13 ก.พ. 2022 เวลา 11:46 • สุขภาพ
👹การใช้ยาบางชนิดอาจมีอาการข้างเคียงทำให้ฝันร้าย​ จากการที่สารเคมีในระบบประสาท​มีการเปลี่ยนแปลง​ แต่ยาบางชนิดก็ยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมถึงทำให้ฝันร้าย
ยาที่ทำให้ฝันร้าย​อาทิเช่น
😲ยาลดคอเลสเตอรอลกลุ่มสเตติน​ เช่น​
ซิมวาสตาิน
พราวาสตาติน
อะทอวาสตาติน
😳ยานอนหลับหรือยาช่วยให้หลับบางชนิด​ เช่น
โซลพิเดม
ไดเฟนฮัยดรามีน
😩ยาลดความดันเลือดกลุ่มเบต้าบล็อคเกอร์
เมโทรโพลอล
โพรพราโนลอล
อะทีโนลอล
😁ยาต้านเศร้ากลุ่ม​ SSRIs
พาโรซีไทน์
เซอทราไลน์
ซิต้าโลแพรม
🤯ยารักษาโรคพาร์คินสัน
อะแมนตาดีน
คาร์บิโดปา/เลโวโดปา
🤠ยาสเตียรอยด์​
เพรดนิโซโลน
ถ้าใช้ยาดังกล่าวแล้วฝันร้ายจนนอนหลับได้ไม่เต็มที่​ ไม่สามารถทนต่อการใช้ยาได้​ ควรแจ้งแพทย์ผู้รักษาขอเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น
.
.
💢
ภาพจาก
Medical Causes of Sleep Problems
[General practice] ยาที่มีผลต่อความฝัน
ยาที่มีผลต่อสารสื่อประสาทในสมองที่ควบคุมเกี่ยวกับความทรงจำ การหลับ และการรู้สติจะมีผลต่อความฝัน.....สารสื่อประสาทที่ทำงานช่วงหลับลึก (NREM sleep) ได้แก่ GABA, galanin, adrenosine, melatonin…… สารสื่อประสาทที่ทำงานช่วงหลับฝันกลอกตา (REM) ได้แก่ acetylcholine, glutamate, GABA, glycine…..สารสื่อประสาทที่มีผลควบคุมการตื่นตัว ได้แก่ glutamate, acetylcholine, dopamine, norepinepinephine, serotonin, histamine, orexin/hypocretin ซึ่งต้องทำงานเพื่อปรับสมดุลระหว่างช่วงหลับและตื่น
🎫ยาที่มีผลทำให้ฝันร้ายได้
1. ยากลุ่ม beta blockers เช่น propranolol,metoprolol, atenolol และ labetalol.....ยากลุ่มนี้มีผลรบกวนสารสื่อประสาท ลด norepinephine ลด melatonin ทำให้มีประสบการณ์ฝันร้ายได้
2. ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม SSRI (เพิ่ม serotonin) โดยเฉพาะ paroxetine มี report เกิดฝันร้ายค่อนข้างมาก mirtazapine ก็เป็นยาอีกตัว (เพิ่ม serotonin, norepinephrine, dopamine, acetylcholine ลด histamine) ที่กระตุ้นให้เกิดฝันร้ายได้โดยการเพิ่มระยะ REM sleep…..แม้จริงๆยากลุ่มนี้จะช่วยลดความถี่ในการฝันจากการลด REM sleep แต่ก็มีรายงานว่าทำให้เกิดฝันร้ายได้เช่นกัน
3. ยาแก้แพ้กลุ่ม antihistamine.....ยา antihistamines (ลด histamine) โดยเฉพาะยากลุ่มแรก (first generation) เช่นdiphenhydramine (Benadryl) แม้จะเป็นยาที่ทำให้ง่วงช่วยนอนแต่ก็กระตุ้นให้เกิดฝันร้ายได้เช่นกัน
4. ยากลุ่ม steroid…..ยา prednisone, methylprednisone (Medrol) ยามีผลรบกวน serotonin และ dopamine ทำให้ฝันร้ายได้…..อนึ่ง การใช้ steroid high dose ทำให้เกิด neuropsychotic symptom ได้
5.ยากลุ่ม cholinesterase inhibitors….เช่น Donepezil (Aricept) and rivastigmine (Exelon) มีผลเพิ่ม acetylcholine มีผลเพิ่ม lucid dream (ฝันแบบรู้ตัวว่าฝัน) เพิ่มการฝันจำความฝันได้มากขึ้น (dream recall) โดยเฉพาะถ้าทาน dose ก่อนนอน และสามารถลดได้ถ้าเปลี่ยนไปทานช่วงเช้า
6. ยา levodopa , dopamine agonist เช่น pramipexole…..ยารักษาโรคพาร์กินสัน โดยการเพิ่ม dopamine ทำให้เกิดฝันร้ายได้
🎟️ยาที่มีผลลดความฝัน
1. ยา benzodiazepine เช่น clonazepam , diazepam เพิ่ม GABA ช่วยลดฝันร้าย ลด REM sleep…..รวมถึง กลุ่ม non-benzodiazepine receptor agonists เช่น zolpidem, zaleplon, zopiclone…..zolpidem ต่างจากยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine พบว่า zolpidem สามารถ improve slow wave ได้ (เพิ่ม NREM sleep) แต่มีผลน้อยต่อ REM sleep ทำให้เกิดฝันร้ายได้เหมือนกัน
2. Melatonin ยาที่ออกฤทธิ์ต่อ melatonin receptor (mealatonion recpeot agonist) แม้จะเป็นยาช่วยนำหลับ โดยการปรับ circadian rhythm แต่ไม่ได้มีผลต่อ slow wave sleep และ REM sleep มากนัก แต่ก็มีรายงานว่าช่วยลดฝันร้ายรวมถึงลก REM sleep behavior disorder ได้
3. Tricyclics เช่น amitriptyline, imipramine ยากลุ่มนี้จะปิดกั้นสารสื่อประสาท histamine, acetylcholine และ noradrenaline ยาจะลด slow wave sleep และ REM ทำให้ลดฝันร้ายและเพิ่มอารมณ์รู้สึกดีช่วงหลับได้
4. Prazosin ยามีผลลด norepinephrine ทำให้ลดฝันร้ายจากการเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง แต่ยาจะมีผลเฉพาะระยะฉับพลับ (ระยะสั้นเท่านั้น)
Reference - Dreams and nightmares in healthy adults and in patients with sleep and neurological disorders lancet 2020
Neurologist P and Psychiatrist T
POSTED 2022.02.13
โฆษณา