว่าที่สหรัฐอเมริกากับยุโรป ซึ่งหากรวมกับประเทศอื่นในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ก็น่าจะมีกำลังซื้อ (purchasing power) ประมาณถึงครึ่งหนึ่งของชนชั้นกลางทั้งโลกเลยครับ (นิยามของชนชั้นกลางที่เค้าให้ไว้คือคนที่มีรายได้ 10 เหรียญถึง 100 เหรียญสหรัฐต่อวัน หรือถ้าเป็นครอบครัวขนาด 4 คน ก็มีรายได้ต่อปีประมาณ 15,000 เหรียญไปถึง 150,000 เหรียญสหรัฐ)
3
มีตัวอย่างหนึ่งที่ในหนังสือเค้ายกให้เห็นความสำคัญของชนชั้นกลางกลุ่มใหญ่คือ โทรศัพท์ไอโฟน หากดูที่กล่องของโทรศัพท์ มันจะบอกว่าโทรศัพท์เครื่องนี้ผ่านมาตรฐานอะไรมาบ้าง ซึ่งในปัจจุบันมีแค่สองมาตรฐานคือ “FCC” ที่รับรองโดยสหรัฐอเมริกา กับ “CE” ที่รับรองโดยสหภาพยุโรป การที่ไอโฟนทำมาโดยอ้างอิงแค่สองมาตรฐานนี้ก็ด้วยเหตุผลหนึ่งก็คือสองภูมิภาคนี้เป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตามในปี 2030 ที่จีนกับอินเดียจะเติบโตขึ้นมาเป็นตลาดขนาดใหญ่กว่านั้น ผู้เขียนมองว่าโทรศัพท์มือถืออย่างไอโฟนก็น่าจะต้องมีการเพิ่มการรับรองมาตรฐานจากฝั่งเอเชียเข้าไปด้วยเช่นกัน
……………..
1
“Second Sex No More?” 💁🏻‍♀️
1
ในปี 2030 ผู้หญิงจะมีความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้นครับ ซึ่งมันก็สืบเนื่องมาจากการที่ผู้หญิงมีโอกาสเท่าเทียมกับผู้ชาย ได้รับการศึกษาเหมือนกับผู้ชายไม่เหมือนในสมัยก่อนอีกต่อไปแล้ว ซึ่งจากแนวโน้มที่เค้าเก็บข้อมูลมาผู้หญิงที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในอเมริกานั้น 40% มีรายได้มากกว่าสามีของเธอ และผู้หญิงก็มีแนวโน้มที่จะรวยหรือมีความมั่งคั่งที่เร็วกว่าผู้ชาย (อาจจะมาจากการที่ผู้หญิงน่าจะเก็บเงินเก่งกว่าผู้ชายรึเปล่า? 🤨) ทำให้เค้ามองว่าในปี 2030 ผู้หญิงจะเป็นคนถือครองความมั่งคั่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของของทั้งโลกนี้
4
นอกจากนี้ข้อได้เปรียบของคุณผู้หญิงก็คือจากสถิติเราคงพอรู้กันว่าผู้หญิงนั้นอายุยืนกว่าผู้ชาย ทำให้ทั้งเวลาที่สามารถทำงานได้ หรือลงทุนได้นั้นโดยเฉลี่ยจะยาวนานกว่าผู้ชาย เค้าบอกเพิ่มอีกว่านอกจากนี้การที่ผู้หญิงอายุยืนกว่าทำให้มีโอกาสที่ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วนั้นจะได้รับมรดกจากสามีของเธอหลังจากสามีเสียชีวิตแล้วอีก (ยิ่งรวยไปอีก 🤣)
4
หากมองในเรื่องของกำลังซื้อ มีคำถามว่าคุณคิดว่าผู้หญิงกับผู้ชายใครใช้จ่ายซื้อของฟุ่มเฟือยมากกว่ากันครับ?
1
👉🏻 จริง ๆ คำตอบก็อาจจะยังไม่ชัดเจน แต่ผู้หญิงนั้นจะชอบจับจ่ายใช้สอยในเรื่องของแฟชั่น เครื่องประดับ ในขณะที่ผู้ชายนั้นมักจะใช้จ่ายในของชิ้นใหญ่ ๆ ไปเลย เช่น รถยนต์สปอร์ต ซึ่งหากเรานับรถยนต์ไปด้วยคำตอบก็จะเป็นผู้ชายใช้จ่ายมากกว่า (ด้วยมูลค่าที่สูงของมัน) แต่ถ้าหากไม่นับ ผู้หญิงก็จะเป็นฝ่ายที่ใช้จ่ายมากกว่ากับของฟุ่มเฟือยครับ
3
นอกจากนี้ผู้หญิงยังมีแนวโน้มจะใช้จ่ายลงทุนในเรื่องของการศึกษาไม่ว่าจะของตนเองหรือของลูกมากกว่าผู้ชาย รวมไปถึงเรื่องของการดูแลสุขภาพทั้งของตนเองและคนในครอบครัวอีกด้วย
1
เมื่อมองไปถึงเรื่องการลงทุน จากผลการศึกษาก็พบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงจะกล้าเสี่ยงน้อยกว่าผู้ชาย แต่มีการศึกษาหนึ่งก็บอกไว้ว่าในระยะยาวผู้หญิงจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเล็กน้อย เค้าบอกว่าหนึ่งในเหตุผลที่กองทุนรวมพวกอิงดัชนีต่าง ๆ นั้นเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นก็ด้วยความที่มีผู้หญิงมาลงทุนเพิ่มมากด้วย
2
แต่อย่างไรก็ตามครับผู้หญิง (หรือแม้กระทั่งผู้ชาย) ก็ไม่ได้เหมือนกันหมดซะอยู่ดีครับ
ด้วยแนวโน้มการเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ ของผู้หญิง ผู้เขียนมองว่าในปี 2030 เกือบครึ่งของธุรกิจใหม่ต่าง ๆ จะถูกตั้งมาโดยผู้หญิง รวมถึงการเข้าไปมีตำแหน่งผู้นำในบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น ต่างจากในอดีตหรือปัจจุบันที่ผู้นำต่างๆ หรือผู้บริหารระดับสูงในองค์กรนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย หากดูจากข้อมูลใน Fortune 500 ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา มีน้อยกว่า 5% ที่มี CEO เป็นผู้หญิงนะครับ แต่แนวโน้มในอนาคตก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2
……………..
“Cities Drown First” 🌆
แนวโน้มหรือเทรนด์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนั้นจะยิ่งขับเคลื่อนให้แนวโน้มของคนที่จะย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองเพิ่มขึ้นไปอีกครับ
1
💡 เมื่อปี 2017 มีเพียง 29 เมืองทั่วโลกที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน ภายในปี 2030 เค้ามองว่าจำนวนเมืองจะเพิ่มเป็น 43 เมืองเลยทีเดียวครับ และจะมีถึง 14 เมืองที่มีประชากรอยู่กันมากกว่า 20 ล้านคน
ซึ่งปัญหาใหญ่เลยที่มีอยู่แล้วแล้วจะมีแนวโน้มแย่ลงไปอีกหากไม่มีการแก้ไขก็คือเรื่องของ “Climate Change ” หรือภาวะโลกร้อนที่จะยิ่งแย่ลงไปครับ 🥵
1
นอกจากนี้จะมีอีกเรื่องคือเรื่องของเมืองใหญ่ที่จะจมน้ำครับ 😱 ซึ่งก็เกี่ยวเนื่องมาจากเรื่องของภาวะโลกร้อนที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าเราลองสังเกตดูจะเห็นว่าเมืองใหญ่ ๆ ในโลกนี้ก็มักจะอยู่ติดทะเล ในเอเชียเองที่จะเป็นศูนย์กลางของการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคตนั้นจะมีความเสี่ยงมากที่หลาย ๆ เมืองจะจมน้ำ หรือเกิดน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น เซี่ยงไฮ้ โอซาก้า จาการ์ต้า มะนิลา โฮจิมินห์ ซิตี้ หรือกรุงเทพเองก็ตามครับ ❗️
1
เมื่อเมืองใหญ่ ๆ ยิ่งโต ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจราจร มลภาวะ น้ำเสียต่าง ๆ ก็จะยิ่งทวีคูณเข้าไปอีกครับ
⭐️ ซึ่งผู้เขียนมองว่าการจะแก้ปัญหาเหล่านี้นั้นต้องอาศัยการคิดแบบ “lateral thinking” (การคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือ การคิดแบบนอกกรอบ) โดยให้เปลี่ยนแนวความคิดว่าจะแก้ปัญหาใหญ่ต้องทำอะไรใหญ่ ๆ แต่ให้รวมการกระทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ อย่างมารวมกันแทน โดยค่อย ๆ แก้ทีละเล็กละน้อยไปเรื่อย ๆ จะดีกว่า
3
อีกอย่างหนึ่งก็คือการทำ “nudging” หรือคล้าย ๆ การสะกิดเตือนให้มนุษย์เรามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีการสนับสนุนที่ดีให้คนค่อย ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมไปเอง
……………..
2
“More Cellphones than Toilets” 📱
1
สำหรับหัวข้อนี้ผู้เขียนตั้งชื่อได้ค่อนข้างตลกดี 😂 ว่าจะมีจำนวนโทรศัพท์มือถือมากกว่าจำนวนห้องน้ำเสียอีกในอนาคต ซึ่งความหมายของผู้เขียนก็คือการจะที่เทคโนโลยีและ AI จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากกับสังคมมนุษย์ในอนาคตนั่นเองครับ (รายละเอียดลึก ๆ เกี่ยวกับเรื่องของ AI สามารถอ่านได้จากหนังสือ AI 2041 ที่ให้ข้อมูลของ AI ที่จะเข้ามาในอนาคตได้ละเอียดมาก ๆ เลยครับ)
1
แน่นอนครับว่าในปี 2030 คอมพิวเตอร์และ AI จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากทั้งในบ้านเรือน อุตสาหกรรม ที่ทำงาน โรงเรียน พาหนะที่ใช้เดินทางแล้วก็ระบบสาธารณูปโภคทั้งหลาย และแน่นอนว่าการเข้ามาของ AI ก็จะทดแทนงานหลาย ๆ อย่างที่ AI ทำได้ดีกว่ามนุษย์แต่ก็จะช่วยสร้างงานในอีกหลายประเภทที่จะเกิดขึ้นใหม่จากการมีหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น
1
เค้าบอกว่าในปี 2030 ในภาคการผลิตนั้นจะจ้างพวกโปรแกรมเมอร์หรืองานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากกว่าการจ้างแรงงานที่อยู่ในส่วนผลิต เพราะส่วนนั้นจะถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์และ AI ไปเกือบทั้งหมด 🤖
ในท้ายบทนี้ผู้เขียนยังได้พูดถึงว่าเทคโนโลยีใดที่น่าจะสำคัญและต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร็วด่วนภายในปี 2030?
2
👉🏻 ซึ่งผู้เขียนมองว่าสำหรับตัวเค้าจะเป็น waterless toilet หรือ ห้องน้ำที่ไม่ต้องใช้น้ำ กับ e-books ครับ ซึ่งเค้ามองว่ามันจะช่วยให้คนที่ไม่สามารถเข้าถึงสิ่งพื้นฐานเหล่านี้ได้มีชีวิตที่ดีขึ้น (ห้องน้ำที่ไม่ต้องใช้น้ำนี่น่าสนใจดีครับ)
2
……………..
“Imagine No Possessions” 🚕
ในปี 2030 นั้นเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน หรือ “sharing economy” หรือบางคนอาจเคยได้ยินคำว่า “gig economy” จะเป็นเทรนด์ที่ผู้คนในสังคมนิยมเพิ่มมากขึ้นครับ
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือพวกแพลตฟอร์มให้บริการต่าง ๆ ที่ทำการเชื่อมผู้ให้บริการกับผู้รับบริการเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริการเรียกรถแท็กซี่แบบ Grab หรือ Uber หรือจะเป็นบริการให้เช่าบ้านส่วนตัวแบบธุรกิจของ Airbnb
ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ก็ได้รับผลพวงมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในเรื่องของโทรศัพท์มือถือที่ทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็สามารถเรียกใช้งานได้จากแอปพลิเคชันในมือถือได้อย่างง่ายดาย ซึ่งผู้เขียนมองว่าในปี 2030 นั้น ค่าใช้จ่ายของเราครึ่งหนึ่งจะถูกใช้ไปกับธุรกิจที่เป็น sharing economy หรือพวกแพลตฟอร์มเหล่านี้ (หันมาย้อนดูตัวเอง ณ ปัจจุบัน บิลบัตรเครดิตก็มีแต่ Grab กับ Robinhood จริง ๆ ครับ 🤣)
ถามว่าทำไมธุรกิจเหล่านี้จึงประสบความสำเร็จ? 🤔
💡 หากเราลองยกตัวอย่างเรื่องของการใช้รถที่ทุกวันนี้เราใช้รถยนต์ส่วนตัวกันจริงแค่ 5% ของเวลาทั้งหมดเท่านั้นเอง ซึ่งจริง ๆ มันไม่สมเหตุสมผลเลยอยู่แล้วที่เราซื้อรถมาจอดมากกว่าใช้ ธุรกิจเรียกรถแท็กซี่จึงตอบโจทย์ที่คนไม่จำเป็นต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อซื้อมารถมาแล้วไม่ใด้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันรถที่ให้บริการก็ได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และคุ้มค่า ซึ่งสิ่งนี้เป็นอีกประโยชน์หนึ่งที่ sharing economy มีคือมันทำให้เราใช้ทรัพยากรคุ้มค่ามากขึ้น ลดการทำให้โลกร้อนหรือมลภาวะซึ่งก็เป็นการช่วยปกป้องโลกของเราทางอ้อมอีกด้วย
💡 ไม่ใช่เพียงเฉพาะบริการต่าง ๆ ที่เราจะใช้ในรูปแบบของ sharing economy นะครับ แต่ในเรื่องของการหางานที่รูปแบบการทำงานที่คล้าย ๆ กับฟรีแลนซ์ที่รับงานเป็นงาน ๆ แล้วจบไป ไม่ใช่พนักงานประจำก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกด้วย เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการอิสระมากขึ้น และได้ทำงานที่ตนเองชอบอีกด้วยครับ
3
……………..
“More Currencies than Country” 💵
และแน่นอนครับสำหรับเทรนด์ข้อสุดท้ายคือ เค้าบอกว่าเราจะเห็นสกุลเงินใหม่เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งสกุลเงินเหล่านั้นก็คือพวกสกุลเงินดิจิทัลหรือ Cryptocurrency นั่นเองครับ
💡 ใจความหลักคือต่อไปใคร ๆ ก็สามารถสร้างสกุลเงินขึ้นมาเองได้ และก็สามารถเอามาใช้จ่ายได้จริงตราบใดที่คนอื่น ๆ บนโลกให้ความเชื่อถือและมันสามารถใช้ได้ง่าย
ภายในปี 2030 สกุลเงินของประเทศต่าง ๆ จะเริ่มโดนลดความสำคัญลง แน่นอนว่าคนจะยังใช้สกุลเงินแบบดั้งเดิมอยู่เป็นหลัก แต่สุกลเงินดิจิทัลจะเป็นทางเลือกที่สามารถใช้จ่ายได้เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้นแล้ว การชำระค่าบริการบางอย่างก็สามารถชำระได้โดยเงินดิจิทัลแล้ว
👉🏻 นอกจากนี้เทคโนโลยีอย่าง blockchain จะถูกนำมาใช้มากขึ้นเพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง และจะถูกใช้ในการเก็บข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ หรือการนำมาใช้ร่วมกันกับสกุลเงินดิจิทัลและ smart contracts ที่มีการกำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องอาศัยคนกลางอย่างธนาคารอีกต่อไป นอกจากนี้ยังจะมีการนำมาใช้ในการเลือกตั้ง หรือ e-voting ได้อีก โดยในปัจจุบันในประเทศอย่างเอสโตเนียนั้นก็มีการใช้ในการโหวตต่าง ๆ ภายในบริษัทต่าง ๆ แล้วครับ
1
……………..
“Lateral Tips and Tricks to Survive in 2030” 💡
ในบทส่งท้ายนั้นผู้เขียนได้ให้แนวคิดหรือแนวทางที่จะทำอย่างไรให้เราสามารถอยู่รอดได้ในปี 2030 ครับ
1. ให้เรามองไปข้างหน้า อย่ามองย้อนกลับมาในอดีต อย่าเพิ่งไปกลัวสิ่งที่เรายังไม่รู้ ไม่งั้นเราจะไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง อย่าเพิ่งไปมองโลกในแง่ร้ายว่าโลกเราจะแย่ลงอย่างนั้นอย่างนี้ William Faulkner เคยเขียนไว้ว่า “You cannot swim for new horizons until you have courage to lose sight of the shore”
3
2. ให้เปิดใจและมีทางเลือกไว้หลาย ๆ ทาง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างอาจทำให้แผนหรือสิ่งที่เราวางไว้ไม่เป็นไปตามที่เราคิด หรือการเปลี่ยนแปลงนั้นมากระทบทางของเราทางหนึ่ง เราก็ยังมีอีกทางหนึ่งให้เดิน ดังนั้นการมีทางเลือกหลาย ๆ ทางไว้จะทำให้เรารอดได้ครับ
2
3. จะประสบความสำเร็จจะต้องเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ มีความเชื่อสมัยก่อนว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรใหญ่ ๆ เราต้องเล่นใหญ่ ทำใหญ่ ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบันและอนาคตแล้ว ให้ค่อย ๆ ทำแล้วปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ตามสถานการณ์และ feedback ต่าง ๆ
1
4. ให้คิดเผื่อทางตันไว้เลย ว่าถ้าเราไปเจอทางตันเราจะทำอย่างไรต่อไป เหมือน ๆ กับว่ามีแผนสำรองไว้เสมอ เพราะโลกที่เปลี่ยนแปลงมาก ๆ เราไม่รู้เลยว่าจะไปเจออะไรบ้าง อย่าง 2 ปีที่แล้วคงไม่มีใครคิดว่าเราจะเจอกับวิกฤตการณ์โควิด 19 แบบนี้
5. มองความไม่แน่นอนในแง่ดี ก็คือคล้ายการให้มองวิกฤตเป็นโอกาสเสมอ แทนที่จะไปมองถึงผลร้าย หรือปัญหาของมัน เหมือนที่ Sir Winston Churchill กล่าวไว้ว่า “The pessimist sees difficulty in every opportunity, while the optimist sees opportunity in every difficulty”
6. อย่าไปกลัวการขาดแคลนทรัพยากร เค้าบอกว่ามนุษย์เราจะมีการปรับตัวและมีความคิดใหม่ ๆ เสมอ ๆ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2
7. ให้ทำตัวตามไปกับกระแสความเปลี่ยนแปลง ทำตัวเหมือนนักเล่นเซิร์ฟที่ไปได้กับกระแสน้ำไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหน ทิศทางใด
……………..
📌 สำหรับหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีข้อมูล ข้อเท็จจริง อ้างอิงผลงานวิจัย ผลการสำรวจมากมายเลยทีเดียวครับ ใครที่ชอบอ่านข้อมูลเยอะ ๆ คงจะชอบ แต่คนที่ไม่ค่อยชอบอ่านข้อมูลจำนวนมากอาจจะไม่ชอบเอาเสียเลยครับ
✨ สำหรับเทรนด์หรือแนวโน้มของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2030 นั้นหลาย ๆ สิ่งไม่ใช่เรื่องใหม่เลยครับ เป็นสิ่งที่เราก็พอจะรู้กันอยู่บ้างแล้ว แต่สิ่งที่ผมชอบของหนังสือเล่มนี้คือ เค้าให้วิธีการคิดในการจะต้องปรับตัวให้ตามทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้ชีวิตส่วนตัวของเราเองหรือการทำงาน รวมไปถึงการทำธุรกิจต่าง ๆ ที่แน่นอนว่าต้องมีการปรับไปตามยุคสมัย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นจริง ๆ มันคงไม่ได้มีแค่ 8 เรื่องหลัก ๆ ที่หนังสือเล่มนี้กล่าวไว้ แต่ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนเราและสังคมอีกมากมายที่เราต้องพร้อมจะเผชิญหน้าพร้อมทั้งเดินก้าวต่อไป 🏃🏻‍♂️
1
หนังสือเล่มนี้ได้ quote คำพูดของ Jeff Bezos บุคคลสำคัญคนหนึ่งของโลกผู้ก่อตั้ง Amazon.com ที่ทุกวันนี้เค้าถอยตัวเองลงจากเก้าอี้ CEO ไปแล้ว ไว้อย่างน่าสนใจว่า
3
⭐️ “If you fight external trends, you’re probably fighting the future. Embrace them and you have a tailwind.” ⭐️
ถ้าเราจะต่อสู้กับแนวโน้มหรือสิ่งภายนอกนั่นคือเรากำลังจะสู้กับอนาคต ให้เรายอมรับมันแล้วเราจะไปได้ไกลครับ...
1
#2030 #BookReview #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
ป.ล. ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook : สิงห์นักอ่าน
โฆษณา