11 ก.พ. 2022 เวลา 10:02 • การศึกษา
ความหมายของวันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา
"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
ความสำคัญของวันมาฆบูชา..
คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"
เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อย่างเป็นทางการนั่นเอง
 
ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นครั้งแรก ที่มีการประชุมเพื่อรับฟังทิศทาง การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
โอวาทปาฏิโมก
พระอรหันต์จำนวน 1,250 รูป ที่เข้าร่วมสันนิบาตในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
กลุ่มที่ 1 คณะพระภิกษุอดีตชฏิล 3 พี่น้อง มีท่านอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า และบริวารทั้งหมด 1,000 รูป
กลุ่มที่ 2 คณะที่เป็นบริวารของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มีจำนวน 250 รูป
และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ
จาตุร แปลว่า 4
องค์ แปลว่า ส่วน
สันนิบาต แปลว่า ประชุม
ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4"
 
สาระสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์
โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานในวันมาฆบูชา ประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6
หลักการ คือ หลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องมี 3 ประการ ได้แก่
1. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ทางแห่งความชั่วมี 10 ประการ อันความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ
2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี 10 ประกาศอันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ
3. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบมี 5 ประการ ได้แก่
1. กามฉันทะ คือความพอใจในกาม
2. พยาบาท คือความอาฆาตพยาบาท
3. ถีนะมิทธะ คือความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจ
4. อุทธัจจะ กุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
5. วิจิกิจฉา คือความสงสัย
ขอขอบคุณข้อมูล และภาพจาก Dmc.tv
โฆษณา