12 ก.พ. 2022 เวลา 16:16 • การศึกษา

ระบบการศึกษา กับ ทฤษฎีการคัดสรรตามธรรมชาติ

ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่น่าเเปลกใจ ระบบการศึกษาที่ล้มเหลว เเละความน่าเศร้าของนักเรียนภายในระบบ
ระบบการศึกษาของหลายๆ ประเทศส่วนมากใช้การเเข่งขันศักยภาพความสามารถ เเละความรู้ในการวัดระดับของนักเรียน นักศึกษา ภายในระบบที่ต้องมีการเเข่งขัน การเเย่งชิงผลประโยชน์ที่จะตกเป็นของตัวเองย่อมเกิดขึ้น ผลที่ตามมา คือ ความกดดัน และความเครียดของนักเรียน คล้ายกับทุกอย่างจะมาลงที่เด็กทุกคนในระบบเช่นนี้ก็ว่าได้
นานาประเทศมีคุณภาพการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน ความเท่าเทียม เเละบุคคลากรในการสอนที่มีคุณภาพเป็นอย่างมาก เเต่ในระบบที่มีการเเข่งขัน เด็กๆ มักไม่หยุดในการหาความรู้เพิ่มเติม เพิ่มพูนความรู้ที่ต้องใช้ในการวัดระดับศักยภาพด้านการเรียน สถานที่ที่เพิ่มพูนความรู้ได้เป็นอย่างดีก็ คือ สถาบันกวดวิชา
อ่านมาถึงตรงนี้ ผมอยากให้ผู้อ่านกดติดตามปุ่มฟ้าๆ
เพื่อติดตามบทความเนื้อหาดีๆ เเบบนี้เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ 🎉
สถาบันกวดวิชาไม่ใช่มีเพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้นในหลายๆ ประเทศ เช่น จีน เกาหลี เเละญี่ปุ่น ก็มีเช่นเดียวกัน ยิ่งมีความต้องการคนเก่งๆ ในประเทศมากขึ้น เเต่กลับกัน จำนวนการเปิดรับสมัครงานมักมีจำกัด การศึกษาจึงนับได้ว่าเป็นอนาคตของหลายๆ คน
เห็นได้ว่าเด็กนักเรียนในสมัยนี้ มีอัตราการเเข่งขันมากกว่ารุ่นพ่อเเม่ การเเข่งขันที่สูงขึ้นก็หมายถึงความกดดันที่มากขึ้นเช่นกัน
ในประเทศไทยนั้น ระบบการศึกษาของเราก็เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการสอบเเข่งขัน เเละคัดเลือกเด็ก
เเต่ที่ดูเเย่ไปกว่านานาประเทศ คือ ความไม่เท่าเทียม เเละระบบการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ไม่เพียงเเค่ระบบ บุคคลากร สถานที่ หรืออาจเป็นวิธีการคัดเลือกที่มีอัตราเเข่งขันสูงเกินไป
ความไม่เท่าเทียมของระบบการศึกษาบวกกับสภาพการศึกษาที่มีการเเข่งขันที่สูง นับได้ว่าระบบการศึกษาในปัจจุบันในมุมมองของผม มันนับได้ว่าเป็นระบบที่ล้มเหลว
ในปัจจุบันจะเห็นว่า คุณภาพของเเต่ละโรงเรียนภายในจังหวัดเดียวกันก็มีคุณภาพที่เเตกต่างกัน จึงต้องมีการรับสมัครจากการเเข่งขันสอบวัดระดับ อาจจะมองได้ว่าทุกอย่างของนักเรียนถูกตัดสินจากศักยภาพด้านการศึกษาตั้งเเต่ต้นเเล้ว
ความเเตกต่างของคุณภาพของสถาบันการศึกษาทำให้เกิดความไม่เสมอภาคของคุณภาพการศึกษาในระบบ เเละเพิ่มพูนอัตราการเเข่งขันซึ่งเป็นภาระที่หนักมากให้กันเด็ก "เมื่อสถาบันกวดวิชาเติบโต คุณภาพการสอนในโรงเรียนตกต่ำ ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาย่อมเกิด"
เมื่อทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษา เเละการเรียนเพิ่มเติมในสถาบันกวดวิชาต่างๆ สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เลย นั้นก็คือ เงิน ฐานะของครอบครัวเด็กนักเรียนต้องมีความเเตกต่างกันเป็นธรรมดา การเข้าศึกษาในสถาบันดีๆ ย่อมใช้ทุนทรัพย์ในระดับนึง
ดังนั้นด้วยเหตุนี้ เด็กจำนวนมากจึงไม่ได้รับโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เเละสิ่งที่เห็นเป็นประจำนั่นก็คือ การบริจาคเงินทุนการศึกษา มันอาจดูดีทางสังคม เป็นการทำบุญเเละดูเหมือนว่าเด็กจะเอาเงินไปเป็นทุนทรัพท์ในการใช้เรียนจริงๆ เเต่ในความเป็นจริงเเล้ว มันเป็นการเเก้ปัญหาที่ไร้หลักการคิด เป็นการเเก้ปัญหาจากปลายเหตุ เเละดูเหมือนว่าสาเหตุจริงๆ ของปัญหานี้มันฝังรากลึกลงในสังคมไทยไปเเล้ว
ในเเง่ ทฤษฎีกฎการคัดสรรทางธรรมชาติ ของ
ชาร์ลดาร์วิน นั้น "ผู้ที่เเข็งเเกร่งย่อมอยู่รอด" เราสามารถนำเอามาประยุกต์มุมมองใช้ได้กับทุกเรื่อง เเละเป็นคำพูดที่น่าสนใจ เเละน่าทึ่งเป็นอย่างมาก
ฐานะของครอบครัวก็คล้ายลักษณะของสิ่งมีชีวิต ผู้ที่มีฐานะดีย่อมได้เปรียบ เเละทำให้ลูกหลานในครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน เเต่ในทางกลับกัน ครอบครัวที่มีฐานะไม่ดีมากนัก ย่อมเสียเปรียบ เเละมักโดนธรรมชาติคัดออก เป็นเรื่องยากที่จะฝืนกฎเเละหลุดพ้นเพื่อเปลี่ยนฐานะของตัวเองให้ดีขึ้น การศึกษาก็เช่นกัน การศึกษาย่อมต้องใช้ทุนทรัพย์ เด็กที่มีพ่อเเม่ฐานะไม่ดีไม่ควรได้รับการศึกษาที่ดี?
ผมเชื่อว่าทุกอย่างไม่สามารถตัดสินคนๆ นึงให้หมดโอกาสได้ สิ่งที่ใช้วัดจริงๆ คือ ความพยายาม เเละเป้าหมายของเรา
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เห็นได้ว่าระบบการศึกษาในไทยไม่ตอบรับ เเละสนับสนุน หรือช่วยเหลืออะไรเด็กได้เลย ทุกอย่างผนวกรวมเข้าด้วยกันทำให้ระบบการศึกษาของไทย เป็นการศึกษาที่มีการเเข่งขันสุดโต่ง ไม่เห็นถึงความเท่าเทียม เเละไม่เห็นถึงคุณภาพของการศึกษาในประเทศที่ควรมีความเท่าเทียม เเละเสมอภาคเลย
ระบบการศึกษาที่ดีอย่างนานาประเทศที่พัฒนาเเล้วเป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้เเละหาความชอบ เเละความสามารถในตัวเอง
"ไม่มีคุณครูที่ดูถูก ดุด่า ตำหนิด่าทอ ทำให้เด็กรู้สึกไร้ค่า" คุณครู เป็นอาชีพที่มีเกียรติ เเละเป็นผู้ที่มีความรู้จริงๆ ไม่มีคำว่าเป็นที่ไว้วางใจ หรือ สามารถตรวจสอบคุณภาพการสอนในประเทศที่พัฒนาเเล้ว ทุกอย่างจะเเทนที่ด้วยคำว่า ความรับผิดชอบ เเละความเป็นมาตรฐาน
เห็นความสำคัญของการคัดคุณครูมาสอนเด็กนักเรียน ไม่ใช่ "คัดนักเรียนเพื่อมาเรียนในโรงเรียนดีๆ" ทุกอย่างที่ดูเป็นมาตรฐานก็เพื่อผู้เรียนทั้งสิ้น เเละกฎหลักที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ สุขภาพ ไม่ว่าจะร่างกาย หรือจิตใจ ไม่มีการบ้านที่ทำให้นักเรียนเพลียอดหลับอดนอน หรือสอบย่อย สอบกลาง-ปลายภาค นักเรียนสามารถสอบได้ตามความสมัครใจ ให้ความเท่าเทียมเเละลดการเเข่งขันให้ได้มากที่สุด
ระบบการศึกษาที่ดีที่สุด ไม่ใช่ระบบการศึกษาที่ให้ความรู้มากมายมหาศาลเเต่กลับใช้เเค่ภายในห้องสอบ จากนั้นข้อมูลที่ท่องจำก็หายไป การศึกษาที่ดีไม่ได้ต้องการคนฉลาดที่รู้ข้อมูลทุกเรื่องบนโลก เเต่การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความสามารถเฉพาะด้าน เเละสร้างสรรค์ความเเปลกใหม่ให้กับโลก การเรียนรู้ที่นักเรียนไทยต้องการคือการเรียนรู้ตัวเองว่าต้องการอะไร ถนัด สนใจ ชอบ อะไร ?
เมื่อทุกคนมีความสามารถที่เเตกต่าง คุณไม่สามารถตีค่าของเด็กจากมุมมองเเคบๆ นั้น "ปลาไม่สามารถบินบนฟ้าฉันใด คุณก็ไม่สามารถตีค่าจากความไม่รู้ของคุณได้ ฉันนั้น" ทุกคนย่อมเเตกต่าง เเละมีคุณค่าเป็นของตัวเอง
ทุกอย่างจะพัฒนาก้าวไปได้ก็ขึ้นอยู่กับทุกคน เมื่อทุกคนเห็นปัญหาตรงนี้ เเละเห็นความสำคัญตรงจุดๆ นี้มากขึ้น ทุกอย่างย่อมขยับไปทีละน้อยจนกระทั่ง มันเคลื่อนที่ เเละโบยบินไปข้างหน้า สู่เส้นขอบฟ้าที่เราต้องการไปถึง
Rachel Claire (💕)
การศึกษาไม่ใช่เรื่องที่มองข้ามไปได้เลย การศึกษาเป็นรากฐานของบุคคลากรภายในประเทศ คุณภาพของประเทศก็ขึ้นอยู่กับคนในประเทศด้วยเช่นกัน...
บทส่งท้ายจากผมเองง.. 🌻✨
.
ผมก็เป็นเด็กคนนึงครับที่อยู่ภายใต้ระบบการศึกษานี้ ผมเลยอยากจะสะท้อนภาพของผมไปให้ทุกคน ผมได้มีโอกาสฟังพอดแคสต์ชีวะประวัติของ ชาร์ล ดาร์วิน เเละรู้สึกทึ่งกับทฤษฎีกฎการคัดสรรตามธรรมชาติ (natural selection) มันสามารถใช้อธิบายอะไรได้หลายๆ อย่าง เเละทำให้เห็นภาพมากขึ้น เลยเอามารวมกับการศึกษาในไทยเล่นๆ ประจวบกับผมต้องสอบเข้า ม.4 เลยมีความไม่พอใจกับการเเข่งขันของระบบการศึกษา ไอเดียเลยระเบิดตู้มมม! มาเป็นบล็อกนี้เลยครับ เรากริดน้าาา!
🔸 ฝากกดติดตาม กดไลค์ถ้าเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ เเล้วก็..ช่วยส่งบทความนี้ไปให้คนที่เราอยากจะส่งไปให้นะครับ 🌼
🔸 สามารถแสดงความคิดเห็นในช่อง comment ได้นะครับ ( ผิดพลาดประการใดขออภัยครับ 😊 )
โฆษณา