15 ก.พ. 2022 เวลา 14:10 • การตลาด
จาก 2 บาท เป็น 6 บาท
ผ่านไป 50 ปี ทำไม มาม่า ถึงคุมราคาขายได้แบบยังมีกำไร
มาม่าเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2515 สินค้าตัวแรกที่ถูกส่งเข้าตลาดคือมาม่าซุปไก่ ราคาขายซองละ 2 บาท ปัจจุบัน มาม่าขายอยู่ที่ซองละ 6 บาท นั่นหมายความว่า ช่วงเวลาผ่านไปถึง 50 ปี แต่มาม่ามีการปรับราคาขึ้นมาแค่ 3 เท่า ซึ่งเทียบกับเงินเฟ้อ หรือค่าครองชีพที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ถือว่า มาม่า สามารถทำในเรื่องของราคาขายได้ค่อนข้างดี
5
พิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตมาม่า บอกกับเราว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่ม “Volume Base” นั่นคือ มีกำไรค่อนข้างต่ำ จึงต้องมีวอลุ่มการขายมากๆ ถึงจะสามารถทำกำไรในระดับที่อยู่ได้ การคอนโทรลในเรื่องของต้นทุนจึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการทำตลาดสินค้าที่เป็น Volume Base แบบนั้น โดยครั้งหลังสุดที่มาม่ามีการปรับราคาขึ้นก็คือปี 2550 ที่ปรับขึ้นจากซองละ 5 บาท เป็น 6 บาท เนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นได้
3
แม้ภาวะปัจจุบัน จะมีหลายปัจจัยที่เข้ามาส่งผลกระทบ แต่มาม่า ก็ยืนยันว่า จะยังคงยืนราคาไว้ที่ 6 บาท หัวใจสำคัญของการทำแบบนั้นได้ เกิดจากการคอนโทรลในเรื่องของต้นทุน โดยเฉพาะกับการทำในเรื่องของ Backward Integration หรือ การขยายธุรกิจเข้าไปในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ “การจัดหาวัตถุดิบ” โดยไทยเพรซิเดนท์ ฟู้ด มีการตั้งบริษัทในเครือเพื่อดูแลเรื่องที่ว่านี้ อาทิ บริษัท President Flour Mills ที่ดูแลในเรื่องแป้งสาลี หรือบริษัท Dai-ichi Packaging ที่ทำในเรื่องแพ้กเกจจิ้ง เป็นต้น โดยต้นทุนของการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 60 – 70% ยังคงมาจากวัตถุดิบอย่างแป้งสาลี และน้ำมันปาล์ม
4
พิพัฒ บอกว่า หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจจะอยู่ที่ Innovation ไล่ตั้งแต่ Product Innovation Marketing Innovation และ Process Innovation ซึ่งในส่วนหลังนี้มีความสำคัญไม่แพ้ 2 ส่วนแรก โดยการผลิตในปัจจุบันนั้น มีการลดการใช้น้ำมันเตาในการสร้างความร้อน และหันมาใช้ความร้อนจากไอน้ำแทน โดยไทยเพรซิเดนท์ ฟู้ด เอง มีการดึงโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า เข้ามาตั้งที่ข้างๆ ของโรงงานผลิตมาม่า เพื่อใช้ความร้อนของไอน้ำจากการผลิตไฟฟ้า เข้ามาเป็นตัวเดินเครื่อง การทำแบบนี้ ทำให้ช่วยลดต้นทุนได้ค่อนข้างดี
13
“มาม่า” กลายเป็นเจนเนอริก เนม ของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของบ้านเรามานาน แม้ในปัจจุบัน ความเป็นเจนเนอริก เนม ของมาม่า จะเจือจางไปบ้าง แต่ก็ยังคงเป็นแบรนด์แรกๆ ที่ผู้บริโภคมี Admired ค่อนข้างสูง นอกจากเรื่องแบรนด์ที่ถือว่าเป็นแต้มต่อของ “มาม่า” แล้ว ช่องทางการจัดจำหน่ายก็น่าจะเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งของ “มาม่า” ภายใต้บริษัทสหพัฒนพิบูล
1
เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่า นอกจากเรื่องแบรนด์แล้ว ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคคงหนีไม่พ้นเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายนั่นเอง และด้วยความที่เราอยู่ภายใต้บริษัทสหพัฒน์ ซึ่งเป็นดิสทริบิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด ช่องทางการจัดจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครือข่ายการกระจายสินค้าหรืออำนาจต่อรองของกลุ่มสหพัฒน์ทั้งหมดเวลาเข้าไปคุยกับกลุ่มค้าปลีก ก็น่าจะมีอำนาจต่อรองได้มากกว่าแบรนด์ที่ไม่ใช่ผู้นำตลาด ซึ่งคุณพิพัฒ ย้ำว่า นอกจากโปรดักท์และแบรนด์จะดีแล้ว พันธมิตรจะต้องดีอีกด้วย การมีพันธมิตรอย่างสหพัฒน์ กลายเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้มาม่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
8
ความเป็นผู้นำตลาดของมาม่านี้ ทำให้กลายมาเป็นตัวกำหนดเกมการแข่งขันในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะกับเรื่องของการกำหนดโครงสร้างด้านราคาที่หลายๆ ครั้ง เรามักจะได้ยินว่า หากมาม่า ไม่มีการขยับราคาขายปลีกขึ้น ก็ไม่มีแบรนด์ไหนที่กล้าจะขยับราคาขึ้นก่อน
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การก้าวข้ามสู่ 50 ปี ข้างหน้านั้น ไทยเพรซิเดนท์ ฟู้ด กำลังก้าวข้ามจากการทำตลาดในรูปแบบของ Volume Base มาสู่ Value Base โดยหัวใจสำคัญที่จะทำให้ก้าวผ่านไปสู่จุดดังกล่าวได้ จะมี Innovation เป็นหัวใจสำคัญ โดยยังคงอยู่บน Core Business ของการเป็นผู้ผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูป
3
ตัวอย่างในเรื่องนี้ก็คือ การให้ความสำคัญกับตลาดต่างประเทศ ที่ปัจจุบันมีรายได้จากการส่งออกประมาณ 4,000 ล้านบาท จากการส่งออกไปยัง 68 ประเทศทั่วโลก โดยไทยเพรซิเดนท์ ฟู้ด ใช้ฐานการส่งออกทั้งจากไทย และโรงงานในต่างประเทศอีก 4 แห่ง คือที่เมียนมา กัมพูชา บังคลาเทศ และฮังการี
1
สัดส่วนการส่งออกในปัจจุบันคิดเป็น 30% ของรายได้รวมเมื่อปีที่แล้วประมาณ 14,000 ล้านบาท ภายในอีก 5 ปีข้างหน้าคาดหวังว่าสัดส่วนจะเพิ่มเป็น 50% โดยมียอดขายจากต่างประเทศประมาณ 15,000 ล้านบาท เนื่องจากมองว่า โอกาสทางการตลาดจากทั่วโลกยังเปิดกว้างรออยู่ เนื่องจากตัวเลขการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยเฉลี่ยของตัวโลกจะมีอยู่แค่ประมาณ 15 ซองต่อคนต่อปี ขณะที่บ้านเรา การบริโภคเฉลี่ย จะอยู่ที่ 53.2 ซองต่อคนต่อปี
9
ขณะที่ การทำกำไรจากตลาดต่างประเทศจะมีมากกว่า เพราะตลาดจะมีเซ็กเม้นต์ที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่ตลาดแมส แต่ยังมีสินค้าพรีเมียม รวมถึงสินค้าที่เป็น High Value อย่างพวกผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์ หรือ Wheat Noodle ซึ่ง การทำในเรื่องของโปรดักท์นั้น จะมีการเข้าไปเล่นกับตลาดท้องถิ่นมากขึ้น อย่างการทำพาสต้า ที่ไม่มีกลูเต็น สำหรับคนยุโรปที่มีคนแพ้กลูเตน อยู่จำนวนมาก
7
การก้าวข้ามจาก Volume Base มาสู่ Value Base นั้น ส่วนหนึ่ง จะเป็นการนำสูตรสำเร็จจากต่างประเทศในแง่ของตัวผลิตภัณฑ์เข้ามาทำตลาดในบ้านเราด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็น High Value โดยจะออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นข้าวมากขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวที่เข้ามาช่วยเพิ่มกำไรให้มีมากกว่าแค่การทำตลาดในกลุ่มแมสเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
สิ่งที่น่าจับตามองก็คือ คนไทย ไม่ได้แค่มองในเรื่องของราคาเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของ Experience นั่นคือเหตุผลที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกาหลีซองละ 40 บาท ถึงยังคงขายได้ ในบ้านเรา
ขณะที่ตลาดบะหมี่พรีเมียมในบ้านเรานั้น ปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 25% ของตลาด ยังมีการเติบโตที่ดี เนื่องจากฐานตลาดยังไม่ใหญ่นัก ซึ่งจะเป็นอีกแรงส่งที่ทำให้ไทยเพรซิเดนท์ ฟู้ด สามารถก้าวไปสู่การทำตลาดแบบ Value Base ได้เป็นอย่างดี.....
3
#BrandAgeOnline #มาม่า
โฆษณา