17 ก.พ. 2022 เวลา 01:32
ทำได้ ได้ทำ
ปีการศึกษา 2564 สถานการณ์โควิดยังไม่คลี่คลายตอนแรกคิดว่ากระทรวงศึกษาคงยกเลิกสอบ O -Net. ของนักเรียน ป.6 แต่กระทรวงศึกษาไม่ได้ประกาศยกเลิกเมื่อแจ้งให้ผู้ปกครองและนักเรียนทราบว่าจะเลือกสอบหรือไม่สอบก็ได้เพราะไม่ได้นำคะแนนสอบ O- Net ไปรวมกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการสอบเรียนต่อ ม.1 ก็ไม่ต้องนำผลคะแนน O- Net ไปยื่น
วันสอบจริงนักเรียน ป.6 ที่สมัครสอบ O -Net ประมาณ 40 คนไม่ได้มาสอบเพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง วิชาคณิตศาสตร์ข้อที่ 14 มีปัญหาคือคำตอบเป็นทศนิยมแต่กระดาษคำตอบไม่มีแบบเลือกที่สามารถในจุดทศนิยมได้ ซึ่งต่อมา สทศ. ซึ่งเป็นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการทดสอบนี้ได้ประกาศให้คะแนนแก่นักเรียนทุกคนฟรี ก็ยุติธรรมกับนักเรียนที่สมัครสอบดี ส่วนวิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษนั้นไม่ยากเท่าไรนักเรียนส่วนมากทำได้
แต่สำหรับน้องปัน (นักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออก) ต่อให้ยากแค่ไหนน้องก็สามารถคือได้ทำ ไม่ใช่ทำได้ โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อเราเดินลงลายมือชื่อในกระดาษคำตอบของนักเรียน จนมาถึงโต๊ะน้องปัน
น้องปัน : ไม่อ่านก็ทำได้
เราคิดในใจ เฮ้อ ปันเอ๋ยจะไม่คิดอะไรบ้างเลย หรือไง แต่ก็ไม่ได้พูดออกไปได้แต่ ส่งเสียง "อืม"
น้องปันเงยหน้ามองเราแบบสงสัยแล้วถามว่า : ไม่ห้ามเลยหรอ?
เราบอก : "แล้วแต่เอาตามความสบายใจ เต็มที่"
จากนั้นเราก็เดินไปลงชื่อในกระดาษคำตอบของนักเรียนคนอื่นต่อ เพราะตั้งแต่วิชาแรกเราย้ำน้องปันตลอดว่าให้ตั้งใจค่อยๆอ่าน ค่อยคิดไม่ต้องรีบ แต่น้องก็ทำเสร็จก่อนนักเรียนคนอื่นตลอด จึงได้แต่ทำใจและปลง เพราะถ้าเราย้ำหรือดูน้องปันมากเกินไปมันก็ไม่ยุติธรรมต่อนักเรียนคนอื่นอีกหลังจากนั้น น้องปันก้มหน้าระบายคำตอบเสร็จไวมาก ไวกว่าคนเก่งที่สุดในห้องอีก
ตอนเก็บกระดาษคำตอบ เห็นกระดาษคำตอบของน้องปันเราได้แต่เฮ้อ ..............ยาวๆ เพราะในกระดาษคำตอบข้อ 1-5 คือ ตัวเลือกที่ 1
คำตอบข้อที่ 6-10 คือตัวเลือกที่ 2
คำตอบข้อที่ 11- 15 คือตัวเลือก ที่ 3
แล้วคำตอบข้อที่ 16- 20 ทุกคนคงจะเดาได้ว่าน้องปันเลือกตัวเลือกใด
จบการสอบ O -Net และรอประกาศผลเราจะคงจะได้เห็นคะแนนของน้องปัน ว่าทำได้ กับได้ทำเป็นอย่างไร
โฆษณา