14 ก.พ. 2022 เวลา 06:45 • คริปโทเคอร์เรนซี
TAX & Crypto ภาษีของนักเทรดคริปโตฯ
TAX & Crypto ภาษีของนักเทรดคริปโตฯ
ในยุคที่เงินทองเริ่มจับต้องไม่ได้ และการทำงานแบบเดิมๆนั้นแสนยากลำบาก ไม่ตอบโจทย์วิวัฒนาการสมัยใหม่ ผู้คนจึงเริ่มหาวิธีการทำเงินในรูปแบบใหม่ โดยเริ่มหันมาลงทุนกับสินทรัพย์ดิจิทัล อย่าง คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) หรือเรียกสั้นๆว่า คริปโตฯ หนึ่งในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนี้
เมื่อสินทรัพย์ดิจิตัลเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น หลายคนสามารถสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นจากการเทรดคริปโต แต่ในอีกหลายๆคนก็สูญเสียรายได้จากการเทรดคริปโตเช่นกัน กรมสรรพากรจึงได้ประกาศว่าจะเรียกเก็บภาษีคริปโตฯ ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2565 เป็นต้นไป
และประเด็นร้อนแรงที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจาร์ณกันมากในหมู่นักเทรดคริปโตฯ ตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องรายได้และการเสียภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล เพราะหากมีการซื้อขายแล้วเกิดกำไร ให้ถือเป็นเงินได้ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร จะถือเป็น เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฌ) เงินได้จากผลประโยชน์/กำไร ที่ได้รับจากการโอนคริปโตฯ หรือโทเคนดิจิทัล ซึ่งนักลงทุนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%
โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ คือ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่ได้แก้ไขข้อกฎหมายเพิ่มเติมในมาตรา 40 และมาตรา 50 ดังนี้
มาตรา 40 (4) (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จาก การถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล
มาตรา 40 (4) (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
มาตรา 50 (ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักใน อัตราร้อยละ 15 ของเงินได้
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ มีเงินได้เพิ่มขึ้นมาอีก 2 ประเภทที่เข้าเกณฑ์เสียภาษี ได้แก่
1. ส่วนแบ่งกำไรจากการถือครองโทเคนดิจิทัล เช่น ส่วนแบ่งที่ได้รับจากโปรแกรม Ziplock ของ Zipmex Token
2. กำไรจากการขายโทเคนดิจิทัลและคริปโตฯ โดยตรง (ซึ่งกรณีนี้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%)
👉👉กรณีใดที่ได้กำไรจากการขายคริปโตฯ แล้วไม่ต้องเสียภาษีบ้าง? มีทั้งหมด 3 กรณี
1. มีรายได้จากการเทรดคริปโตฯ เพียงอย่างเดียวและมีกำไรตลอดปีไม่เกิน 60,000 บาท กรณีนี้ไม่ต้องยื่นหรือเสียภาษี โดยสามารถยื่นขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายได้
2. มีรายได้จากการเทรดคริปโตฯ เพียงอย่างเดียว และมีกำไรตลอดปีไม่เกิน 210,000 บาท กรณีนี้ต้องยื่นแต่ไม่ต้องเสียภาษี โดยสามารถยื่นขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายได้เช่นกัน
3. อายุครบ 65 ปี หรือมีบัตรประจำตัวผู้พิการ และมีกำไรจากการขายคริปโตฯ ตลอดปีไม่เกิน 400,000 บาท กรณีนี้ต้องยื่นแต่ไม่ต้องเสียภาษี โดยสามารถยื่นขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายได้เช่นกัน
👋👋รู้แบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมไปจ่ายภาษีกันด้วยนะทุกคน แต่ถ้ากำไร ยี่สิบ สามสิบบาทแบบแอด ก็อย่าไปสนใจเลย เทรดแก้เครียด เทรดขำ แก้หง่อมแก้เหงากันไปเนาะ ร่ำรวยๆกันถ้วนหน้า
"สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎ส่งดาว🌟 และกดติดตาม ใน Blockdit ของเรา
โฆษณา