16 ก.พ. 2022 เวลา 09:32 • ศิลปะ & ออกแบบ
วันมาฆบูชา ประวัติ ความหมายทางพุทธศาสนา ตรงกับวันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565
16 ก.พ. 2565 ประวัติ วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ที่มีเหตุการณ์สำคัญคือวันที่พระภิกษุทั้ง 1,250 รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังถือเป็นวันพระใหญ่ที่มีกิจกรรมอย่าง การเวียนเทียน รักษาศีล และทำบุญตักบาตรเสริมบุญบารมี
วันมาฆบูชา ประวัติ - เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 ปีก่อน ทางพุทธศาสนาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ คือการที่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 1,250 รูปมารวมกันโดยไม่ได้นัดหมาย ซึ่งทุกรูปเป็นผู้ได้อภิญญา 6 และได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าทุกรูป
หรือเรียกอีกอย่างว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คือวันที่มีเหตุการณ์ หรือ องค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1.พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกัน ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยไม่ได้นัดหมาย
2.พระภิกศุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
3. พระภิกศุสงฆ์ทุกรูปที่มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6
4. ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
กิจกรรมวันมาฆบูชา 2565 ช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัด ช่วงบ่ายให้รักษาศีล ฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา และการเวียนเทียนช่วงค่ำคืน ชาวพุทธถือดอกไม้ ธูปเทียน กว่าวคำถวาย พร้อมระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เดินเวียนขวารอบอุโบสถจนครบ 3 รอบ ถือเป็นอันเสร็จพิธี
หลักการนับเวลาของไทย
การนับเวลาที่นิยมใช้ในประเทศไทยดังกล่าวมาแล้ว ในปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่ทั้ง 2 แบบ คือ
1. การนับเวลาแบบจันทรคติ
การนับเวลาแบบจันทรคติ เป็นการนับเวลาโดยยึดเอาการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์เป็นหลัก ซึ่งวันทางจันทรคติเรียกว่า ข้างขึ้น ข้างแรม
ข้างขึ้น คือ วันที่ดวงจันทร์ค่อย ๆ สว่างขึ้น เริ่มนับตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ วันขึ้น 2 ค่ำ เรื่อยไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง
ข้างแรม คือ วันที่ดวงจันทร์ค่อย ๆ มืดลง เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ วันแรม 2 ค่ำ เรื่อยไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์มืดเต็มดวง
2. การนับเวลาแบบสุริยคติ
การนับเวลาแบบสุริยคติ เป็นการนับเวลาที่ถือเป็นเวลาสากล และนิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน เป็นเวลานับาเวลาโดยยึดการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นหลัก
ระยะเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 1 วัน
ระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 365.25 วัน หรือ 365 วัน 6 ชั่วโมง ทุก 1 ปี จะมีเศษวันเหลืออยู่ 0.25 วัน เมื่อครอบ 4 ปี ก็จะเท่ากับ 1 วันพอดี จึงเพิ่มวันเข้าไปในเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นทุก 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์ จึงมี 29 วัน และในปีนั้น จะมี 365 วัน
โฆษณา